Search Mark
หน้าแรก / บทความวิเคราะห์ตลาด

เฟดขึ้นดอกเบี้ย ปี 2023: นโยบาย Hawkish ยังเดินหน้าต่อไปท่ามกลางความกังวลเงินเฟ้อ


เดือนนี้ เมื่อปีที่แล้ว ธนาคารกลางสหรัฐเริ่มความพยายามในการต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี กับเศรษฐกิจของสหรัฐฯ 

อย่างไรก็ตาม เมื่อมองย้อนกลับไป การเคลื่อนไหวเพียงครั้งเดียวดูเหมือนจะยังไม่เพียงพอรับมือกับภาวะเงินเฟ้อครั้งนี้ เนื่องจากเฟดเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.25% ในการรับมือกับการพุ่งของราคาที่ได้พุ่งสู่จุดสูงสุดของปี นับจากช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 ภายในเวลาไม่กี่เดือน 

เฟดตระหนักได้อย่างรวดเร็วว่าต้องดำเนินการต่อไปเพื่อรับมือกับภาวะเงินเฟ้อ ทำให้เกิดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขึ้นในเดือนถัดๆ ไป โดยรวมแล้ว เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 4.5% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 

แม้ได้ต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อมาหนึ่งปีแล้ว แต่สถานการณ์ปัจจุบันค่อนข้างไม่ค่อยจะดีสักเท่าไร การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยลดอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น แต่ตลาดยังมีความกังวลกับเวลาที่เฟดจะดำเนินการขึ้นดอกเบี้ย และยังไม่มีความแน่นอนว่าจะใช้เวลานานเท่าใดกว่าธนาคารกลางจะกลับสู่เป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% 

หากคุณยังไม่ได้ติดตามความคืบหน้าของอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อในปี ค.ศ. 2022 เราแนะนำให้อ่าน “เงินเฟ้อพุ่งสูงในสหรัฐ – ความหมาย สิ่งที่เกิดขึ้น และอนาคต” และ “เฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงในรอบสิบปี – ความหมาย สิ่งที่เกิดขึ้น และอนาคต”  

บทความเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงภาพรวมของอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่สูงที่สุดในรอบสิบปี ที่ตลาดในปีค.ศ. 2022 ต้องเผชิญ ดังนั้น ในบทความนี้ เราจะเจาะลึกลงไปว่าทำไมเฟดยังคงขึ้นอัตราดอกเบี้ย ตลาดมีรีแอคชันอย่างไรกับการเคลื่อนไหวของเฟด และสิ่งที่นักลงทุนคาดหวัง โดยเฉพาะกับปีต่อไปที่จะถึงนี้ 

ทำไมเฟดยังเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในปี 2023  

ภาวะเงินเฟ้อ 

ข้อกังวลหลักที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของเฟดที่จะเกิดขึ้นคือ เรื่องที่อัตราเงินเฟ้ออาจไม่ลดลงอย่างรวดเร็วเท่าที่คาดการณ์ไว้ ตามที่ผู้ว่าการคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ (Christopher Waller) กล่าวเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2023 ว่า แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงตั้งแต่กลางปี 2021 แต่ข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นว่าแผนการไม่ได้เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ 

ตลาดงานที่แข็งแกร่งผลักดันให้ค่าจ้างและต้นทุนการบริการสูงขึ้น เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลงอย่างช้าๆ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อลดลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2022 ข้อมูลในเดือนมกราคมนี้ชี้ให้เราเห็นว่า เงินเฟ้ออาจจะชะลอการลดลงได้ 

รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ประจำเดือนกุมภาพันธ์มีกำหนดเผยแพร่ในวันที่ 14 มีนาคม 2023 รายงานนี้จะตอบคำถามว่าข่าวเศรษฐกิจในเดือนมกราคมเป็นความผันผวนชั่วคราวหรือเป็นจุดเริ่มต้นของแนวโน้มเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น 

หากอัตราเงินเฟ้อหยุดนิ่ง เฟดจะมีสองทางเลือก ประการแรกคือ รอนานขึ้นเพื่อรอให้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดมีผลใช้ได้ ประการที่สองคือขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปโดยคาดหวังว่าราคาจะลดเร็วขึ้น 

