Search Mark
หน้าแรก / บทความวิเคราะห์ตลาด

ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่กำลังปรากฏ


เมื่อวันศุกร์หุ้นสหรัฐฯ ปิดบวกเล็กน้อย แต่ดัชนีหลักๆ ของสหรัฐฯ กลับปิดตลาดด้วยการขาดทุนปลายสัปดาห์ เนื่องจากข้อสงสัยที่มากขึ้นเกี่ยวกับราคาดัชนีที่พุ่งสูงครั้งล่าสุดที่มาจากสัญญาณการชะลออัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ 

ราคาหุ้นลดลงหลังจากที่นาย James Bullard ประธาน FED ประจำสาขาเซนต์หลุยส์กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายเป้าหมายจะต้องอยู่ระหว่าง 5% – 7% ซึ่งสูงกว่าค่า 3.75% -4% ในปัจจุบัน  

ขณะที่เมื่อวันศุกร์ Susan Collins ประธาน FED สาขาบอสตัน กล่าวว่า เธอไม่ได้เป็นผู้เห็นชอบในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75 Basis point ในเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ 

ส่วนปริมาณการซื้อขายนั้นแน่นิ่งตลอดสัปดาห์จนหมดอายุสัญญาของออปชั่นมูลค่า 2.1 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อวันศุกร์ ซึ่งปกติแล้วมักจะเป็นวันที่ผันผวนมาก ทั้งนี้เป็นเพราะเทรดเดอร์และดีลเลอร์ทำการปรับพอร์ตเพื่อลดความเสี่ยงครั้งใหญ่ 

สำหรับสัปดาห์นี้ ดาวโจนส์ยังคงทรงตัว ขณะที่ S&P 500 ลดลง 0.7% และ Nasdaq ลดลง 1.6% 

และนี้เป็นราคาปิดตลาดของแต่ละดัชนีเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา 
                      

 ราคาปิดตลาด การเปลี่ยนแปลง %ที่เปลี่ยนแปลง 
Dow Jones 33,745.69 +199.37 +0.59% 
S&P 500 3,965.34 +18.78 +0.48% 
Nasdaq Comp 11,146.06 +1.10 +0.01% 
US 10Y 3.83%   
VIX 23.12 -0.81 -3.38% 

เมื่อสุดสัปดาห์ Bloomberg รายงานว่า Bostic กำลังชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยให้ช้าลงจนใกล้ 5% 

ถึงแม้ว่าสื่อต่างๆ จะมีความคิดเห็นมากมาย แต่ก็มีแนวโน้มว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยังไม่ยกเลิกการขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแน่ๆ 

 
ราคาที่พุ่งสูงขึ้นที่เราเห็นช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมานั้น เกิดขึ้นจากนักลงทุนคาดหวังไปเองว่าเฟดจะกลับลำนโยบายเร็วๆ นี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อข้อมูลเงินเฟ้อดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ 

 
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่เฟดได้มีความเห็นในทำนองว่า อัตราเงินเฟ้อปัจจุบันยังห่างไกลจากอัตราเงินเฟ้อที่พวกเขาต้องการให้เป็น ซึ่งอนาคตเฟดอาจจะมีนโยบายที่จำเป็นเพื่อลดระดับเงินเฟ้ออีก 

 
แนวโน้มดัชนีที่สวนทางกับราคาที่เคยพุ่งสูงก่อนหน้านี้อาจมาจากหลายปัจจัย เราจะได้ทราบกันในเร็ว ๆ นี้ว่า Fed จะทำตามความต้องการของนักลงทุน หรือจะเพิกเฉยต่อไป 

 
ความต้องการของนักลงทุนที่จะรักษาโมเมนตัมและโพสิชันเพื่อรอราคา Turnaround อย่างสมบูรณ์นั้นมีมากจนยากจะต้านทาน มีกำลังซื้อเกิดขึ้นมากมายจนทำให้ผู้ที่รอขายชอร์ตจำนวนมากกลัว 

