Search Mark
หน้าแรก / บทความวิเคราะห์ตลาด

สัปดาห์ที่ผันผวนและยังคงมีความไม่แน่นอน


เมื่อวันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม 2022 หุ้นสหรัฐฯ ปิดตลาดที่ราคาสูงกว่าเดิม โดยเป็นจุดราคารายสัปดาห์ที่สูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 

ราคาดัชนีที่เกิดขึ้นเมื่อวันศุกร์นี้ เป็นการปิดตลาดอีกสัปดาห์ที่ผันผวนเนื่องจากราคาเปลี่ยนจากแดนบวกเป็นแดนลบและกลับสู่แดนบวกตลอดทั้งสัปดาห์ คาดว่าสาเหตุนั้นมาจากการลาออกของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ การออกประท้วงโจมตีเรื่องการว่างงาน และรายได้ของบริษัทต่างๆ ที่ผันเปลี่ยนตลอดทั้งสัปดาห์ 

และเมื่อรวมกับคำปราศรัยของ Mary Daly ประธานธนาคารกลางสหรัฐประจำสาขาซานฟรานซิสโก ที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางของราคาดัชนีในตลาด 

โดย Daly กล่าวว่า ผู้กำหนดนโยบายการเงินควรเริ่มวางแผนลดขนาดการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยได้แล้ว แม้ว่าจะยังไม่ถึงขั้น “ล้มเลิก” การขึ้นดอกเบี้ยครั้งใหญ่ก็ตาม 

“การเพิ่มดอกเบี้ยในอัตราที่น้อยลง เช่น ทีละ 50 หรือ 25 Basis point จะเหมาะสมกว่า เนื่องจากถ้าเทียบตาม Benchmark มาตรฐานของเฟดนั้น นี่เข้าใกล้จุดสิ้นสุดวงจรการขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้แล้ว” 

ถ้อยแถลงในครั้งนี้ทำให้พันธบัตรที่เพิ่งทำราคา New high นั้นดิ่งลงไป สวนทางกับหุ้นที่เริ่มกลับมาฟื้นตัวจนเกิดกระแส FOMO เพราะนักลงทุนกลัวตกขบวนอีกครั้ง 

ผลที่เกิดขึ้นทำให้ดัชนี S&P 500 ทำราคาปิดเพิ่มขึ้น 4.8% ในสัปดาห์นี้ ส่วนดัชนี Dow Jones เพิ่มขึ้น 4.9% และ ดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้น 5.2% 

 และข้อมูลด้านล่างนี้คือราคาปิดตลาด เมื่อวันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม 2022.

 ราคาปิด เปลี่ยนแปลง %ที่เปลี่ยน 
Dow Jones 31,082.56. +748.97. +2.47% 
S&P 500 3,752.75 +86.97. +2.37% 
Nasdaq Comp 10,859.72. +244.88. +2.31% 
US 10Y 4.22%   
VIX 29.69 -0.29 -0.97% 

นับว่าเป็นสัปดาห์ที่น่าพึงพอใจมาก ดูเหมือนว่าทั้ง Buyer และ Seller ผ่านจุดที่ยากลำบากกันมาแล้ว ในที่สุดฝั่ง Buyer ก็มีวอลุ่มที่เยอะกว่าทำให้จบสัปดาห์ไปในฝั่งแดนบวก 

ข้อคิดที่ได้จากการปริมาณการซื้อขายในสัปดาห์ที่แล้วนั้นคือ อะไรก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้น บางครั้งดูเหมือนเป็นเวลาที่น่าซื้อ แต่พอซื้อราคาก็ดิ่งลงมา ขณะที่บางครั้งเมื่อดูเหมือนว่าราคากำลังจะดิ่งลง มันก็ปรับตัวขึ้น 

ราคาปิดตลาดที่สูงขึ้นเป็นตัวบอกว่านักลงทุนต่างกำลังมองหาเหตุผลในการเข้าซื้อสินทรัพย์ นับว่า Mary Daly ได้มอบสิ่งที่นักลงทุนปรารถนา 

แต่ถ้าวิเคราะห์จากถ้อยคำสัมภาษณ์อย่างถี่ถ้วนแล้ว ตัวแนวทางของเฟดก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก เฟดยังเล็งขึ้นดอกเบี้ยอีกราว 75 Basis point ในการประชุม 2 ครั้งถัดไป และอีก 50 Basis point ในการประชุมหลังจากนั้น 

