Search Mark
หน้าแรก / บทความวิเคราะห์ตลาด

นโยบายการเงินแบบ Hawkish ของ Fed & ผลต่อเนื่องจากดอกเบี้ยสูง


เมื่อวันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2022 หุ้นสหรัฐฯ ปิดที่ราคาสูงขึ้นหลังจากผ่านสัปดาห์ที่ผันผวนอีกครั้ง ในช่วงที่เฟดยังคงนโยบายที่เตรียมรับว่าเงินเฟ้ออาจจะเร่งตัวสูงขึ้นในอนาคต (Hawkish) 

โดยในวันพุธที่ผ่านมา Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 75 Basis Point ตามที่ทุกคนคาดการณ์กันไว้ 

ด้านประธานเฟด Jay Powell ยังคงท่าทีที่จะใช้นโยบายแบบ Hawkish ต่อ เพื่อให้เข้ากับภาวะเงินเฟ้อที่ยังอยู่ ซึ่งตลาดกำลังลุ้นว่าเงินเฟ้อจะสิ้นสุดเมื่อไหร่่ โดยแนวทางยังไม่มีทีท่าจะกลับด้านแต่อย่างใด 

และเมื่อวันศุกร์ สถิติการจ้างงานและตัวเลขเงินเดือนของกลุ่มแรงงานมีผลออกมาสูงกว่าที่คาดไว้ +261,000 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราการว่างงานอยู่ที่ 3.7% ซึ่งมากกว่าตัวเลข 3.6% ที่คาดการณ์เอาไว้ 

ผลตอบรับที่เกิดขึ้นทำให้ดัชนีมีทิศทางลดลง จากนั้นก็กลับตัวขึ้นและดิ่งลงอีกครั้ง ราคาที่โต้กลับใกล้ช่วงปิดทำการส่งผลให้ตลาดตกต่ำลงอีกครั้ง 

ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ณ สิ้นสุดสัปดาห์อยู่ที่ 4.66% และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปีอยู่ที่ 4.66% 

สำหรับทั้งสัปดาห์ ค่าเฉลี่ยดัชนีที่สำคัญปิดตัวลงเล็กน้อย โดยดัชนีดาวโจนส์ร่วงลง 1.4%, S&P ปิด 3.4% และ Nasdaq ตกต่ำ 5.7% 

และข้อมูลด้านล่างนี้เป็นราคาปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2022 

 ราคาปิดตลาด การเปลี่ยนแปลง %ที่เปลี่ยนแปลง 
Dow Jones 32,403.22.   +401.97 +1.26% 
S&P 500 3,770.55 +50.66. +1.36% 
Nasdaq Comp 10,475.25. +132.31. +1.28% 
US 10Y 4.16%   
VIX 24.55 -0.75 -2.96% 

มีหลายฝ่ายได้ให้ความเห็นว่า Jerome Powell ที่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยไป 75 Basis point เป็นครั้งที่ 4 ติดต่อกัน สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไปจากนี้คือ อนาคตอาจเริ่มชะลอการขึ้นดอกเบี้ยเป็น 50 Basis point แต่ดอกเบี้ยเป้าหมายที่เฟดพอใจ อาจสูงกว่า 5% 

ซึ่งต้องไม่ลืมว่าเฟดตั้งใจที่จะรักษาอัตราดอกเบี่ยนี้ไว้เป็นเวลานาน 

จากถ้อยแถลงของเขาน่าจะเป็นจุดชี้ชัดได้ว่า ผู้ที่ยังรอว่าจะมีจุดกลับตัวของดอกเบี้ย ซึ่งนโยบายก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงโดยง่ายในอนาคตอันใกล้นี 

แล้วทำไมตลาดจึงไม่ดิ่งลง และราคาจึงพุ่งสูงขึ้นในช่วงใกล้ปิดตลาด 

นี่เป็นอีกครั้งที่เราไม่สามารถคาดเดาทิศทางตลาดได้เลย 

ค่าเงินดอลลาร์ลดลงจากระดับสูงสุดและให้ผลตอบแทนในลักษณะที่หลายคนอาจคิดว่าถึงจุดสิ้นสุดแล้ว นอกจากนี้ยังมีนักลงทุนในหุ้นบางรายรู้สึกว่าสิ่งที่เฟดทำนั้นอาจมากเกินความจำเป็น 

