Search Mark
หน้าแรก / บทความวิเคราะห์ตลาด

ภาพรวมตลาดปี 2022 : เหตุการณ์เศรษฐกิจโลก (I)


ตลอดปี 2022 เศรษฐกิจโลกต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในรอบศตวรรษ เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดความผันผวนอย่างมากในสภาพตลาดปีนี้ บางกลยุทธ์และตรรกะการลงทุนแบบเดิมอาจใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป นี่จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องมาทบทวนกลยุทธ์การลงทุนกันใหม่ 

ถึงอย่างนั้น ทุกเหตุการณ์ก็อาจเกิดเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยก็เป็นได้ 

จากการทบทวน วิเคราะห์ และทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงในเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ทางเศรษฐกิจ นักลงทุนจะสามารถถอดบทเรียนจากอดีตและเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ในอนาคตได้ 

ด้วยเหตุนี้ เราลองมาร่วมย้อนกลับไปดูเหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจที่เป็นมาตลอดทั้งปี 2022 กัน (เหตุการณ์ไม่เรียงลำดับก่อน-หลัง) 

1. พิธีการให้สัตยาบันของ RCEP 

ในปี 2012 กลุ่มสิบชาติสมาชิกอาเซียนได้เปิดตัวการเจรจาข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และได้มีการจัดประชุมไปล่าสุดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2022 ความตกลง RCEP ได้รับการลงนามอย่างเป็นทางการโดย 10 ประเทศในอาเซียนและ 15 ประเทศในเอเชียแปซิฟิก รวมถึงจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2022 
 

การบังคับใช้ข้อตกลง RCEP ช่วยสร้างโอกาสใหม่ในการเสริมสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาค และความเข้มแข็งในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออก เราเชื่อว่าเนื้อหาหลักของ RCEP จะสะท้อนให้เห็นใน 3 ประเด็นหลักดังต่อไปนี้ 

  • กำแพงภาษีจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ: 

จากความร่วมมือ RCEP นี้จะช่วยลดภาษีศุลกากรและข้อจำกัดในการซื้อขายสินค้าหลากหลายประเภท การนำเข้า-ส่งออกในสินค้ามากกว่า 90% จะไม่ต้องเสียภาษีเลย เมื่อภาษีการนำเข้า-ส่งออกลดลงแล้ว จะช่วยให้การค้าภายในภูมิภาคได้รับแรงผลักดันที่เป็นบวกใากขึ้น และยังช่วยให้ประเทศต่างๆ บรรลุการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจหลังช่วงการแพร่ระบาด COVID-19 อีกด้วย 

ด้วยการขจัดข้อจำกัดด้านภาษีออกไป ตลาดจะมีทางเลือกมากขึ้น ความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภคจะได้รับการตอบสนองอย่างไม่ต้องสงสัย ในฐานะคู่ค้าอันดับหนึ่งของอาเซียน ความสัมพันธ์ทางการค้าของจีนกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคก็จะยิ่งแน่นแฟ้นขึ้นด้วย 

  • ช่วยส่งเสริมการค้าและอุตสาหกรรมในภูมิภาค: 

บางประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียนปัจจุบันมีภาคอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างอ่อนแอ ขณะที่ประชากรของทั้งภูมิภาคอยู่กันอย่างหนาแน่นและมีจำนวนสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้จำเป็นต้องแก้ไขปัญหาการว่างงานและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรจำนวนมากอย่างเร่งด่วน 

ด้วยการรวมกลุ่มประเทศเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจระดับภูมิภาคในวงกว้าง กลุ่มประเทศ ASEAN จะสามารถพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของตนได้ดีขึ้นน และเพิ่มโอกาสการจ้างงานสำหรับประชากรในแต่ละประเทศได้มากขึ้น 

  • เขตการค้าเสรีจีน-ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้: 

จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ได้บรรลุความร่วมมือด้านการค้าเสรีภายใต้กรอบความร่วมมือกับกลุ่ม RCEP ในปัจจุบัน และคาดว่าในอนาคตจะมีการรวมตัวทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น ช่วยให้ประเทศต่างๆ ประเทศลดความขัดแย้งภายในระหว่างกันและช่วยสานสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

 

2. เหตุการณ์รัสเซียบุกยูเครน 

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2022 รัสเซียได้เริ่มโจมตียูเครน นั่นทำให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจในปัจจุบันโดยแบ่ง 3 ประเด็น ดังนี้: 

  • วิกฤตพลังงาน: 

จากความกังวลในตอนแรกว่ารัสเซียจะตัดการส่งพลังงานไปยังยุโรป ทำให้ราคาพลังงาน เช่น ก๊าซและน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ผลกระทบนี้ได้ส่งผลกระทบไปยังภาคส่วนอื่นๆ ของเศรษฐกิจ ทำให้ต้นทุนการขนส่ง ราคาอาหาร ฯลฯ สูงขึ้น และท้ายที่สุดทำให้เกิดอัตราเงินเฟ้อสูงในหลายประเทศทั่วโลก 
 

  • อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น: 

ยูเครนซึ่งเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของยุโรป มีสัดส่วนการส่งออกข้าวโพดและข้าวสาลีคิดเป็น 10% จากสัดส่วนของทั้งโลก เมื่อโดนโจมตีจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ส่งผลให้ยูเครนส่งออกสินค้าการเกษตรไปยังปรเทศอื่นได้ลดลง ราคาสินค้าการเกษตรจึงพุ่งสูงขึ้นพร้อมกับที่ราคาพลังงานก็เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อ์ในหลายประเทศในยุโรปจึงพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ 
 

  • เงินยูโรอ่อนค่า: 

ผลต่อเนื่องจากการปะทุของสงครามทำให้เกิดความไม่มั่นคงไปทั่วภูมิภาคยุโรป เงินทุนจำนวนมากถูกโยกย้ายออกจากยุโรปเพื่อป้องกันความเสี่ยง ค่าเงินยูโรอ่อนลงไปกว่า 10% เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีนี้ 

จนถึงตอนนี้ เหตุการณ์ความไม่สงบระหว่างรัสเซียและยูเครนยังไม่มีวี่แววว่าจะยุติลงได้ในระยะเวลาอันใกล้ และอาจจะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2023 อาจช้ากว่าที่คิด 

3. การระบาดของ Covid-19 ยังคงไม่สิ้นสุด 

การระบาดใหญ่ของไวรัส Covid-19 ต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 3 แล้ว และต้นปีที่ผ่านมา ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ก็ยังคงแพร่ระบาดในหลายประเทศทั่วโลก สัญญาณทั้งหมดดูเหมือนจะบ่งบอกว่าโลกยังคงไม่พ้นภาวะวิกฤตของการระบาดใหญ่โควิดดี 

แต่ในเดือนกันยายน ผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตรายใหม่ประจำสัปดาห์ลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2020 แล้ว นาย Tedros Adhanom Ghebreyesus ผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า โลกอยู่ในช่วงฟื้นตัวที่ดีที่สุดหลังการแพร่ระบาดโควิด-19  

ผลกระทบด้านลบของการแพร่ระบาดต่อเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่จะบรรเทาลงในปีหน้า เนื่องจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกเริ่มผ่อนปรนข้อจำกัด Social Distance มากขึ้นเรื่อยๆ 

4. การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงรุกของธนาคารกลางสหรัฐฯ 

ธนาคารกลางสหรัฐฯ ตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 Bps ในเดือนมีนาคม 2022 เพื่อควบคุมระดับเงินเฟ้อที่สูงในสหรัฐฯ และปรับขึ้นอีก 50 Bps ในเดือนพฤษภาคม และหลังจากนั้น FED ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ 75 Bps และคงอัตราดอกเบี้ยพื้นฐานเชิงรุก 75 Bps มาตลอด 