ในปัจจุบัน เฟดกำลังเอนเอียงไปทางตัวเลือกที่สอง โดยคาดว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมีนาคม พฤษภาคม และมิถุนายน อย่างไรก็ตาม การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยดูเหมือนจะมีความแม่นยำมากขึ้น โดยเพิ่มขึ้นทีละ 0.25 % เมื่อเทียบกับการเคลื่อนไหวเชิงรุกที่ 0.75 % ในปี ค.ศ. 2022 

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มของตลาดตราสารหนี้บ่งชี้ว่ามีโอกาสหนึ่งในสามที่เฟดอาจเคลื่อนไหว 0.5 % ในเดือนมีนาคม หากข้อมูลเงินเฟ้อในเดือนกุมภาพันธ์แสดงอัตราที่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ 

ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่อาจเกิดขึ้น 

นอกเหนือจากเรื่องการตัดสินใจด้านนโยบาย ประเด็นสำคัญประเด็นถัดไปสำหรับเฟดและตลาดการเงินคือ สิ่งใดที่จะเอื้อให้การจัดการเงินเฟ้อประสบความสำเร็จ 

ในขั้นต้น มีความเห็นในแง่ดีว่า ปัจจัยอย่างอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ร่วมกับความสมดุลของอุปสงค์และอุปทานที่ดีขึ้น และห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ที่ดีขึ้น จะช่วยบรรเทาเงินเฟ้อได้ในระดับหนึ่ง 

อย่างไรก็ตาม รายงานการประชุมเดือนกุมภาพันธ์เปิดเผยว่า ขณะนี้เฟดตระหนักดีว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจลดลงต่ำกว่าระดับที่เป็นแนวโน้ม (below trend growth) อาจเป็นสิ่งจำเป็นในการควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 2023 

ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังคงเป็นสิ่งที่เฟดให้ความสำคัญสูงสุด หากภาวะเศรษฐกิจถดถอยเกิดขึ้นจริง เฟดอาจจะพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม 

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีสัญญาณหลายอย่างบ่งชี้ว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยอาจเกิดขึ้น แต่ตลาดงานยังคงแข็งแกร่ง ซึ่งบ่งบอกได้ว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยยังคงมาไม่ถึง 

ตลาดตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวของเฟดอย่างไร 

ตลาดสหรัฐฯ 

หุ้นสหรัฐยังคงท้าทายตลาดขาลง และแสดงกำไรที่แข็งแกร่งในสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม 2023 เป็นผลมาจากข่าวความเชื่อมั่นทางธุรกิจ กิจกรรมของผู้บริโภคที่หลากหลาย และผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของสหรัฐที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อหุ้นน้อยกว่าในอดีต 

ซึ่งแตกต่างจากปีที่แล้ว เมื่อนโยบายเป็นตัวเปลี่ยนแปลงตลาด ปีนี้ การเคลื่อนไหวของราคาได้รับอิทธิพลจากการเติบโตทั่วโลกที่ดีขึ้น และนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อผู้ประกอบการในตลาดหุ้นมากกว่า 

แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อยังคงเป็นข้อกังวลหลัก แต่นักลงทุนยังคงกังวลกับการเคลื่อนไหวของเฟดมากกว่าผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง 

ในเดือนตุลาคม ตลาดมีความกังวลว่าการที่เราไม่สามารถคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อได้อาจทำให้การเติบโตหยุดชะงักในระยะยาว ซึ่งคล้ายกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1970 

เมื่อการประชุม FOMC ในเดือนมีนาคมใกล้เข้ามา ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้น 25bp แต่ตลาดออปชั่นอาจมองโลกในแง่ดีเกินไป โดยกำหนดราคาไว้ที่ 27-30bp 

สิ่งนี้ทำให้นักลงทุนมีโอกาสเฮดจ์ต่อความเสี่ยง hawkish ในราคาที่ถูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีตัวกระตุ้นจากรายงาน Payrolls รวมถึงรายงาน CPI และ PCE ควบคู่ไปกับการประชุม Two Sessions ของจีน 

ทอง 

ในทางกลับกัน ทองคำยังคงได้รับอิทธิพลจากดอลลาร์สหรัฐ มากกว่าความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย 

นักลงทุนยังคงซื้อทองคำเมื่อราคาลดลง เพื่อป้องกันตนเองจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงอย่างต่อเนื่องและความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่มากขึ้น 

