Search Mark
หน้าแรก / บทความวิเคราะห์ตลาด

การอ่านจังหวะตลาดที่มองแต่แง่ดีเกินไป


 

หุ้นสหรัฐฯ ปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม 2022 ราคาต่ำกว่าเดิม โดยราคาเทรดมีความผันผวนเป็นพิเศษ เนื่องจากออปชันมูลค่า 2.6 ล้านดอลลาร์กำลังจะหมดอายุซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัน Triple Witching Day (วันที่สัญญาทั้ง 3 คือ สัญญา Futures ดัชนีหุ้น – สัญญา Options ของดัชนีหุ้นสหรัฐฯ และสัญญา Options หุ้นรายตัวของสหรัฐฯ จะหมดอายุพร้อมภายในวันเดียว)

จุดอ่อนนี้มีสาเหตุหลักมาจาก BOE, ECB และ Fed ต่างขึ้นอัตราดอกเบี้ยไป 50 bps ตามมาด้วยถ้อยแถลงนโยบายในทาง Hawkish ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจ 

ถ้าเทียบกับก่อนหน้านี้ คำแถลงการณ์ของ Jerome Powell ไม่ได้ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเท่าใดนัก แต่ตลาดกลับต่ำลงอย่างน่าใจหายหลังจากคำสัมภาษณ์ของประธาน ECB คนปัจจุบัน Christine Lagarde ซึ่งให้สัมภาษณ์ในแนวว่า “นี่ยังไม่ใช่จุดเปลี่ยน” และ “ยังต้องขึ้นดอกเบี้ยอีก 50bps ในอนาคต” ซึ่ง Christine ทำให้นักลงทุนเข้าใจสภาพความเป็นจริงว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะมองตลาดโลกในแง่ดีได้ 
  

สอดคล้องกับที่ Jerome Powell กล่าวในถ้อยแถลงก่อนหน้านี้ว่า ขณะนี้ตลาดอาจเปลี่ยนไปเชื่อว่าจะยังไม่เกิดจุดที่ราคาจะพลิกตัวกลับในปี 2023 และเป็นไปได้ที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยกำลังใกล้เข้ามา 

 
พันธบัตรสหรัฐฯ ยังคงผันผวน โดยพันธบัตรระยะสั้นราคาพุ่งขึ้นในวันศุกร์ ส่วนผลตอบแทนของพันธบัตรอายุสองปีที่อ่อนไหวต่อนโยบาย ทำผลงานปิดท้ายสัปดาห์ที่ต่ำกว่าเดิมเกือบ 19 bps จากจุดเริ่มต้น ส่วนดอลลาร์มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในสัปดาห์นี้ 

สำหรับสัปดาห์นี้ ดัชนี S&P ลดลง 2.1% นับเป็นขาลง 3 สัปดาห์ต่อเนื่องจากทั้ว 5 สัปดาห์ ดาวโจนส์ร่วง 1.7% และ Nasdaq ดิ่งลง 2.7% 

และนี่คือราคาปิดตลาดของแต่ละดัชนี 

 ราคาปิดตลาดราคาที่เปลี่ยนแปลง %ที่เปลี่ยน
Dow Jones 32,920.46.   -281.76. -0.85% 
S&P 500 3,852.36 -43.39 -1.11% 
Nasdaq Comp 10,705.41. -105.12 -0.97% 
US 10Y 3.48%   
VIX 22.62 -0.21 -0.92% 

ในช่วงสัปดาห์ที่แล้ว มีการประกาศว่า Goldman Sachs จะลดพนักงานมากถึง 4,000 ตำแหน่ง หลังจากที่ Morgan Stanley ได้ประกาศก่อนหน้านี้ว่าจะลดพนักงาน 2,000 ตำแหน่ง แพลตฟอร์ม Meta ยังคงประกาศปลดพนักงานจำนวนมาก ซึ่งน่าแปลกที่หุ้น Meta พุ่งขึ้นจากข่าวนี้ ในขณะที่ราคาหุ้นของ Goldman ร่วงลงอย่างหนัก 

สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าตลาดมีปฏิกิริยาต่อข่าวร้ายแต่ละที่แตกต่างกันออกไปโดยที่เราไม่สามารถคาดเดาได้ 
 
และนี่ยังนำมาซึ่งประเด็นว่าตลาดคิดอย่างไรต่อธนาคารกลางสหรัฐฯ โดยเฉพาะคำเตือนของเฟดที่จะปรับดอกเบี้ยสูงขึ้นเป็นเวลานาน 

เราได้เห็นดัชนีพุ่งขึ้นในบางครั้งโดยที่อาจไม่ได้เกี่ยวกับเฟด ประเด็นก็คือ เวลาที่จะมีประกาศว่าจะปรับดอกเบี้ยขึ้นเล็กน้อย เช่น 50bps แทนที่จะเป็น 75bps อย่างที่คาดล่วงหน้า นักลงทุนก็มักจะคิดกันไปเองว่าจุดกลับตัวกำลังจะมาและทำให้ราคาพุ่งขึ้นเล็กน้อย 

การเลือกอ่านแต่ข่าวที่ตรงกับความคาดหวังของเรา การมองสัญญาณราคาในแง่ดีมากเกินไป อาจจะน้อยลงไปบ้างหลังจากแถลงการณ์ของสัปดาห์นี้ออกมา นี่เป็นเพราะ Christine Lagarde  ได้แถลงว่า ยังมีสิ่งที่ต้องทำอีกมากในการต่อสู้กับเงินเฟ้อ ยังไม่ได้ถึงจุดที่ราคาจะกลับตัวแต่อย่างใด การแถลงการณ์ของเธอนับว่ามีพลังมากกว่าของ Powell มาก 

หากพูดกันตามตรงแล้ว ถ้อยแถลงของ Powell ก็คล้ายๆกัน แต่คำกล่าวของ Lagarde น่าเชื่อถือกว่า ซึ่งในที่สุดตลาดก็รับสารได้ตรงกับความเป็นจริง อย่างน้อยก็สะท้อนให้เห็นในการเคลื่อนไหวของราคาในสัปดาห์ที่แล้ว 
 
คงไม่น่าแปลกใจที่จะเห็นนักลงทุนเข้าซื้อในช่วงขาลง เนื่องจากยังคงมีนักลงทุนที่เชื่อว่าเศรษฐกิจมีความแข็งแกร่งเพียงพอ (Soft landing) ที่จะทนต่ออัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น หรือเชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Hard landing) อาจบังคับให้ราคามีจุดกลับตัวหรือถ้าไม่อย่างนั้นตลาดอาจมีการเทขายมากเกินไป 

ทั้งนี้ เราควรเชื่อนักลงทุนเหล่านี้โดยใช้วิจารณญาณ ซึ่งจากราคาที่เคลื่อนไหวและความคิดเห็นของธนาคารกลางเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ดูเหมือนว่าคริสต์มาสนี้จะมีจุด New low มากกว่าที่ราคาดัชนีจะพุ่งขึ้น 

 
และในโอกาสใกล้วันคริสต์มาสนี้ ผมขออนุญาตยกเว้นบทวิเคราะห์ในสัปดาห์หน้้า เพื่อให้ทุกคนได้ใช้เวลากับครอบครัวและเพื่อนๆ เพื่อเฉลิมฉลองร่วมกัน 

ขอให้ทุกท่านสุขสันต์วันคริสต์มาสครับ 

อ้างอิง: CBOE, Bloomberg,  

บทความนี้เขียนโดย James Gomes   

เจมส์อยู่ในวงการการเงินมากว่า 30 ปี และล่าสุดเขาทำงานให้กับธนาคารขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ มานานกว่า 20 ปีแล้ว      

