Search Mark
หน้าแรก / บทความวิเคราะห์ตลาด

การยอมจำนนของนักลงทุน ตลาดที่มีแรงหนุนใหม่


หุ้นสหรัฐฯ ปิดตลาดสูงขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2022 ตามการเคลื่อนไหวของโมเมนตัมจำนวนมหาศาลของวันก่อนหน้า 

เมื่อวันพฤหัสบดีกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ในเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้น 0.3% เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 0.5% ซึ่งนี่เป็นค่า Core CPI ที่น้อยที่สุดนับตั้งแต่กันยายน 2021 

โดยตัวเลข CPI ที่เป็นดัชนีสะท้อนราคาอาหารและพลังงานนั้นเพิ่มขึ้น 7.7% เมื่อเทียบจากปีก่อนหน้า แต่ก็ยังต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 8.0% และเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้นไปถึง 8.2% 

นี่เป็นสัญญาณว่าเฟดอาจเริ่มชะลอการขึ้นดอกเบี้ย และใช้นโยบายเชิงรุกน้อยลง 

โดยเมื่อสิ้นสุดช่วงท้ายวันพฤหัสบดี DJIA หรือ ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ และ S&P 500 ปิดตลาดสูงขึ้น 3.7% และ 5.5% ตามลำดับ ขณะที่กลุ่มดัชนี Nasdaq ที่เน้นด้านเทคฯ เพิ่มขึ้น 7.4%  

แต่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ต้องบันทึกวันนี้เอาไว้ว่าเป็นการลดลงในหนึ่งวันที่สูงที่สุดในรอบทศวรรษ โดยผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีลดลง 32 Basis point มาอยู่ที่ 3.82% 

สำหรับทั้งสัปดาห์นั้น Dow Jones เพิ่มขึ้น 4.1%, S&P 500 เพิ่มขึ้น 5.9% ขณะที่ Nasdaq เพิ่มขึ้นมากสุดที่ 8.1% 

ข้อมูลด้านล่างนี้เป็นข้อมูลราคาปิดตลาด ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2022 : 

 ราคาปิดตลาด การเปลี่ยนแปลง %ที่เปลี่ยน 
Dow Jones 33,747.86. +32.49. +0.10% 
S&P 500 3,992.93.   +36.56. +0.92% 
Nasdaq Comp 11,323.33.   +209.18. +1.88% 
US 10Y 3.81%   
VIX  22.52 -1.01  -4.29% 

“การยอมจำนน (Capitulation)” คือสิ่งที่ผมขอนิยามในสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผู้ที่ขายชอร์ตยอมจำนนอย่างราบคาบซึ่งทำให้นักลงทุนต่างหวังกำไรในช่วงขาขึ้นกันมากจนตลาดเปลี่ยนสภาวะไป แม้ว่าตลาดเทรดคริปโตฯ จะค่อยๆ พังทลาย ซึ่งปกติมักจะนำความรู้สึกเชิงลบมาสู่ตลาด 


แต่เหตุการณ์ไม่เป็นเช่นนั้น ไม่มีอะไรจะมาหยุดยั้งตลาดใหม่ที่มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ 


ถึงแม้ตัวเลขเงินเฟ้อจริงๆ ไม่ได้ดีไปกว่าที่คาดไว้มากนัก แต่ก็เพียงพอที่จะเปลี่ยนความคิดนักลงทุนฝั่ง Buyer ว่าทุกอย่างอาจจะดีขึ้น ตลาดคงผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว…ซึ่งสิ่งนี้ล้วนเป็นความหวัง 


แรงบังคับใหขายชอร์ตนั้นสูงมาก โดยต่างจากแรงกดดันครั้งก่อนหน้า คือไม่มีกระแส Pullback หรือ ชุดคลื่นราคาที่วิ่งสวนแนวโน้มหลัก หรือมีแนวโน้มกลับตัวให้เห็น กระแสต่างมุ่งไปทิศเดียวทางขาขึ้น และแรงหนุนจากผู้ทำกำไรขาขึ้นรวมทั้งผู้ที่กลัวจะตกขบวน (FOMO) ต่างกลับมาสู่ตลาด  