แม้ว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของสหรัฐฯ จะสูงถึง 4% แต่การผกผันอย่างต่อเนื่องของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปีและ 10 ปี (-0.89%) กำลังป้องกันทองคำไม่ให้ลดลงต่ำกว่าระดับทางเทคนิคที่กำหนด 

สิ่งนี้บ่งชี้ว่าทองคำยังคงเป็นเครื่องมือเฮดจ์ที่สมเหตุสมผล ที่มาจากความกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอยในระยะกลาง 

การคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยของเฟดในปี 2023: เราคาดหวังให้พวกเขาขึ้นสูงแค่ไหน? 

ตามการคาดการณ์ของตลาดในปัจจุบัน อัตราของ Fed Funds มีแนวโน้มที่จะสูงถึง 5.25% – 5.50% ในปี 2023 โดยมีโอกาสแตะ 6% แม้ว่าจะมีความเป็นไปได้น้อยก็ตาม 

เนื่องจาก แม้ว่าอัตราเงินเฟ้ออาจถึงจุดสูงสุด แต่ราคาบางอย่างยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง บ่งชี้ว่าจำเป็นต้องดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% ของเฟด นอกจากนี้ ความกังวลนี้ได้สร้างแรงกดดันต่อตลาดตราสารทุนในช่วงที่ผ่านมา 

Interest Rate Futures บ่งชี้ว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมที่จะมีขึ้นในเดือนมีนาคม พฤษภาคม และมิถุนายน โดยมีความเป็นไปได้ที่จะปรับขึ้นอีกหลังจากเดือนมิถุนายน รวมถึงการปรับขึ้นมากกว่า 0.5% ด้วย 

แม้ว่ายังมีความคาดหวังว่าเฟดกำลังเข้าใกล้จุดสูงสุดของวัฏจักรอัตราดอกเบี้ย แต่อัตราดอกเบี้ยที่จะเกิน 5% ถูกมองว่าเกือบจะเป็นตัวเลขที่แน่นอนในปี 2023 ไปแล้ว โดยคำถามคือ อัตราดอกเบี้ยจะลงเอยที่ใดในช่วง 5-6%  

เหตุผลหนึ่งที่ทำให้การคาดการณ์ของตลาดเปลี่ยนแปลงไปก็คือ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลง แต่ก็ไม่ได้ลดลงอย่างรวดเร็วตามที่เฟดต้องการ  

มีความกังวลว่าตลาดงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งอาจนำไปสู่แรงกดดันด้านราคาที่สูงขึ้นไปอีก 

เฟดตั้งเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ 2% ต่อปี แต่มีความกังวลว่าจะไปไม่ถึงจุดนั้น 

อย่างไรก็ตาม เฟดกำลังเผชิญกับความท้าทาย เนื่องจากผลกระทบจากนโยบายทางการเงิน เชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอาจจะส่งผลกระทบให้เกิดนโยบายแบบเข้มงวดในประมาณอีกหนึ่งปีต่อมา 

สำหรับตอนนี้ เฟดกำลังปรับอัตราดอกเบี้ยตามข้อมูลเศรษฐกิจที่เข้ามา รวมถึงขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเล็กน้อยด้วย 

ในท้ายที่สุด การปรับขึ้นดอกเบี้ยเมื่อเร็วๆ นี้น้อยกว่าที่เห็นในช่วงครึ่งหลังของปี 2022 และตลาดคาดการณ์ว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่น้อยลงจะยังคงดำเนินต่อไปในช่วงครึ่งแรกของปี 2023 

กำหนดการประชุมเฟดและประเด็นสำคัญที่ควรระวัง 

เฟดจะมีการประชุม 3 ครั้งในช่วงครึ่งแรกของปี 2023 ในวันที่ 22 มีนาคม 3 พฤษภาคม และ 14 มิถุนายน และจะมีการประกาศอัตราดอกเบี้ยในเวลา 14.00 น. เขตเวลา ET ตามด้วยการแถลงข่าวเวลา 14.30 น. เขตเวลา ET 

คาดการณ์ว่าการประชุมในเดือนมีนาคมและมิถุนายนจะให้ข้อมูลเพิ่มเติม เพราะเฟดจะต้องอัปเดต Economic Projection และเนื่องจากเฟดสามารถจัดการประชุมได้ 8 ครั้งต่อปีจึงไม่มีกำหนดการประชุมในเดือนเมษายน 