นั่นอาจจะถือว่าถูก อย่างไรก็ตาม มีผู้วิเคราะห์ว่า Powell ยอมที่จะกดดันอัตราดอกเบี้ย ดีกว่าปล่อยให้อัตราเงินเฟ้อลอยตัว 

เขากล่าวว่าต้นทุนการกดดอกเบี้ยนั้นน้อยกว่าต้นทุนที่จะเกิดจากเงินเฟ้อที่ไม่ได้ควบคุมเสียอีก 
 
ด้วยเหตุนี้ อัตราดอกเบี้ยอาจสูงขึ้นอีกเล็กน้อยและยังคงสูงต่อไปอย่างนี้อีกสักระยะหนึ่ง  

ผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นนั้นเจ็บปวด และผู้ที่ใช้ชีวิตประจำวันจะได้รับผลกระทบมาก 

แน่นอนย่อมจะส่งผลเสียต่อบริษัทจำนวนมาก ไม่เพียงแต่ในการประเมิน Valuation บริษัทในหลักทรัพย์ แต่ยังรวมไปถึงการกัดกินผลกำไรบริษัทในที่สุด 

เราจะเห็นการรีบาวด์ในตลาดหรือไม่? 

เราถึงจุดต่ำสุดแล้วหรือยัง และถึงเวลาต้องเปลี่ยนเทรนด์โพสิชั่นแล้วหรือยัง? 

คนที่กล้ามากเท่านั้นถึงจะเชื่อว่ากระเเสการขายจบลงแล้ว แน่นอนว่าเราจะเห็นการแกว่งของราคาขึ้นๆ ลงๆ ครั้งใหญ่ แต่เทรนด์ตอนนี้ก็ยังน่ากลัวและประมาทไม่ได้ในตอนนี้ 

ที่มา: CBOE, Bloomberg,    

บทความนี้เขียนโดย James Gomes      

เจมส์อยู่ในวงการการเงินมากว่า 30 ปี และล่าสุดเขาทำงานให้กับธนาคารขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ มานานกว่า 20 ปีแล้ว    

การเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง  

การซื้อขายเครื่องมือทางการเงินมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากความผันผวนของมูลค่าและราคาของเครื่องมือทางการเงิน เนื่องจากความเคลื่อนไหวทางการตลาดที่ไม่พึงประสงค์และคาดการณ์ไม่ได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่นักลงทุนในระยะเวลาที่รวดเร็วได้ ผลการลงทุนในอดีตไม่สามารถชี้วัดความสำเร็จหรือผลกำไรในการลงทุนได้ การลงทุนด้านนี้เกี่ยวข้องกับมาร์จินและเลเวอเรจ ซึ่งการลงทุนจำนวนเล็กน้อยอาจส่งผลประทบมากได้ ดังนั้น นักลงทุนควรเตรียมรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการซื้อขาย    

โปรดอ่านและทำความเข้าใจความเสี่ยงของการซื้อขายเครื่องมือทางการเงินอย่างถี่ถ้วนก่อนที่จะทำธุรกรรมกับ Doo Prime หากมีข้อสงสัยในการลงทุน ควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ข้อมูลข้อตกลงการทำธุรกรรมและการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง    

ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต (Forward-looking Statement)       

ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต (Forward-looking Statement)     

บทความนี้มีข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต (Forward-looking Statement) ปรากฏอยู่ เช่นคำว่า “คาดการณ์ว่า” “เชื่อว่า” “ต่อไป” “สามารถ” “ประมาณ” “คาดว่า” “หวังว่า” “ตั้งใจว่า” “อาจจะ” “วางแผนว่า” “มีแนวโน้มว่า” “คาดเดาว่า” “ควรจะ” หรือ “จะ” หรือข้อความอื่น ๆ ซึ่งเป็นการคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ในอนาคต อย่างไรก็ตาม ในข้อความที่ไม่มีคำลักษณะนี้ปรากฏอยู่มิได้แสดงว่าข้อความเหล่านี้ไม่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต ข้อความเกี่ยวกับความคาดหวัง ความเชื่อ แผนการ จุดประสงค์ ข้อสันนิษฐาน เหตุการณ์ในอนาคต และการกระทำในอนาคตของ Doo Prime จะเป็นข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต      