แต่นักลงทุนที่ตื่นตูมกับกระแสข่าวจะไปโฟกัสที่คำว่า “การลดขนาดการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย” และ “การชะลอตัวดอกเบี้ยทีละน้อย” เท่านั้น 

ท่าทีเหล่านี้เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ในบางช่วง เฟดคงไม่สามารถขึ้นดอกเบี้ยไปตลอดรอดฝั่งได้ 

ทั้งนี้ เฟดจะชะลอการขึ้นดอกเบี้ยได้จริง เมื่อถึงระดับที่เชื่อว่าเพียงพอจะควบคุมเงินเฟ้อได้แล้ว นักวิเคราะห์บางคนคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยจะสูงถึง 5% ซึ่งสภาพปัจจุบันเรายังไม่ได้เข้าใกล้ถึงจุดนั้น 

อย่างไรก็ตาม พวกที่ทำกำไรในช่วงขาขึ้นต่างรู้สึกว่าช่วงนี้เป็นเวลาที่พลาดไม่ได้ ตอนนี้เป็นเวลาที่จะเริ่มกลับมาซื้อ Long กันแล้ว เเต่สิ่งที่นักลงทุนคิดนั้นถูกหรือไม่ บางทีอาจจะไม่เสมอไปก็ได้ 

ขอให้ระลึกไว้เสมอว่า ตลาดผันผวนได้นานกว่าที่คุณจะสามารถตั้งตัวในการลงทุนได้ทัน 

ตอนนี้ยังมีเวลาอีกมากก่อนจะถึงการประชุมเฟดครั้งต่อไป ดังนั้นจึงไม่น่าจะไม่แปลกใจหากตลาดยังคงมีความผันผวนในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้าต่อไป 

ที่มา: CBOE, Bloomberg,   

บทความนี้เขียนโดย James Gomes     

เจมส์อยู่ในวงการการเงินมากว่า 30 ปี และล่าสุดเขาทำงานให้กับธนาคารขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ มานานกว่า 20 ปีแล้ว   

การเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง 

การซื้อขายเครื่องมือทางการเงินมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากความผันผวนของมูลค่าและราคาของเครื่องมือทางการเงิน เนื่องจากความเคลื่อนไหวทางการตลาดที่ไม่พึงประสงค์และคาดการณ์ไม่ได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่นักลงทุนในระยะเวลาที่รวดเร็วได้ ผลการลงทุนในอดีตไม่สามารถชี้วัดความสำเร็จหรือผลกำไรในการลงทุนได้ การลงทุนด้านนี้เกี่ยวข้องกับมาร์จินและเลเวอเรจ ซึ่งการลงทุนจำนวนเล็กน้อยอาจส่งผลประทบมากได้ ดังนั้น นักลงทุนควรเตรียมรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการซื้อขาย   

โปรดอ่านและทำความเข้าใจความเสี่ยงของการซื้อขายเครื่องมือทางการเงินอย่างถี่ถ้วนก่อนที่จะทำธุรกรรมกับ Doo Prime หากมีข้อสงสัยในการลงทุน ควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ข้อมูลข้อตกลงการทำธุรกรรมและการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง   

ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต (Forward-looking Statement)      

ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต (Forward-looking Statement)    

บทความนี้มีข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต (Forward-looking Statement) ปรากฏอยู่ เช่นคำว่า “คาดการณ์ว่า” “เชื่อว่า” “ต่อไป” “สามารถ” “ประมาณ” “คาดว่า” “หวังว่า” “ตั้งใจว่า” “อาจจะ” “วางแผนว่า” “มีแนวโน้มว่า” “คาดเดาว่า” “ควรจะ” หรือ “จะ” หรือข้อความอื่น ๆ ซึ่งเป็นการคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ในอนาคต อย่างไรก็ตาม ในข้อความที่ไม่มีคำลักษณะนี้ปรากฏอยู่มิได้แสดงว่าข้อความเหล่านี้ไม่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต ข้อความเกี่ยวกับความคาดหวัง ความเชื่อ แผนการ จุดประสงค์ ข้อสันนิษฐาน เหตุการณ์ในอนาคต และการกระทำในอนาคตของ Doo Prime จะเป็นข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต     