ปัจจุบัน ตลาดคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้น 0.25% ในการประชุมแต่ละครั้งที่จะมีขึ้น โดยอัตราดังกล่าวมีแนวโน้มว่าจะคงที่ในช่วงครึ่งหลังของปี 

การคาดการณ์ทางเศรษฐกิจของเฟดในเดือนมีนาคมจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับทิศทางของอัตราดอกเบี้ยในปี 2023 

แม้มีการคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยจะสูงสุดที่ 5-6% แต่การคาดการณ์อาจให้ข้อมูลช่วงเปอร์เซ็นต์ของดอกเบี้ยที่แน่นอนยิ่งขึ้น 

สถานการณ์ของหลายเดือนที่ผ่านมาผิดกับการคาดการณ์ของเฟดที่จะยุติการขึ้นดอกเบี้ยในเดือนกรกฎาคม เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และหากข้อมูลเศรษฐกิจยังแสดงอัตราเงินเฟ้อที่ยังสูงอยู่ เฟดอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปตลอดช่วงซัมเมอร์ 

อย่างไรก็ตาม หากผลดำเนินการทางเศรษฐกิจเปลี่ยนไป เฟดอาจจะระมัดระวังมากขึ้นในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงขาลง  

หากอัตราเงินเฟ้อยังคงสูงอยู่ คาดว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมในการประชุมที่กำลังจะเกิดขึ้น แต่คำถามจริงๆ คือ แผนการที่เฟดวางไว้สำหรับซัมเมอร์นี้คืออะไร และสหรัฐฯ สามารถหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยแม้อัตราดอกเบี้ยจะสูงได้หรือไม่ 

การประชุมที่จะเกิดขึ้นของเฟดในวันที่ 22 มีนาคม 2023 จะเป็นข้อมูลให้นักลงทุนได้ปรับการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยในปี 2023 โดยมีบทสรุปของ Economic Projections ที่จะให้ข้อมูลเชิงลึกเพื่อคาดการณ์แผนการของเฟดในการขึ้นดอกเบี้ยในอนาคต 

แม้ว่าผู้กำหนดนโยบายของเฟดจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน แต่ความเห็นร่วมกันคือ เฟดจำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป โดยมีแนวโน้มว่าการปรับขึ้นจะเกิดขึ้นจนถึงการประชุมเดือนมิถุนายนหรืออาจนานกว่านั้น 

| เกี่ยวกับ Doo Prime       

เครื่องมือการซื้อขายของเรา     

หลักทรัพย์ ฟิวเจอร์ส ฟอเร็กซ์ โลหะมีค่า สินค้าโภคภัณฑ์ ดัชนีหุ้น    

Doo Prime เป็นโบรกเกอร์ออนไลน์ระดับนานาชาติภายใต้บริษัท Doo Group ที่ให้นักลงทุนมืออาชีพได้ซื้อขายหลักทรัพย์ ฟิวเจอร์ส ฟอเร็กซ์ โลหะมีค่า สินค้าโภคภัณฑ์ และดัชนีหุ้น ปัจจุบัน Doo Prime มอบประสบการณ์การซื้อขายที่ดีที่สุดให้ลูกค้ามากกว่า 90,000 คน โดยมีอัตราการซื้อขายเฉลี่ย 51,223 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน    

Doo Prime มีใบอนุญาตจากเซเชลส์ เมอริเชียส วานูอาตู โดยมีสำนักงานในดัลลัส ซิดนีย์ สิงคโปร์ ฮ่องกง กัวลาลัมเปอร์ และอีกหลายสำนักงานทั่วโลก     

ด้วยเทคโนโลยีการเงินที่สมบูรณ์แบบ พันธมิตรที่แข็งแกร่ง และทีมที่มีประสบการณ์ Doo Prime ให้ประสบการณ์การซื้อขายที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ ให้ราคาการซื้อขายที่ดี รวมไปถึงวิธีการฝาก-ถอนที่รับรอง 10 สกุลเงิน อีกทั้ง Doo Prime ยังให้การบริการลูกค้าในหลากหลายภาษาตลอด 24 ชั่วโมง และยังสามารถทำการซื้อขายได้อย่างรวดเร็วผ่านแพลตฟอร์ม MT4, MT5, TradingView, และ InTrade ที่มีผลิตภัณฑ์มากกว่า 10,000 รายการ     