 

| เกี่ยวกับ Doo Prime   
   

เครื่องมือการซื้อขายของเรา    

หลักทรัพย์ | ฟิวเจอร์ส| ฟอเร็กซ์ | โลหะมีค่า | สินค้าโภคภัณฑ์ | ดัชนีหุ้น   

Doo Prime เป็นโบรกเกอร์ออนไลน์ระดับนานาชาติภายใต้บริษัท Doo Group ที่ให้นักลงทุนมืออาชีพได้ซื้อขายหลักทรัพย์ ฟิวเจอร์ส ฟอเร็กซ์ โลหะมีค่า สินค้าโภคภัณฑ์ และดัชนีหุ้น ปัจจุบัน Doo Prime มอบประสบการณ์การซื้อขายที่ดีที่สุดให้ลูกค้ามากกว่า 90,000 คน โดยมีอัตราการซื้อขายเฉลี่ย 51,223 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน    

Doo Prime มีใบอนุญาตจากเซเชลส์ เมอริเชียส วานูอาตู โดยมีสำนักงานในดัลลัส ซิดนีย์ สิงคโปร์ ฮ่องกง กัวลาลัมเปอร์ และอีกหลายสำนักงานทั่วโลก    

ด้วยเทคโนโลยีการเงินที่สมบูรณ์แบบ พันธมิตรที่แข็งแกร่ง และทีมที่มีประสบการณ์ Doo Prime ให้ประสบการณ์การซื้อขายที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ ให้ราคาการซื้อขายที่ดี รวมไปถึงวิธีการฝาก-ถอนที่รับรอง 10 สกุลเงิน อีกทั้ง Doo Prime ยังให้การบริการลูกค้าในหลากหลายภาษาตลอด 24 ชั่วโมง และยังสามารถทำการซื้อขายได้อย่างรวดเร็วผ่านแพลตฟอร์ม MT4, MT5, TradingView, และ InTrade ที่มีผลิตภัณฑ์มากกว่า 10,000 รายการ    

วิสัยทัศน์และภารกิจของ Doo Prime คือการเป็นองค์กรเทคโนโลยีการเงินในฐานะโบรกเกอร์ด้านการลงทุนผลิตภัณฑ์ทางการเงินระดับโลก   

   
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Doo Prime โปรดติดต่อ    

โทรศัพท์    

ยุโรป : +44 11 3733 5199   
เอเชีย : +852 3704 4241   
เอเชีย – สิงคโปร์: +65 6011 1415   
เอเชีย – จีน : +86 400 8427 539     

   
ีเมล   
ฝ่ายบริการด้านเทคนิค [email protected]   
ฝ่ายขาย [email protected]   
   

การเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง   

การซื้อขายเครื่องมือทางการเงินมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากความผันผวนของมูลค่าและราคาของเครื่องมือทางการเงิน เนื่องจากความเคลื่อนไหวทางการตลาดที่ไม่พึงประสงค์และคาดการณ์ไม่ได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่นักลงทุนในระยะเวลาที่รวดเร็วได้ ผลการลงทุนในอดีตไม่สามารถชี้วัดความสำเร็จหรือผลกำไรในการลงทุนได้ การลงทุนด้านนี้เกี่ยวข้องกับมาร์จินและเลเวอเรจ ซึ่งการลงทุนจำนวนเล็กน้อยอาจส่งผลประทบมากได้ ดังนั้น นักลงทุนควรเตรียมรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการซื้อขาย    

โปรดอ่านและทำความเข้าใจความเสี่ยงของการซื้อขายเครื่องมือทางการเงินอย่างถี่ถ้วนก่อนที่จะทำธุรกรรมกับ Doo Prime หากมีข้อสงสัยในการลงทุน ควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ข้อมูลข้อตกลงการทำธุรกรรมและการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง   