Doo Prime ใช้ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตอ้างอิงมาจากข้อมูลปัจจุบันที่มีอยู่ ความคาดหวังในปัจจุบัน ข้อสันนิษฐาน การคาดคะเน และการวางแผน Doo Prime เชื่อว่าความคาดหวังในปัจจุบัน ข้อสันนิษฐาน การคาดคะเน และการวางแผนเหล่านั้นสมเหตุสมผล อย่างไรก็ตาม ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตนี้ไม่ใช่เป็นเพียงการคาดหมายและเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่สามารถรับรู้และไม่สามารถรับรู้ได้ แต่หลายเหตุการณ์เป็นเหตุการณ์ที่อยู่เหนือการควบคุมของ Doo Prime ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ และการกระทำที่แตกต่างจากที่ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตได้แสดงออกหรือแสดงนัยไว้    

Doo Prime ไม่รับรองหรือรับประกันความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง หรือความสมบูรณ์ของข้อความเหล่านั้น Doo Prime ไม่มีหน้าที่ส่งข้อมูลหรือแก้ไขข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตเหล่านี้ 

แชร์ไปที่

บทความวิเคราะห์ตลาด

หุ้นพุ่งขึ้นท่ามกลางท่าที Dovish ของเฟดและตัวเลขงานที่อ่อนแอ 

S&P 500 ปรับตัวขึ้นเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน โดยได้แรงหนุนมาจากท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐที่ Dovish มากขึ้นและข้อมูลการจ้างงานที่อ่อนแอกว่าที่คาด  ความผ่อนคลายในหมู่นักลงทุนจากการประกาศของเฟดเมื่อวันพุธได้ส่งสัญญาณถึงการชะลอตัวในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงมาจากความกังวลก่อนหน้านี้ที่ว่าธนาคารกลางอาจมีจุดยืนเชิงรุกมากขึ้นเพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ  ผลกระทบของรายงานการจ้างงานในสหรัฐฯ  นอกจากมุมมองเชิงบวกแล้ว รายงานการจ้างงานในสหรัฐฯ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมายังระบุว่าเงินเดือนเพิ่มขึ้นเพียง 175,000 อัตรา ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้อย่างมีนัยสำคัญที่ 240,000 อัตรา โดยการเติบโตของค่าจ้างยังต่ำกว่าการคาดการณ์อีกด้วย ข้อมูลการจ้างงานที่อ่อนแอกว่าที่คาดไว้นี้ช่วยคลายความกังวลเกี่ยวกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนในทางบวก  ปฏิกิริยาของตลาดต่อตัวเลขเศรษฐกิจ  ความคาดหวังของตลาดอยู่ในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากตลาดต่างรอคอยคำกล่าวของประธานธนาคารกลางสหรัฐ เจอโรม พาวเวลล์ โดยหวังว่าสิ่งนี้อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในนโยบายการเงิน  แม้ว่าคำกล่าวของพาวเวลล์จะเน้นไปที่อัตราเงินเฟ้อและตลาดแรงงานเป็นหลัก แต่รายงานการจ้างงานในเวลาต่อมาก็ตอกย้ำท่าทีที่อ่อนลงของเฟด  นอกจากนี้ ตัวเลขงานที่น่าผิดหวังยังส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรลดลง โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของสหรัฐฯ ใกล้สู่ระดับแนวรับสำคัญที่ประมาณ 4.42/33% ซึ่งบ่งชี้ถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นได้  ผลการดำเนินงานรายสัปดาห์ของตลาด  ด้วยแรงหนุนมาจากสัญญาณของธนาคารกลางสหรัฐที่มีแนวโน้มชะลอตัวและข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ดัชนีสำคัญๆ ทั้งหมดจึงสรุปผลเชิงบวกในสัปดาห์นี้ ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 0.6% ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 1.1% และดัชนี Nasdaq Composite เพิ่มขึ้น 1.4%  และนี่คือราคาปิดตลาดของแต่ละดัชนีในวันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม […]