ผลกระทบจากเมื่อวันศุกร์เป็นสัญญาณที่ดีว่าขาขึ้นครั้งนี้อาจมีหลายระลอก 

ผมขอพูดตรงๆ เลยว่า หลายคนรวมทั้งตัวผมด้วย ไม่คาดคิดว่าตลาดจะมีปฏิกิริยาแบบนี้จากจุดข้อมูลเพียงจุดเล็กๆ จุดเดียว 

ใจผมเองอยากเห็นแนวโน้มขาขึ้นนี้ดำเนินต่อไป แต่อีกใจหนึ่งกลับบอกว่าอาจจะไม่แน่ เพราะอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ที่ 7.7% ซึ่งห่างไกลจากเป้าหมาย 2% ของ Fed มาก 

แล้วตลาดแข็งแกร่งพอที่จะต้านทานอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นได้หรือไม่?  

ผลประกอบการของบริษัทต่างๆ จะเป็นตัวบอกเราได้ซึ่งหวังว่ามันจะเป็นไปตามนี้ 


เมื่อดูเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่อายุ 2 ปี และ 10 ปี มันกำลังบอกเราว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยกำลังจะมา 


การยอมจำนนของผู้ทำกำไรขาขึ้นมักเป็นตัวบ่งชี้ว่าเราเข้าใกล้จุดต่ำสุดแล้ว ขณะที่การยอมจำนนของผู้ที่รอขายชอร์ตนั้นหมายถึงอะไร? 

นั่นคือ เราสามารถหวังผลตอบแทนที่สูงขึ้นได้ แต่ก็อย่าลืมเตรียมรับสภาวะฝืดเคืองไว้ด้วย 

ที่มา: CBOE, Bloomberg,     

บทความนี้เขียนโดย James Gomes 

เจมส์อยู่ในวงการการเงินมากว่า 30 ปี และล่าสุดเขาทำงานให้กับธนาคารขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ มานานกว่า 20 ปีแล้ว      

การเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง  

การซื้อขายเครื่องมือทางการเงินมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากความผันผวนของมูลค่าและราคาของเครื่องมือทางการเงิน เนื่องจากความเคลื่อนไหวทางการตลาดที่ไม่พึงประสงค์และคาดการณ์ไม่ได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่นักลงทุนในระยะเวลาที่รวดเร็วได้ ผลการลงทุนในอดีตไม่สามารถชี้วัดความสำเร็จหรือผลกำไรในการลงทุนได้ การลงทุนด้านนี้เกี่ยวข้องกับมาร์จินและเลเวอเรจ ซึ่งการลงทุนจำนวนเล็กน้อยอาจส่งผลประทบมากได้ ดังนั้น นักลงทุนควรเตรียมรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการซื้อขาย    

โปรดอ่านและทำความเข้าใจความเสี่ยงของการซื้อขายเครื่องมือทางการเงินอย่างถี่ถ้วนก่อนที่จะทำธุรกรรมกับ Doo Prime หากมีข้อสงสัยในการลงทุน ควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ข้อมูลข้อตกลงการทำธุรกรรมและการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง    

ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต (Forward-looking Statement)       

ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต (Forward-looking Statement)     

บทความนี้มีข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต (Forward-looking Statement) ปรากฏอยู่ เช่นคำว่า “คาดการณ์ว่า” “เชื่อว่า” “ต่อไป” “สามารถ” “ประมาณ” “คาดว่า” “หวังว่า” “ตั้งใจว่า” “อาจจะ” “วางแผนว่า” “มีแนวโน้มว่า” “คาดเดาว่า” “ควรจะ” หรือ “จะ” หรือข้อความอื่น ๆ ซึ่งเป็นการคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ในอนาคต อย่างไรก็ตาม ในข้อความที่ไม่มีคำลักษณะนี้ปรากฏอยู่มิได้แสดงว่าข้อความเหล่านี้ไม่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต ข้อความเกี่ยวกับความคาดหวัง ความเชื่อ แผนการ จุดประสงค์ ข้อสันนิษฐาน เหตุการณ์ในอนาคต และการกระทำในอนาคตของ Doo Prime จะเป็นข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต      