Doo Prime ใช้ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตอ้างอิงมาจากข้อมูลปัจจุบันที่มีอยู่ ความคาดหวังในปัจจุบัน ข้อสันนิษฐาน การคาดคะเน และการวางแผน Doo Prime เชื่อว่าความคาดหวังในปัจจุบัน ข้อสันนิษฐาน การคาดคะเน และการวางแผนเหล่านั้นสมเหตุสมผล อย่างไรก็ตาม ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตนี้ไม่ใช่เป็นเพียงการคาดหมายและเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่สามารถรับรู้และไม่สามารถรับรู้ได้ แต่หลายเหตุการณ์เป็นเหตุการณ์ที่อยู่เหนือการควบคุมของ Doo Prime ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ และการกระทำที่แตกต่างจากที่ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตได้แสดงออกหรือแสดงนัยไว้     

Doo Prime ไม่รับรองหรือรับประกันความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง หรือความสมบูรณ์ของข้อความเหล่านั้น Doo Prime ไม่มีหน้าที่ส่งข้อมูลหรือแก้ไขข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตเหล่านี้  

แชร์ไปที่

บทความวิเคราะห์ตลาด

S&P 500 ร่วง ท่ามกลางการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และภาคเทคอยู่ในสถานการณ์ลำบาก

ตลาดหุ้นต้องเผชิญกับสัปดาห์ที่โหดร้าย โดย S&P 500 ประสบพบกับผลการดำเนินงานที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2023 การลงครั้งนี้ได้รับแรงหนุนมาจากความวิตกกังวลในตลาด  ผลกระทบทางเศรษฐกิจและธนาคารกลางสหรัฐ  ประการแรก ข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีเกินความคาดหมาย บวกกับแถลงการณ์ที่ไม่ค่อยดีนักจากธนาคารกลางสหรัฐ ทำให้เกิดความกังวลว่าอัตราดอกเบี้ยอาจยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปเป็นระยะเวลานานขึ้น  สิ่งนี้ได้บั่นทอนแรงซื้อของนักลงทุนในตลาดหุ้น โดยเฉพาะหุ้นที่มีการเติบโต ซึ่งมีความอ่อนไหวต่อความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย  ประการที่สอง ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและอิหร่านได้เพิ่มความไม่แน่นอนอีกชั้นหนึ่งให้กับตลาด  ปัจจัยลบในภาคเทคโนโลยี  การขายออกที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะภาคเทคโนโลยี ที่ได้รับแรงกดดันมาจากรายงานผลประกอบการที่น่าผิดหวังจากผู้ผลิตชิปรายใหญ่ เช่น ASML และ TSM  รายงานเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงฤดูกาลประกาศรายได้ที่กำลังจะมาถึงสำหรับบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง Apple และ Amazon นักลงทุนต่างคาดหวังถึงผลลัพธ์ที่แข็งแกร่งแต่ยังคงกังวลเกี่ยวกับความสามารถของบริษัทเหล่านี้ในการตอบสนองความคาดหวังสำหรับโครงการด้านปัญญาประดิษฐ์ของพวกเขา  ภาพรวมผลประกอบการรายสัปดาห์  ตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนี S&P 500 ลดลง -3.1% ดัชนี Nasdaq Composite ที่เน้นด้านเทคโนโลยีลดลง -5.5% และดัชนีบลูชิป Dow ปรับตัวขึ้นเล็กน้อยที่ +0.01%  และนี่คือราคาปิดตลาดของแต่ละดัชนีในวันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2567 Index  Last  Change  %Change  DOW […]