วิสัยทัศน์และภารกิจของ Doo Prime คือการเป็นองค์กรเทคโนโลยีการเงินในฐานะโบรกเกอร์ด้านการลงทุนผลิตภัณฑ์ทางการเงินระดับโลก     

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Doo Prime โปรดติดต่อ     

โทรศัพท์     
ยุโรป : +44 11 3733 5199       
เอเชีย : +852 3704 4241        
เอเชีย – สิงคโปร์: +65 6011 1415       
เอเชีย – จีน : +86 400 8427 539         

อีเมล   
ฝ่ายบริการด้านเทคนิค [email protected]       
ฝ่ายขาย [email protected]      

ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต (Forward-looking Statement)        

ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต (Forward-looking Statement)      

บทความนี้มีข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต (Forward-looking Statement) ปรากฏอยู่ เช่นคำว่า “คาดการณ์ว่า” “เชื่อว่า” “ต่อไป” “สามารถ” “ประมาณ” “คาดว่า” “หวังว่า” “ตั้งใจว่า” “อาจจะ” “วางแผนว่า” “มีแนวโน้มว่า” “คาดเดาว่า” “ควรจะ” หรือ “จะ” หรือข้อความอื่น ๆ ซึ่งเป็นการคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ในอนาคต อย่างไรก็ตาม ในข้อความที่ไม่มีคำลักษณะนี้ปรากฏอยู่มิได้แสดงว่าข้อความเหล่านี้ไม่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต ข้อความเกี่ยวกับความคาดหวัง ความเชื่อ แผนการ จุดประสงค์ ข้อสันนิษฐาน เหตุการณ์ในอนาคต และการกระทำในอนาคตของ Doo Prime จะเป็นข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต       

Doo Prime ใช้ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตอ้างอิงมาจากข้อมูลปัจจุบันที่มีอยู่ ความคาดหวังในปัจจุบัน ข้อสันนิษฐาน การคาดคะเน และการวางแผน Doo Prime เชื่อว่าความคาดหวังในปัจจุบัน ข้อสันนิษฐาน การคาดคะเน และการวางแผนเหล่านั้นสมเหตุสมผล อย่างไรก็ตาม ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตนี้ไม่ใช่เป็นเพียงการคาดหมายและเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่สามารถรับรู้และไม่สามารถรับรู้ได้ แต่หลายเหตุการณ์เป็นเหตุการณ์ที่อยู่เหนือการควบคุมของ Doo Prime ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ และการกระทำที่แตกต่างจากที่ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตได้แสดงออกหรือแสดงนัยไว้      

Doo Prime ไม่รับรองหรือรับประกันความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง หรือความสมบูรณ์ของข้อความเหล่านั้น Doo Prime ไม่มีหน้าที่ส่งข้อมูลหรือแก้ไขข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตเหล่านี้  

การเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง     

การซื้อขายเครื่องมือทางการเงินมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากความผันผวนของมูลค่าและราคาของเครื่องมือทางการเงิน เนื่องจากความเคลื่อนไหวทางการตลาดที่ไม่พึงประสงค์และคาดการณ์ไม่ได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่นักลงทุนในระยะเวลาที่รวดเร็วได้ ผลการลงทุนในอดีตไม่สามารถชี้วัดความสำเร็จหรือผลกำไรในการลงทุนได้ การลงทุนด้านนี้เกี่ยวข้องกับมาร์จินและเลเวอเรจ ซึ่งการลงทุนจำนวนเล็กน้อยอาจส่งผลประทบมากได้ ดังนั้น นักลงทุนควรเตรียมรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการซื้อขาย     

โปรดอ่านและทำความเข้าใจความเสี่ยงของการซื้อขายเครื่องมือทางการเงินอย่างถี่ถ้วนก่อนที่จะทำธุรกรรมกับ Doo Prime หากมีข้อสงสัยในการลงทุน ควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ข้อมูลข้อตกลงการทำธุรกรรมและการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง 

