Search Mark
หน้าแรก / ข่าวสารการลงทุน

IMF หั่นคาดการณ์เศรษฐกิจเอเชีย หลังแบงก์ชาติแห่ขึ้นดอกเบี้ย-เงินเฟ้อสูง


กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียในวันนี้ (28 ต.ค.) โดยระบุว่า การที่ธนาคารกลางทั่วโลกใช้นโยบายคุมเข้มด้านการเงิน, อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอันเนื่องมาจากสงครามในยูเครน และเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวลงอย่างรุนแรงนั้น ได้ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเอเชีย

ทั้งนี้ IMF ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจเอเชียในปี 2565 และ 2566 ลงสู่ระดับ 4.0% และ 4.3% ตามลำดับ จากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ 4.9% และ 5.1% ตามลำดับ โดยการปรับลดคาดการณ์ดังกล่าวมีขึ้นหลังจากเศรษฐกิจเอเชียมีการขยายตัว 6.5% ในปี 2564

IMF เปิดเผยในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Regional Economic Outlook Report) ว่า แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อในเอเชียยังคงอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ แต่ธนาคารกลางส่วนใหญ่ยังต้องเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสร้างความมั่นใจว่าตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อจะไม่สูงไปกว่าปัจจุบัน

อ้างอิง อินโฟเควสท์

คลัง หั่นจีดีพีปี 2565 เหลือ 3.4% เหตุลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว

คลังหั่นจีดีพีปี’65 เหลือ 3.4% หลังการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว “บริโภค-ท่องเที่ยว” หนุนเศรษฐกิจ คาดต่างชาติเข้าไทยทะลุ 10.2 ล้านคน ส่วนปี’66 คาดจีดีพีขยายตัว 3.8% นักท่องเที่ยวทะลุ 21.5 ล้านคน

จากการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยว ขณะที่เศรษฐกิจไทยปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 3.8 ต่อปี จากการฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยวและสถานการณ์เงินเฟ้อที่คลี่คลายลง อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจและนโยบายการเงินที่เข้มงวดของประเทศคู่ค้าหลักอย่างใกล้ชิด”

วันที่ 28 ตุลาคม 2565 นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2565 ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวที่ 3.4% ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ 2.9-3.9%) ซึ่งเป็นการปรับประมาณการลดลงจากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ระดับ 3.5% เนื่องจากการลงทุนที่ชะลอตัวลง เพราะราคาวัตถุดิบเพิ่มขึ้น จึงปรับลดประมาณการการลงทุนภาคเอกชนลง เหลือ 5.1% จากเดิมคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 5.7%

อ้างอิง ประชาชาติธุรกิจ

ตลาดหุ้นนิวยอร์กเผยจะระงับซื้อขายหุ้นทวิตเตอร์วันศุกร์นี้

taken April 28, 2022. REUTERS/Dado Ruvic/Illustration/File Photo

เว็บไซต์ของตลาดหุ้นนิวยอร์ก เปิดเผยว่า หุ้นของบริษัททวิตเตอร์ อิงค์ จะถูกระงับการซื้อขายในวันศุกร์ที่ 28 ต.ค. เนื่องจากถึงกำหนดที่ศาลสั่งให้นายอีลอน มัสก์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทเทสลา อิงค์ ต้องเข้าซื้อกิจการทวิตเตอร์ มูลค่า 4.4 หมื่นล้านดอลลาร์ให้เสร็จสิ้น

รายงานระบุว่า นายมัสก์ได้เดินทางเยี่ยมชมสำนักงานของทวิตเตอร์ในซานฟรานซิสโกเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (26 ต.ค.) พร้อมบอกเป็นนัยว่าเขาเป็นหัวหน้าระดับสูงของบริษัท โดยเปลี่ยนคำอธิบายโพรไฟล์ของตนเองบนทวิตเตอร์เป็น “หัวหน้าทวิต” (Chief Twit)