 
อย่างไรก็ตาม เราต้องดูที่เส้นราคาที่ผกผัน โดยเฉพาะสเปรดในไทม์เฟรมระยะ 2s และ 10s ซึ่งแสดงให้เห็นแนวโน้มการเกิดภาวะถดถอย ผมไม่แน่ใจว่าเราจะเห็นราคาที่เพิ่มขึ้นอย่างนี้ไปอีกนานเพียงใด หากทุกคนรู้สึกกลัวกับภาวะถดถอยที่กำลังจะเกิดต่อจากนี้ 

บทความนี้เขียนโดย James Gomes  

เจมส์อยู่ในวงการการเงินมากว่า 30 ปี และล่าสุดเขาทำงานให้กับธนาคารขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ มานานกว่า 20 ปีแล้ว       

การเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง   

การซื้อขายเครื่องมือทางการเงินมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากความผันผวนของมูลค่าและราคาของเครื่องมือทางการเงิน เนื่องจากความเคลื่อนไหวทางการตลาดที่ไม่พึงประสงค์และคาดการณ์ไม่ได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่นักลงทุนในระยะเวลาที่รวดเร็วได้ ผลการลงทุนในอดีตไม่สามารถชี้วัดความสำเร็จหรือผลกำไรในการลงทุนได้ การลงทุนด้านนี้เกี่ยวข้องกับมาร์จินและเลเวอเรจ ซึ่งการลงทุนจำนวนเล็กน้อยอาจส่งผลประทบมากได้ ดังนั้น นักลงทุนควรเตรียมรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการซื้อขาย     

โปรดอ่านและทำความเข้าใจความเสี่ยงของการซื้อขายเครื่องมือทางการเงินอย่างถี่ถ้วนก่อนที่จะทำธุรกรรมกับ Doo Prime หากมีข้อสงสัยในการลงทุน ควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ข้อมูลข้อตกลงการทำธุรกรรมและการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง     

ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต (Forward-looking Statement)        

ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต (Forward-looking Statement)      

บทความนี้มีข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต (Forward-looking Statement) ปรากฏอยู่ เช่นคำว่า “คาดการณ์ว่า” “เชื่อว่า” “ต่อไป” “สามารถ” “ประมาณ” “คาดว่า” “หวังว่า” “ตั้งใจว่า” “อาจจะ” “วางแผนว่า” “มีแนวโน้มว่า” “คาดเดาว่า” “ควรจะ” หรือ “จะ” หรือข้อความอื่น ๆ ซึ่งเป็นการคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ในอนาคต อย่างไรก็ตาม ในข้อความที่ไม่มีคำลักษณะนี้ปรากฏอยู่มิได้แสดงว่าข้อความเหล่านี้ไม่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต ข้อความเกี่ยวกับความคาดหวัง ความเชื่อ แผนการ จุดประสงค์ ข้อสันนิษฐาน เหตุการณ์ในอนาคต และการกระทำในอนาคตของ Doo Prime จะเป็นข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต       

Doo Prime ใช้ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตอ้างอิงมาจากข้อมูลปัจจุบันที่มีอยู่ ความคาดหวังในปัจจุบัน ข้อสันนิษฐาน การคาดคะเน และการวางแผน Doo Prime เชื่อว่าความคาดหวังในปัจจุบัน ข้อสันนิษฐาน การคาดคะเน และการวางแผนเหล่านั้นสมเหตุสมผล อย่างไรก็ตาม ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตนี้ไม่ใช่เป็นเพียงการคาดหมายและเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่สามารถรับรู้และไม่สามารถรับรู้ได้ แต่หลายเหตุการณ์เป็นเหตุการณ์ที่อยู่เหนือการควบคุมของ Doo Prime ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ และการกระทำที่แตกต่างจากที่ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตได้แสดงออกหรือแสดงนัยไว้      

Doo Prime ไม่รับรองหรือรับประกันความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง หรือความสมบูรณ์ของข้อความเหล่านั้น Doo Prime ไม่มีหน้าที่ส่งข้อมูลหรือแก้ไขข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตเหล่านี้ 