ข้อความปฏิเสธการรับผิดชอบตามกฎหมาย     

ข้อมูลนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปแก่สาธารณะเท่านั้น ข้อมูลไม่ควรถูกตีความเป็นคำปรึกษาทางด้านการลงทุน คำแนะนำ ข้อเสนอ หรือคำเชิญชวนเพื่อซื้อหรือขายเครื่องมือทางการเงินใด ๆ ข้อมูลที่นำเสนอในบทความนี้จัดทำขึ้นโดยโดยไม่มีการอ้างอิงหรือพิจารณาถึงจุดประสงค์การลงทุนหรือสถานะทางการเงินของผู้ใดผู้หนึ่งแต่อย่างใด การอ้างอิงถึงประสิทธิภาพของเครื่องมือทางการเงินในอดีต เครื่องมือทางการดัชนี หรือผลิตภัณฑ์การลงทุนไม่ใช่ตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้สำหรับผลลัพธ์ในอนาคต Doo Prime ไม่รับรองและรับประกันข้อมูล และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียหรือความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อมอันเป็นผลมาจากความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ของข้อมูล Doo Prime ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายที่เป็นผลมาจากความเสี่ยงการซื้อขาย กำไร หรือขาดทุนทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนส่วนบุคคล 

แชร์ไปที่

บทความวิเคราะห์ตลาด

S&P 500 ร่วง ท่ามกลางการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และภาคเทคอยู่ในสถานการณ์ลำบาก

ตลาดหุ้นต้องเผชิญกับสัปดาห์ที่โหดร้าย โดย S&P 500 ประสบพบกับผลการดำเนินงานที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2023 การลงครั้งนี้ได้รับแรงหนุนมาจากความวิตกกังวลในตลาด  ผลกระทบทางเศรษฐกิจและธนาคารกลางสหรัฐ  ประการแรก ข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีเกินความคาดหมาย บวกกับแถลงการณ์ที่ไม่ค่อยดีนักจากธนาคารกลางสหรัฐ ทำให้เกิดความกังวลว่าอัตราดอกเบี้ยอาจยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปเป็นระยะเวลานานขึ้น  สิ่งนี้ได้บั่นทอนแรงซื้อของนักลงทุนในตลาดหุ้น โดยเฉพาะหุ้นที่มีการเติบโต ซึ่งมีความอ่อนไหวต่อความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย  ประการที่สอง ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและอิหร่านได้เพิ่มความไม่แน่นอนอีกชั้นหนึ่งให้กับตลาด  ปัจจัยลบในภาคเทคโนโลยี  การขายออกที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะภาคเทคโนโลยี ที่ได้รับแรงกดดันมาจากรายงานผลประกอบการที่น่าผิดหวังจากผู้ผลิตชิปรายใหญ่ เช่น ASML และ TSM  รายงานเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงฤดูกาลประกาศรายได้ที่กำลังจะมาถึงสำหรับบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง Apple และ Amazon นักลงทุนต่างคาดหวังถึงผลลัพธ์ที่แข็งแกร่งแต่ยังคงกังวลเกี่ยวกับความสามารถของบริษัทเหล่านี้ในการตอบสนองความคาดหวังสำหรับโครงการด้านปัญญาประดิษฐ์ของพวกเขา  ภาพรวมผลประกอบการรายสัปดาห์  ตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนี S&P 500 ลดลง -3.1% ดัชนี Nasdaq Composite ที่เน้นด้านเทคโนโลยีลดลง -5.5% และดัชนีบลูชิป Dow ปรับตัวขึ้นเล็กน้อยที่ +0.01%  และนี่คือราคาปิดตลาดของแต่ละดัชนีในวันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2567 Index  Last  Change  %Change  DOW […]