Doo Prime ใช้ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตอ้างอิงมาจากข้อมูลปัจจุบันที่มีอยู่ ความคาดหวังในปัจจุบัน ข้อสันนิษฐาน การคาดคะเน และการวางแผน Doo Prime เชื่อว่าความคาดหวังในปัจจุบัน ข้อสันนิษฐาน การคาดคะเน และการวางแผนเหล่านั้นสมเหตุสมผล อย่างไรก็ตาม ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตนี้ไม่ใช่เป็นเพียงการคาดหมายและเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่สามารถรับรู้และไม่สามารถรับรู้ได้ แต่หลายเหตุการณ์เป็นเหตุการณ์ที่อยู่เหนือการควบคุมของ Doo Prime ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ และการกระทำที่แตกต่างจากที่ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตได้แสดงออกหรือแสดงนัยไว้     

Doo Prime ไม่รับรองหรือรับประกันความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง หรือความสมบูรณ์ของข้อความเหล่านั้น Doo Prime ไม่มีหน้าที่ส่งข้อมูลหรือแก้ไขข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตเหล่านี้  

แชร์ไปที่

บทความวิเคราะห์ตลาด

S&P 500 ร่วง ท่ามกลางการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และภาคเทคอยู่ในสถานการณ์ลำบาก

ตลาดหุ้นต้องเผชิญกับสัปดาห์ที่โหดร้าย โดย S&P 500 ประสบพบกับผลการดำเนินงานที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2023 การลงครั้งนี้ได้รับแรงหนุนมาจากความวิตกกังวลในตลาด  ผลกระทบทางเศรษฐกิจและธนาคารกลางสหรัฐ  ประการแรก ข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีเกินความคาดหมาย บวกกับแถลงการณ์ที่ไม่ค่อยดีนักจากธนาคารกลางสหรัฐ ทำให้เกิดความกังวลว่าอัตราดอกเบี้ยอาจยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปเป็นระยะเวลานานขึ้น  สิ่งนี้ได้บั่นทอนแรงซื้อของนักลงทุนในตลาดหุ้น โดยเฉพาะหุ้นที่มีการเติบโต ซึ่งมีความอ่อนไหวต่อความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย  ประการที่สอง ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและอิหร่านได้เพิ่มความไม่แน่นอนอีกชั้นหนึ่งให้กับตลาด  ปัจจัยลบในภาคเทคโนโลยี  การขายออกที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะภาคเทคโนโลยี ที่ได้รับแรงกดดันมาจากรายงานผลประกอบการที่น่าผิดหวังจากผู้ผลิตชิปรายใหญ่ เช่น ASML และ TSM  รายงานเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงฤดูกาลประกาศรายได้ที่กำลังจะมาถึงสำหรับบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง Apple และ Amazon นักลงทุนต่างคาดหวังถึงผลลัพธ์ที่แข็งแกร่งแต่ยังคงกังวลเกี่ยวกับความสามารถของบริษัทเหล่านี้ในการตอบสนองความคาดหวังสำหรับโครงการด้านปัญญาประดิษฐ์ของพวกเขา  ภาพรวมผลประกอบการรายสัปดาห์  ตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนี S&P 500 ลดลง -3.1% ดัชนี Nasdaq Composite ที่เน้นด้านเทคโนโลยีลดลง -5.5% และดัชนีบลูชิป Dow ปรับตัวขึ้นเล็กน้อยที่ +0.01%  และนี่คือราคาปิดตลาดของแต่ละดัชนีในวันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2567 Index  Last  Change  %Change  DOW […]