   
ข้อความปฏิเสธการรับผิดชอบตามกฎหมาย   

ข้อมูลนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปแก่สาธารณะเท่านั้น ข้อมูลไม่ควรถูกตีความเป็นคำปรึกษาทางด้านการลงทุน คำแนะนำ ข้อเสนอ หรือคำเชิญชวนเพื่อซื้อหรือขายเครื่องมือทางการเงินใด ๆ ข้อมูลที่นำเสนอในบทความนี้จัดทำขึ้นโดยโดยไม่มีการอ้างอิงหรือพิจารณาถึงจุดประสงค์การลงทุนหรือสถานะทางการเงินของผู้ใดผู้หนึ่งแต่อย่างใด การอ้างอิงถึงประสิทธิภาพของเครื่องมือทางการเงินในอดีต เครื่องมือทางการดัชนี หรือผลิตภัณฑ์การลงทุนไม่ใช่ตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้สำหรับผลลัพธ์ในอนาคต Doo Prime ไม่รับรองและรับประกันข้อมูล และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียหรือความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อมอันเป็นผลมาจากความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ของข้อมูล Doo Prime ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายที่เป็นผลมาจากความเสี่ยงการซื้อขาย กำไร หรือขาดทุนทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนส่วนบุคคล 

แชร์ไปที่

บทความวิเคราะห์ตลาด

S&P 500 ร่วง ท่ามกลางการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และภาคเทคอยู่ในสถานการณ์ลำบาก

ตลาดหุ้นต้องเผชิญกับสัปดาห์ที่โหดร้าย โดย S&P 500 ประสบพบกับผลการดำเนินงานที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2023 การลงครั้งนี้ได้รับแรงหนุนมาจากความวิตกกังวลในตลาด  ผลกระทบทางเศรษฐกิจและธนาคารกลางสหรัฐ  ประการแรก ข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีเกินความคาดหมาย บวกกับแถลงการณ์ที่ไม่ค่อยดีนักจากธนาคารกลางสหรัฐ ทำให้เกิดความกังวลว่าอัตราดอกเบี้ยอาจยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปเป็นระยะเวลานานขึ้น  สิ่งนี้ได้บั่นทอนแรงซื้อของนักลงทุนในตลาดหุ้น โดยเฉพาะหุ้นที่มีการเติบโต ซึ่งมีความอ่อนไหวต่อความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย  ประการที่สอง ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและอิหร่านได้เพิ่มความไม่แน่นอนอีกชั้นหนึ่งให้กับตลาด  ปัจจัยลบในภาคเทคโนโลยี  การขายออกที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะภาคเทคโนโลยี ที่ได้รับแรงกดดันมาจากรายงานผลประกอบการที่น่าผิดหวังจากผู้ผลิตชิปรายใหญ่ เช่น ASML และ TSM  รายงานเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงฤดูกาลประกาศรายได้ที่กำลังจะมาถึงสำหรับบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง Apple และ Amazon นักลงทุนต่างคาดหวังถึงผลลัพธ์ที่แข็งแกร่งแต่ยังคงกังวลเกี่ยวกับความสามารถของบริษัทเหล่านี้ในการตอบสนองความคาดหวังสำหรับโครงการด้านปัญญาประดิษฐ์ของพวกเขา  ภาพรวมผลประกอบการรายสัปดาห์  ตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนี S&P 500 ลดลง -3.1% ดัชนี Nasdaq Composite ที่เน้นด้านเทคโนโลยีลดลง -5.5% และดัชนีบลูชิป Dow ปรับตัวขึ้นเล็กน้อยที่ +0.01%  และนี่คือราคาปิดตลาดของแต่ละดัชนีในวันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2567 Index  Last  Change  %Change  DOW […]