2024-4-22 | บทความวิเคราะห์ตลาด

ตลาดหุ้นปิดบวกท่ามกลางการมองในแง่ดีด้านเศรษฐกิจ

ตลาดหุ้นได้ปิดทำการในสัปดาห์นี้ด้วยสัญญาณเชิงบวกหลังจากรายงานการจ้างงานที่แข็งแกร่ง ซึ่งบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งที่ยั่งยืนในเศรษฐกิจสหรัฐฯ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยอาจเพิ่มขึ้นก็ตาม  S&P 500 เติบโตมากกว่า 1% Wall Street ยังคงมองโลกในแง่ดี โดยแนะนำว่า Federal Reserve อาจไม่จำเป็นต้องปรับนโยบายแบบเร่งด่วน สิ่งนี้นำไปสู่การปรับราคาในตลาดตราสารหนี้โดยที่อัตราผลตอบแทนของกระทรวงการคลังเพิ่มขึ้น การคาดการณ์การเติบโตของงานและอัตราดอกเบี้ย  ตัวเลขเงินเดือนสหรัฐเพิ่มขึ้น 303,000 ในเดือนมีนาคม โดยอัตราการว่างงานลดลงเหลือ 3.8% และค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น ในช่วงนี้นักลงทุนยังเห็นอัตราผลตอบแทนของกระทรวงการคลังอายุ 10 ปีเพิ่มขึ้นเป็น 4.40% ในขณะที่ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ทำให้ราคาน้ำมันเบรนท์อยู่เหนือระดับ 90 ดอลลาร์   แม้ว่าผลการดำเนินงานของตลาดงานจะแข็งแกร่ง แต่ Mohamed El-Erian หัวหน้าที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของ Allianz คาดการณ์ว่า Federal Reserve อาจประกาศลดอัตราดอกเบี้ยสองครั้งในปีนี้  สัญญา Swap ซึ่งเป็นมาตรวัดสำหรับคาดการณ์การเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับความน่าจะเป็นของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนเป็นประมาณ 52% โดยความน่าจะเป็นในเดือนกรกฎาคมจะลดลงต่ำกว่า 100%  ภาพรวมผลการดำเนินงานของตลาด  ตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนี S&P 500 ร่วงลง -1.0% ดัชนี Nasdaq […]

2024-4-9 | บทความวิเคราะห์ตลาด

แนวโน้มวอลล์สตรีทเป็นบวก ท่ามกลางจุดยืนเฟด และข้อมูลเงินเฟ้อ

การเคลื่อนไหวล่าสุดในวอลล์สตรีทได้ส่งสัญญาณเชิงบวกเล็กน้อยให้กับนักลงทุนและนักวิเคราะห์ ท่ามกลางเศรษฐกิจที่มีความผันผวนอยู่อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีแนวโน้มการลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง แต่เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ ภายใต้การนำของประธานเจอโรม พาวเวลล์ ยังคงยืนหยัด ในการเน้นย้ำถึงความสำคัญของการอดทนรอ  จุดยืนของเฟดท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อ  จุดยืนของพาวเวลล์เกิดขึ้นหลังจากที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนกุมภาพันธ์ลดลงอย่างน่าทึ่งที่ 0.3% ซึ่งเป็นมาตรวัดที่ธนาคารกลางได้ตั้งไว้สำหรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อประกอบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ความลังเลของพาวเวลล์ที่จะลดอัตราดอกเบี้ยก่อนเวลาอันควรอาจจะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้  ตัวชี้วัดเหล่านี้ทำให้นักวิเคราะห์ยังอยู่ในโซนแห่งความสบายใจอยู่ พวกเขามองว่านี่เป็นหลักฐานที่แสดงถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเห็นได้จากการใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งเกินความคาดหมาย และการเติบโตของค่าจ้าง  ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นของตลาด  แม้จะเกิดความกังวลเกี่ยวกับฟองสบู่เทคโนโลยีที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นกลุ่มปัญญาประดิษฐ์ แต่นักลงทุนยังดันตลาดหุ้นให้สูงขึ้นไปต่อ  ดัชนี S&P 500 ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์และเพิ่มขึ้นกว่า 10% ในรายไตรมาส แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจและผู้บริโภค  แนวโน้มนี้สะท้อนให้เห็นในผลประกอบการของดัชนีหลักๆ ในช่วงเทศกาลวันหยุด โดยดัชนี S&P 500 ขยับขึ้น 0.4% และดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ไต่ขึ้น 0.8% ขณะเดียวกัน ดัชนี Nasdaq Composite ร่วงลง 0.3%  การเคลื่อนไหวของตลาดและผลการดำเนินงานรายไตรมาส  เมื่อไตรมาสแรกสิ้นสุดลง ตลาดหุ้น Wall Street ได้เฉลิมฉลองผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่ปี 2019 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มเชิงบวกเล็กน้อย […]

2024-4-2 | บทความวิเคราะห์ตลาด