อ้างอิง กรุงเทพธุรกิจ

แบงก์ชาติญี่ปุ่นคงนโยบายการเงิน หั่นคาดการณ์เศรษฐกิจ-เพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อ

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษ (Ultraeasy Monetary Policy) ในการประชุมวันนี้ ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด แต่สวนทางกับธนาคารกลางอื่น ๆ ทั่วโลกที่พากันใช้นโยบายคุมเข้มด้านการเงินเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ

ในการประชุมระยะเวลา 2 วันซึ่งเสร็จสิ้นลงในวันนี้ (28 ต.ค.) คณะกรรมการ BOJ มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ -0.1% และจะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นในจำนวนที่จำเป็นด้วยอัตราดอกเบี้ยคงที่ โดยมีเป้าหมายที่จะตรึงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีไว้ที่ 0%

ทั้งนี้ BOJ ได้ตัดสินใจคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษ โดยมีเป้าหมายที่จะสนับสนุนเศรษฐกิจ ท่ามกลางแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่สูงขึ้น อันเนื่องมาจากต้นทุนพลังงานและวัตถุดิบที่สูงขึ้น และเงินเยนที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง

อ้างอิง อินโฟเควสท์

เงินบาทเปิด 37.80 ทิศทาง sideway คาดกรอบวันนี้ 37.65 – 37.90

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 37.80 บาท/ดอลลาร์ แข็ง ค่าเล็กน้อยจากเย็นวานที่ปิดตลาดที่ระดับ 37.83 บาท/ดอลลาร์

โดยล่าสุดเงินบาทแข็งค่ามาอยู่ที่ 37.73 บาท/ดอลลาร์ คาดว่าทิศทางเงินบาทวันนี้จะแกว่งออกข้าง โดยปัจจัยที่ตลาด รอดูคืนนี้ คือ ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐ รวมทั้งยังติดตามการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ซึ่งตลาดเชื่อว่าคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย ขณะที่ปัจจัยในประเทศวันนี้ ติดตามการประมาณการตัวเลข GDP ของปีนี้ และแนวโน้มปี 66 จากกระทรวงการคลัง

“วันนี้บาทคงแกว่งออกข้าง เพราะผลประชุม ECB ก็ขึ้นดอกเบี้ยตามคาด ตลาดรอดูสหรัฐรายงานดัชนีราคาการใช้จ่าย เพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งถือเป็นตัวเลขสำคัญที่ใช้เป็นตัววัดเงินเฟ้อ ก่อนที่จะมีการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์หน้า ส่วนบ้านเรา รอดู สศค.คาดการณ์ GDP ปีนี้ และปีหน้า ถ้าปรับดีขึ้น ก็อาจช่วยหนุนบาทให้แข็งค่าได้บ้าง”

อ้างอิง อินโฟเควสท์

แชร์ไปที่

ข่าวสารการลงทุน

แบงก์ชาติไต้หวันเล็งพิจารณาเงินเฟ้อ-จีดีพีก่อนปรับดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า

ติดตามสรุปข่าวการเงินและการลงทุนประจำวันพุธที่ 24 พฤษภาคม 2566 ได้ที่นี่

2023-5-24 | ข่าวสารการลงทุน

เงินเฟ้อฮ่องกงพุ่ง 2.1% ในเดือนเม.ย. เหตุราคาสินค้าสูงต่อเนื่อง

ติดตามสรุปข่าวการเงินและการลงทุนประจำวันอังคารที่ 23 พฤษภาคม 2566 ได้ที่นี่

2023-5-23 | ข่าวสารการลงทุน

กำไรในจีนของวาณิชธนกิจทั่วโลกหดตัวปี 2565 เซ่นพิษโควิด-ปัญหาการเมือง

ติดตามสรุปข่าวการเงินและการลงทุนประจำวันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม 2566 ได้ที่นี่

2023-5-22 | ข่าวสารการลงทุน