2024-5-7 | บทความวิเคราะห์ตลาด

ตลาดพุ่ง นักลงทุนมองภาคเทคในแง่ดี ความกลัวขึ้นดอกเบี้ยคลายลง

ตลาดหุ้นพุ่งขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยถือเป็นผลการดำเนินงานรายสัปดาห์ที่แข็งแกร่งที่สุดในปีนี้ การพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ได้รับแรงผลักดันมาจากคำพูดเชิงบวกจากยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง Microsoft และ Alphabet (บริษัทแม่ของ Google) ซึ่งให้ความมั่นใจกับนักลงทุนว่าการลงทุนในปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของพวกเขามีมุมมองเป็นบวก  ข้อมูลเงินเฟ้อที่นักลงทุนมองข้าม  แม้จะเผชิญกับข้อมูลเงินเฟ้อที่สูงกว่าคาด แต่นักลงทุนก็ดูเหมือนไม่ได้ให้ความสำคัญกับข้อมูลนั้น เทรดเดอร์บางรายเตรียมพร้อมสำหรับตัวเลขเงินเฟ้อที่สูงขึ้น โดยมีข้อบ่งชี้ล่าสุดว่า Federal Reserve กำลังพยายามที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ดังนั้นตัวเลขเงินเฟ้อล่าสุดจึงไม่ทำให้เกิดความไม่แน่นอนในตลาดอย่างมีนัยสำคัญ  พันธบัตรรัฐบาล ความผันผวนของค่าเงิน และราคาทองคำ  อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลแสดงผลการดำเนินงานแบบผสมผสาน โดยพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวทำได้ดีกว่าระยะสั้น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีลดลงประมาณ 3 จุดมาอยู่ที่ 4.663%  ดัชนี Bloomberg Dollar Spot แข็งค่าขึ้น ขณะที่เงินเยนของญี่ปุ่นอ่อนค่าลง 1.4% ใกล้ระดับ 158 เยนต่อดอลลาร์ การอ่อนค่าของเยนในครั้งนี้ทำให้นักลงทุนจับตาดูการแทรกแซงที่อาจเกิดขึ้นจากทางการญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิด  นอกเหนือจากนี้ ราคาทองคำก็ขยับสูงขึ้น สะท้อนถึงความสนใจอย่างต่อเนื่องของนักลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางสภาวะตลาดที่ผันผวน    สรุปการเคลื่อนไหวตลาดรายสัปดาห์  ตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนี S&P 500 ขยับขึ้น 2.7% ดัชนี Nasdaq Composite […]

2024-4-29 | บทความวิเคราะห์ตลาด

S&P 500 ร่วง ท่ามกลางการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และภาคเทคอยู่ในสถานการณ์ลำบาก

ตลาดหุ้นต้องเผชิญกับสัปดาห์ที่โหดร้าย โดย S&P 500 ประสบพบกับผลการดำเนินงานที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2023 การลงครั้งนี้ได้รับแรงหนุนมาจากความวิตกกังวลในตลาด  ผลกระทบทางเศรษฐกิจและธนาคารกลางสหรัฐ  ประการแรก ข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีเกินความคาดหมาย บวกกับแถลงการณ์ที่ไม่ค่อยดีนักจากธนาคารกลางสหรัฐ ทำให้เกิดความกังวลว่าอัตราดอกเบี้ยอาจยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปเป็นระยะเวลานานขึ้น  สิ่งนี้ได้บั่นทอนแรงซื้อของนักลงทุนในตลาดหุ้น โดยเฉพาะหุ้นที่มีการเติบโต ซึ่งมีความอ่อนไหวต่อความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย  ประการที่สอง ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและอิหร่านได้เพิ่มความไม่แน่นอนอีกชั้นหนึ่งให้กับตลาด  ปัจจัยลบในภาคเทคโนโลยี  การขายออกที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะภาคเทคโนโลยี ที่ได้รับแรงกดดันมาจากรายงานผลประกอบการที่น่าผิดหวังจากผู้ผลิตชิปรายใหญ่ เช่น ASML และ TSM  รายงานเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงฤดูกาลประกาศรายได้ที่กำลังจะมาถึงสำหรับบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง Apple และ Amazon นักลงทุนต่างคาดหวังถึงผลลัพธ์ที่แข็งแกร่งแต่ยังคงกังวลเกี่ยวกับความสามารถของบริษัทเหล่านี้ในการตอบสนองความคาดหวังสำหรับโครงการด้านปัญญาประดิษฐ์ของพวกเขา  ภาพรวมผลประกอบการรายสัปดาห์  ตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนี S&P 500 ลดลง -3.1% ดัชนี Nasdaq Composite ที่เน้นด้านเทคโนโลยีลดลง -5.5% และดัชนีบลูชิป Dow ปรับตัวขึ้นเล็กน้อยที่ +0.01%  และนี่คือราคาปิดตลาดของแต่ละดัชนีในวันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2567 Index  Last  Change  %Change  DOW […]

2024-4-22 | บทความวิเคราะห์ตลาด