แชร์ไปที่

บทความวิเคราะห์ตลาด

ตลาดหุ้นปิดบวกท่ามกลางการมองในแง่ดีด้านเศรษฐกิจ

ตลาดหุ้นได้ปิดทำการในสัปดาห์นี้ด้วยสัญญาณเชิงบวกหลังจากรายงานการจ้างงานที่แข็งแกร่ง ซึ่งบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งที่ยั่งยืนในเศรษฐกิจสหรัฐฯ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยอาจเพิ่มขึ้นก็ตาม  S&P 500 เติบโตมากกว่า 1% Wall Street ยังคงมองโลกในแง่ดี โดยแนะนำว่า Federal Reserve อาจไม่จำเป็นต้องปรับนโยบายแบบเร่งด่วน สิ่งนี้นำไปสู่การปรับราคาในตลาดตราสารหนี้โดยที่อัตราผลตอบแทนของกระทรวงการคลังเพิ่มขึ้น การคาดการณ์การเติบโตของงานและอัตราดอกเบี้ย  ตัวเลขเงินเดือนสหรัฐเพิ่มขึ้น 303,000 ในเดือนมีนาคม โดยอัตราการว่างงานลดลงเหลือ 3.8% และค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น ในช่วงนี้นักลงทุนยังเห็นอัตราผลตอบแทนของกระทรวงการคลังอายุ 10 ปีเพิ่มขึ้นเป็น 4.40% ในขณะที่ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ทำให้ราคาน้ำมันเบรนท์อยู่เหนือระดับ 90 ดอลลาร์   แม้ว่าผลการดำเนินงานของตลาดงานจะแข็งแกร่ง แต่ Mohamed El-Erian หัวหน้าที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของ Allianz คาดการณ์ว่า Federal Reserve อาจประกาศลดอัตราดอกเบี้ยสองครั้งในปีนี้  สัญญา Swap ซึ่งเป็นมาตรวัดสำหรับคาดการณ์การเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับความน่าจะเป็นของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนเป็นประมาณ 52% โดยความน่าจะเป็นในเดือนกรกฎาคมจะลดลงต่ำกว่า 100%  ภาพรวมผลการดำเนินงานของตลาด  ตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนี S&P 500 ร่วงลง -1.0% ดัชนี Nasdaq […]

2024-4-9 | บทความวิเคราะห์ตลาด

แนวโน้มวอลล์สตรีทเป็นบวก ท่ามกลางจุดยืนเฟด และข้อมูลเงินเฟ้อ

การเคลื่อนไหวล่าสุดในวอลล์สตรีทได้ส่งสัญญาณเชิงบวกเล็กน้อยให้กับนักลงทุนและนักวิเคราะห์ ท่ามกลางเศรษฐกิจที่มีความผันผวนอยู่อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีแนวโน้มการลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง แต่เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ ภายใต้การนำของประธานเจอโรม พาวเวลล์ ยังคงยืนหยัด ในการเน้นย้ำถึงความสำคัญของการอดทนรอ  จุดยืนของเฟดท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อ  จุดยืนของพาวเวลล์เกิดขึ้นหลังจากที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนกุมภาพันธ์ลดลงอย่างน่าทึ่งที่ 0.3% ซึ่งเป็นมาตรวัดที่ธนาคารกลางได้ตั้งไว้สำหรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อประกอบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ความลังเลของพาวเวลล์ที่จะลดอัตราดอกเบี้ยก่อนเวลาอันควรอาจจะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้  ตัวชี้วัดเหล่านี้ทำให้นักวิเคราะห์ยังอยู่ในโซนแห่งความสบายใจอยู่ พวกเขามองว่านี่เป็นหลักฐานที่แสดงถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเห็นได้จากการใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งเกินความคาดหมาย และการเติบโตของค่าจ้าง  ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นของตลาด  แม้จะเกิดความกังวลเกี่ยวกับฟองสบู่เทคโนโลยีที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นกลุ่มปัญญาประดิษฐ์ แต่นักลงทุนยังดันตลาดหุ้นให้สูงขึ้นไปต่อ  ดัชนี S&P 500 ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์และเพิ่มขึ้นกว่า 10% ในรายไตรมาส แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจและผู้บริโภค  แนวโน้มนี้สะท้อนให้เห็นในผลประกอบการของดัชนีหลักๆ ในช่วงเทศกาลวันหยุด โดยดัชนี S&P 500 ขยับขึ้น 0.4% และดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ไต่ขึ้น 0.8% ขณะเดียวกัน ดัชนี Nasdaq Composite ร่วงลง 0.3%  การเคลื่อนไหวของตลาดและผลการดำเนินงานรายไตรมาส  เมื่อไตรมาสแรกสิ้นสุดลง ตลาดหุ้น Wall Street ได้เฉลิมฉลองผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่ปี 2019 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มเชิงบวกเล็กน้อย […]