2024-4-22 | บทความวิเคราะห์ตลาด

ตลาดหุ้นปิดบวกท่ามกลางการมองในแง่ดีด้านเศรษฐกิจ

ตลาดหุ้นได้ปิดทำการในสัปดาห์นี้ด้วยสัญญาณเชิงบวกหลังจากรายงานการจ้างงานที่แข็งแกร่ง ซึ่งบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งที่ยั่งยืนในเศรษฐกิจสหรัฐฯ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยอาจเพิ่มขึ้นก็ตาม  S&P 500 เติบโตมากกว่า 1% Wall Street ยังคงมองโลกในแง่ดี โดยแนะนำว่า Federal Reserve อาจไม่จำเป็นต้องปรับนโยบายแบบเร่งด่วน สิ่งนี้นำไปสู่การปรับราคาในตลาดตราสารหนี้โดยที่อัตราผลตอบแทนของกระทรวงการคลังเพิ่มขึ้น การคาดการณ์การเติบโตของงานและอัตราดอกเบี้ย  ตัวเลขเงินเดือนสหรัฐเพิ่มขึ้น 303,000 ในเดือนมีนาคม โดยอัตราการว่างงานลดลงเหลือ 3.8% และค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น ในช่วงนี้นักลงทุนยังเห็นอัตราผลตอบแทนของกระทรวงการคลังอายุ 10 ปีเพิ่มขึ้นเป็น 4.40% ในขณะที่ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ทำให้ราคาน้ำมันเบรนท์อยู่เหนือระดับ 90 ดอลลาร์   แม้ว่าผลการดำเนินงานของตลาดงานจะแข็งแกร่ง แต่ Mohamed El-Erian หัวหน้าที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของ Allianz คาดการณ์ว่า Federal Reserve อาจประกาศลดอัตราดอกเบี้ยสองครั้งในปีนี้  สัญญา Swap ซึ่งเป็นมาตรวัดสำหรับคาดการณ์การเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับความน่าจะเป็นของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนเป็นประมาณ 52% โดยความน่าจะเป็นในเดือนกรกฎาคมจะลดลงต่ำกว่า 100%  ภาพรวมผลการดำเนินงานของตลาด  ตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนี S&P 500 ร่วงลง -1.0% ดัชนี Nasdaq […]

2024-4-9 | บทความวิเคราะห์ตลาด

แนวโน้มวอลล์สตรีทเป็นบวก ท่ามกลางจุดยืนเฟด และข้อมูลเงินเฟ้อ

การเคลื่อนไหวล่าสุดในวอลล์สตรีทได้ส่งสัญญาณเชิงบวกเล็กน้อยให้กับนักลงทุนและนักวิเคราะห์ ท่ามกลางเศรษฐกิจที่มีความผันผวนอยู่อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีแนวโน้มการลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง แต่เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ ภายใต้การนำของประธานเจอโรม พาวเวลล์ ยังคงยืนหยัด ในการเน้นย้ำถึงความสำคัญของการอดทนรอ  จุดยืนของเฟดท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อ  จุดยืนของพาวเวลล์เกิดขึ้นหลังจากที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนกุมภาพันธ์ลดลงอย่างน่าทึ่งที่ 0.3% ซึ่งเป็นมาตรวัดที่ธนาคารกลางได้ตั้งไว้สำหรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อประกอบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ความลังเลของพาวเวลล์ที่จะลดอัตราดอกเบี้ยก่อนเวลาอันควรอาจจะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้  ตัวชี้วัดเหล่านี้ทำให้นักวิเคราะห์ยังอยู่ในโซนแห่งความสบายใจอยู่ พวกเขามองว่านี่เป็นหลักฐานที่แสดงถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเห็นได้จากการใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งเกินความคาดหมาย และการเติบโตของค่าจ้าง  ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นของตลาด  แม้จะเกิดความกังวลเกี่ยวกับฟองสบู่เทคโนโลยีที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นกลุ่มปัญญาประดิษฐ์ แต่นักลงทุนยังดันตลาดหุ้นให้สูงขึ้นไปต่อ  ดัชนี S&P 500 ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์และเพิ่มขึ้นกว่า 10% ในรายไตรมาส แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจและผู้บริโภค  แนวโน้มนี้สะท้อนให้เห็นในผลประกอบการของดัชนีหลักๆ ในช่วงเทศกาลวันหยุด โดยดัชนี S&P 500 ขยับขึ้น 0.4% และดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ไต่ขึ้น 0.8% ขณะเดียวกัน ดัชนี Nasdaq Composite ร่วงลง 0.3%  การเคลื่อนไหวของตลาดและผลการดำเนินงานรายไตรมาส  เมื่อไตรมาสแรกสิ้นสุดลง ตลาดหุ้น Wall Street ได้เฉลิมฉลองผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่ปี 2019 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มเชิงบวกเล็กน้อย […]

2024-4-2 | บทความวิเคราะห์ตลาด