นับตั้งแต่ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรง หุ้นสหรัฐฯ ก็เข้าสู่ช่วงตลาดหมีไปพร้อมๆ กัน จนถึงปีนี้ ดัชนีหุ้นหลักทั้งสามของสหรัฐฯ ร่วงลงมาตลอด ซึ่งในขณะที่เขียนบทความนี้ Dow Jones, S&P 500 และ Nasdaq ต่างร่วงลงไป 9.36%, 20.19% และ 33.01% ตามลำดับในปีนี้ 

แม้ว่าหุ้นสหรัฐฯ จะยังคงดิ่งลง แต่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ก็ยังคงรักษาท่าทีที่แข็งกร้าวเพื่อชะลอเงินเฟ้อ และยังไม่ได้แสดงเจตจำนงที่ชัดเจนในการชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแต่อย่างใด 

ขณะที่ตลาดคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจชะลอการขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้าอย่างค่อยเป็นค่อยไป  

นั่นคือ หากตลาดหุ้นสหรัฐฯ ต้องการออกจากตลาดหมี นั่นคงต้องรอให้เฟดยกเลิกนโยบายเสียก่อน  

5. GDP ที่เติบโตอย่างรวดเร็วของเวียดนาม 

ในขณะที่เศรษฐกิจยุโรปและอเมริกากำลังเผชิญกับภาวะถดถอยในปี 2022 และการเติบโตของ GDP ของจีนชะลอตัวลง ในทางกลับกัน เวียดนามกลับมีการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้น 

อัตราการเติบโตของ GDP เวียดนามสูงถึง 13.7% ในไตรมาสที่สามของปีนี้ และคาดว่าค่าเฉลี่ยจีดีพีของทั้งปีจะสูงถึง 8% ทำให้ปีนี้เวียดนามกลายเป็นประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตเร็วที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเวียดนามเป็นประเทศที่ดึงดูดความสนใจของนักลงทุนมาระยะหนึ่งแล้ว 

GDP ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของเวียดนามในไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ มาจากปัจจัยหลักสองประการ 

  • โครงสร้างสาธารณูปโภคที่เพียบพร้อม: 

รัฐบาลเวียดนามได้จูงใจกลุ่มนายทุนวิสาหกิจต่างชาติมาอย่างต่อเนื่องด้วยนโยบายการลดภาษีที่เอื้อประโยชน์ เพื่อกระตุ้นการค้า การส่งออก และการลงทุน ให้เข้ามาสร้างโรงงาน สิ่งนี้ทำให้เวียดนามกลายเป็นที่น่าสนใจในสายตาของนักลงทุนต่างชาติ 
 

นอกจากนี้ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลเวียดนามคิดเป็น 6% ของ GDP ในทางตรงกันข้าม ประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่ลงทุนเพียง 2.3% ซึ่งต่ำกว่าเวียดนามมาก ดังนั้นเวียดนามจึงถือว่าเนื้อหอมต่อบริษัทต่างชาติมาก 

  • กลุ่มประชากรอยู่ในวัยแรงงาน: 

ในช่วงเริ่มต้นของการระบาดของโควิด-19 ในปี 2020 เวียดนามสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ค่อนข้างดี ทำให้มีสภาพแวดล้อมที่จัดว่าปลอดภัยและมั่นคงสำหรับการลงทุนจากต่างประเทศ  

นอกจากนี้ ด้วยความขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ รวมถึงต้นทุนค่าแรงงานของจีนที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตระดับล่างย้ายฐานการผลิตจากจีนไปยังเวียดนามมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งที่นั่นจะมีต้นทุนถูกกว่า 