2024-4-2 | บทความวิเคราะห์ตลาด

S&P 500 สูงขึ้นจากความเห็นเฟด นักวิเคราะห์เตือนอาจเกิด Pullback

ราคาประจำสัปดาห์ที่ผ่านมาของ S&P 500 ปิดตัวได้อย่างน่าประทับใจที่สุดของปี 2024 โดยทำลายสถิติการลงติดต่อกันสองสัปดาห์ที่ผ่านมาได้อย่างน่าทึ่ง  การฟื้นตัวของวอลล์สตรีทได้รับแรงหนุนมาจากคำมั่นของธนาคารกลางสหรัฐที่ย้ำว่าจะดำเนินการลดอัตราดอกเบี้ยสามครั้งตลอดทั้งปี ซึ่งช่วยลดความกังวลของนักลงทุน  ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่ยืดเยื้อ การตอบสนองอย่างใจเย็นของประธานเฟด เจอโรม พาวเวลล์ ต่อแรงกดดันด้านเงินเฟ้อได้ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นต่อตลาด  แนวโน้มเชิงบวกและการเก็งกำไร  แม้ว่าตลาดหุ้นในวันศุกร์จะชะลอตัวลงเล็กน้อย แต่แนวโน้มโดยรวมของสัปดาห์นี้ยังคงเป็นบวกอย่างปฏิเสธไม่ได้  การเก็งกำไรต่อการลดอัตราดอกเบี้ยที่อาจเกิดขึ้นได้ในต้นเดือนมิถุนายนได้กระตุ้นให้แรงซื้อในตลาด ส่งผลให้เป็นสัปดาห์ที่ S&P 500 พุ่งขึ้นมากกว่า 2%  ภาวะกระทิงที่แข็งแรงนี้กระตุ้นให้นักวิเคราะห์ปรับเปลี่ยนการคาดการณ์ และจุดประกายให้เกิดการพูดคุยเกี่ยวกับโอกาศในการสะสมของราคาหรือการ Pullback ในระยะสั้น  David Lefkowitz จาก UBS Global Wealth Management เน้นว่า เมื่อพิจารณาจากความเชื่อมั่นและตำแหน่งของราคาที่อยู่ในระดับที่สูง การ Pullback เล็กน้อยในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าก็เป็นไปได้ สถานการณ์ดังกล่าวอาจเปิดโอกาสที่น่าสนใจให้กับนักลงทุนในการซื้อหุ้นเพิ่มเติม  อิทธิพลของธนาคารกลางสหรัฐ  เนื่องจากข้อมูลทางเศรษฐกิจยังคงผสมผสาน นักลงทุนควรติดตามแถลงการณ์จากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐอย่างใกล้ชิด  ความคิดเห็นของพาวเวลล์ในงาน “Fed Listens” ไม่ได้พูดถึงนโยบายการเงินอย่างชัดเจน ในขณะเดียวกัน Michael Barr รองประธานฝ่ายกำกับดูแลของ Fed ได้บอกเป็นนัยถึงการปรับเปลี่ยนข้อเสนอซึ่งมุ่งเป้าไปที่การเพิ่มเงินทุนสำหรับผู้ปล่อยกู้  ผลการดำเนินงานของตลาด  S&P 500 ปิดต่ำกว่าราคา […]

2024-3-26 | บทความวิเคราะห์ตลาด