2024-4-22 | บทความวิเคราะห์ตลาด

ตลาดหุ้นปิดบวกท่ามกลางการมองในแง่ดีด้านเศรษฐกิจ

ตลาดหุ้นได้ปิดทำการในสัปดาห์นี้ด้วยสัญญาณเชิงบวกหลังจากรายงานการจ้างงานที่แข็งแกร่ง ซึ่งบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งที่ยั่งยืนในเศรษฐกิจสหรัฐฯ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยอาจเพิ่มขึ้นก็ตาม  S&P 500 เติบโตมากกว่า 1% Wall Street ยังคงมองโลกในแง่ดี โดยแนะนำว่า Federal Reserve อาจไม่จำเป็นต้องปรับนโยบายแบบเร่งด่วน สิ่งนี้นำไปสู่การปรับราคาในตลาดตราสารหนี้โดยที่อัตราผลตอบแทนของกระทรวงการคลังเพิ่มขึ้น การคาดการณ์การเติบโตของงานและอัตราดอกเบี้ย  ตัวเลขเงินเดือนสหรัฐเพิ่มขึ้น 303,000 ในเดือนมีนาคม โดยอัตราการว่างงานลดลงเหลือ 3.8% และค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น ในช่วงนี้นักลงทุนยังเห็นอัตราผลตอบแทนของกระทรวงการคลังอายุ 10 ปีเพิ่มขึ้นเป็น 4.40% ในขณะที่ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ทำให้ราคาน้ำมันเบรนท์อยู่เหนือระดับ 90 ดอลลาร์   แม้ว่าผลการดำเนินงานของตลาดงานจะแข็งแกร่ง แต่ Mohamed El-Erian หัวหน้าที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของ Allianz คาดการณ์ว่า Federal Reserve อาจประกาศลดอัตราดอกเบี้ยสองครั้งในปีนี้  สัญญา Swap ซึ่งเป็นมาตรวัดสำหรับคาดการณ์การเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับความน่าจะเป็นของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนเป็นประมาณ 52% โดยความน่าจะเป็นในเดือนกรกฎาคมจะลดลงต่ำกว่า 100%  ภาพรวมผลการดำเนินงานของตลาด  ตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนี S&P 500 ร่วงลง -1.0% ดัชนี Nasdaq […]

2024-4-9 | บทความวิเคราะห์ตลาด

แนวโน้มวอลล์สตรีทเป็นบวก ท่ามกลางจุดยืนเฟด และข้อมูลเงินเฟ้อ

การเคลื่อนไหวล่าสุดในวอลล์สตรีทได้ส่งสัญญาณเชิงบวกเล็กน้อยให้กับนักลงทุนและนักวิเคราะห์ ท่ามกลางเศรษฐกิจที่มีความผันผวนอยู่อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีแนวโน้มการลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง แต่เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ ภายใต้การนำของประธานเจอโรม พาวเวลล์ ยังคงยืนหยัด ในการเน้นย้ำถึงความสำคัญของการอดทนรอ  จุดยืนของเฟดท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อ  จุดยืนของพาวเวลล์เกิดขึ้นหลังจากที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนกุมภาพันธ์ลดลงอย่างน่าทึ่งที่ 0.3% ซึ่งเป็นมาตรวัดที่ธนาคารกลางได้ตั้งไว้สำหรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อประกอบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ความลังเลของพาวเวลล์ที่จะลดอัตราดอกเบี้ยก่อนเวลาอันควรอาจจะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้  ตัวชี้วัดเหล่านี้ทำให้นักวิเคราะห์ยังอยู่ในโซนแห่งความสบายใจอยู่ พวกเขามองว่านี่เป็นหลักฐานที่แสดงถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเห็นได้จากการใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งเกินความคาดหมาย และการเติบโตของค่าจ้าง  ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นของตลาด  แม้จะเกิดความกังวลเกี่ยวกับฟองสบู่เทคโนโลยีที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นกลุ่มปัญญาประดิษฐ์ แต่นักลงทุนยังดันตลาดหุ้นให้สูงขึ้นไปต่อ  ดัชนี S&P 500 ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์และเพิ่มขึ้นกว่า 10% ในรายไตรมาส แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจและผู้บริโภค  แนวโน้มนี้สะท้อนให้เห็นในผลประกอบการของดัชนีหลักๆ ในช่วงเทศกาลวันหยุด โดยดัชนี S&P 500 ขยับขึ้น 0.4% และดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ไต่ขึ้น 0.8% ขณะเดียวกัน ดัชนี Nasdaq Composite ร่วงลง 0.3%  การเคลื่อนไหวของตลาดและผลการดำเนินงานรายไตรมาส  เมื่อไตรมาสแรกสิ้นสุดลง ตลาดหุ้น Wall Street ได้เฉลิมฉลองผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่ปี 2019 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มเชิงบวกเล็กน้อย […]

2024-4-2 | บทความวิเคราะห์ตลาด