2024-4-22 | บทความวิเคราะห์ตลาด

ตลาดหุ้นปิดบวกท่ามกลางการมองในแง่ดีด้านเศรษฐกิจ

ตลาดหุ้นได้ปิดทำการในสัปดาห์นี้ด้วยสัญญาณเชิงบวกหลังจากรายงานการจ้างงานที่แข็งแกร่ง ซึ่งบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งที่ยั่งยืนในเศรษฐกิจสหรัฐฯ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยอาจเพิ่มขึ้นก็ตาม  S&P 500 เติบโตมากกว่า 1% Wall Street ยังคงมองโลกในแง่ดี โดยแนะนำว่า Federal Reserve อาจไม่จำเป็นต้องปรับนโยบายแบบเร่งด่วน สิ่งนี้นำไปสู่การปรับราคาในตลาดตราสารหนี้โดยที่อัตราผลตอบแทนของกระทรวงการคลังเพิ่มขึ้น การคาดการณ์การเติบโตของงานและอัตราดอกเบี้ย  ตัวเลขเงินเดือนสหรัฐเพิ่มขึ้น 303,000 ในเดือนมีนาคม โดยอัตราการว่างงานลดลงเหลือ 3.8% และค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น ในช่วงนี้นักลงทุนยังเห็นอัตราผลตอบแทนของกระทรวงการคลังอายุ 10 ปีเพิ่มขึ้นเป็น 4.40% ในขณะที่ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ทำให้ราคาน้ำมันเบรนท์อยู่เหนือระดับ 90 ดอลลาร์   แม้ว่าผลการดำเนินงานของตลาดงานจะแข็งแกร่ง แต่ Mohamed El-Erian หัวหน้าที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของ Allianz คาดการณ์ว่า Federal Reserve อาจประกาศลดอัตราดอกเบี้ยสองครั้งในปีนี้  สัญญา Swap ซึ่งเป็นมาตรวัดสำหรับคาดการณ์การเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับความน่าจะเป็นของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนเป็นประมาณ 52% โดยความน่าจะเป็นในเดือนกรกฎาคมจะลดลงต่ำกว่า 100%  ภาพรวมผลการดำเนินงานของตลาด  ตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนี S&P 500 ร่วงลง -1.0% ดัชนี Nasdaq […]

2024-4-9 | บทความวิเคราะห์ตลาด

แนวโน้มวอลล์สตรีทเป็นบวก ท่ามกลางจุดยืนเฟด และข้อมูลเงินเฟ้อ

การเคลื่อนไหวล่าสุดในวอลล์สตรีทได้ส่งสัญญาณเชิงบวกเล็กน้อยให้กับนักลงทุนและนักวิเคราะห์ ท่ามกลางเศรษฐกิจที่มีความผันผวนอยู่อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีแนวโน้มการลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง แต่เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ ภายใต้การนำของประธานเจอโรม พาวเวลล์ ยังคงยืนหยัด ในการเน้นย้ำถึงความสำคัญของการอดทนรอ  จุดยืนของเฟดท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อ  จุดยืนของพาวเวลล์เกิดขึ้นหลังจากที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนกุมภาพันธ์ลดลงอย่างน่าทึ่งที่ 0.3% ซึ่งเป็นมาตรวัดที่ธนาคารกลางได้ตั้งไว้สำหรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อประกอบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ความลังเลของพาวเวลล์ที่จะลดอัตราดอกเบี้ยก่อนเวลาอันควรอาจจะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้  ตัวชี้วัดเหล่านี้ทำให้นักวิเคราะห์ยังอยู่ในโซนแห่งความสบายใจอยู่ พวกเขามองว่านี่เป็นหลักฐานที่แสดงถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเห็นได้จากการใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งเกินความคาดหมาย และการเติบโตของค่าจ้าง  ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นของตลาด  แม้จะเกิดความกังวลเกี่ยวกับฟองสบู่เทคโนโลยีที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นกลุ่มปัญญาประดิษฐ์ แต่นักลงทุนยังดันตลาดหุ้นให้สูงขึ้นไปต่อ  ดัชนี S&P 500 ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์และเพิ่มขึ้นกว่า 10% ในรายไตรมาส แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจและผู้บริโภค  แนวโน้มนี้สะท้อนให้เห็นในผลประกอบการของดัชนีหลักๆ ในช่วงเทศกาลวันหยุด โดยดัชนี S&P 500 ขยับขึ้น 0.4% และดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ไต่ขึ้น 0.8% ขณะเดียวกัน ดัชนี Nasdaq Composite ร่วงลง 0.3%  การเคลื่อนไหวของตลาดและผลการดำเนินงานรายไตรมาส  เมื่อไตรมาสแรกสิ้นสุดลง ตลาดหุ้น Wall Street ได้เฉลิมฉลองผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่ปี 2019 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มเชิงบวกเล็กน้อย […]

2024-4-2 | บทความวิเคราะห์ตลาด