ด้วยจำนวนประชากรมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศมีอายุต่ำกว่า 35 ปี ทำให้กลุ่มประชากรของเวียดนามส่วนใหญ่จัดว่าเป็นวัยแรงงาน ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยที่ดีในการรองรับกำลังการผลิตระดับล่างที่ย้ายออกจากจีน 

สิ่งนี้เป็นการกระตุ้นกำลังการผลิตของเวียดนามและยังเป็นการท้าทายฐานอำนาจต่อรองด้านการผลิตเมื่อเปรียบเทียบกับจีนได้อีกด้วย 

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาแล้วเวียดนามเองมีขนาดค่อนข้างเล็ก เวียดนามจึงยังไม่สามารถทดแทนกำลังการผลิตของจีนได้ทั้งหมด 

ในขณะเดียวกัน จีนเองตั้งใจที่จะยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตและเลิกพึ่งพาแต่การสร้างินค่าราคาถูกเท่านั้น 

ท้ายที่สุดแล้ว การพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างทั้งสองประเทศอยู่ในขั้นตอนที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ดังนั้นจึงเป็นไปได้มากกว่าที่จีนกับเวียดนามจะสร้างความสัมพันธ์แบบร่วมมือกันโดยอุดช่องว่างฐานการผลิตซึ่งกันและกัน มากกว่าจะเผชิญหน้าและเป็นคู่แข่งกัน 

6. การลอบสังหาร Shinzo Abe และค่าเงินเยนที่อ่อนตัว 

การลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น Shinzo Abe เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2022 ระหว่างการปราศรัยบนท้องถนน ไม่ได้เป็นเพียงเหตุร้ายต่อประเทศญี่ปุ่นอย่างเดียวเท่านั้น เนื่องจากในปีนี้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างจริงจังเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนของเงินเยนต่อดอลลาร์จึงลดลงมาตลอด จนถึงขนาดที่ว่า กองทุนเฮดจ์ฟันด์ทั่วโลกจำนวนหนึ่งถือว่าการชอร์ตเงินเยนเป็นกลยุทธ์การซื้อขายที่ดีที่สุดสำหรับปีนี้ด้วยซ้ำ 
 

การลดลงของเงินเยนทำให้ญี่ปุ่นเผชิญกับความท้าทายหลายประการดังนี้: 

  • ราคาพลังงานนำเข้าสูงขึ้นอย่างฉับพลัน: 

ในฐานะที่เป็นประเทศหมู่เกาะที่ขาดแคลนทรัพยากร ญี่ปุ่นพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมันดิบที่เป็นทรัพยากรทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม ในปีนี้เอง ราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน และโดยปกติแล้วราคาน้ำมันดิบจะซื้อขายเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ  

ด้วยเหตุนี้ การลดลงของอัตราแลกเปลี่ยนของญี่ปุ่นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ต้นทุนการใช้จ่ายน้ำมันของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างมากส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อภายในประเทศ 
 

  • การลดลงของอุปสงค์ภายในประเทศ: 

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ญี่ปุ่นอยู่ในสถานะที่ตลาดมีอุปสงค์น้อย และอัตราเงินเฟ้อที่ผลักดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในประเทศ ผู้บริโภคก็ยิ่งลดความต้องการใช้จ่ายลงไปอีก ทำให้อุปสงค์ของผู้บริโภคลดต่ำลงขั้นสุด 
 

  • ค่าเงินเยนในสถานะระหว่างสกุลเงินของชาติถูกลดเครดิตลง: 

ในฐานะประเทศการค้าที่สำคัญ ญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกับประเทศอื่นๆ ในโลก ดังนั้นพอเกิดความผันผวนอย่างรุนแรงของอัตราแลกเปลี่ยน เงินเยนจึงไม่เอื้ออำนวยต่อการค้าปกติระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศอื่นๆ 

สิ่งนี้ทำให้ปริมาณการซื้อขายของเงินเยนลดลง และประเทศต่างๆ ก็ลดการสำรองเงินเยน และทำให้สถานะระหว่างประเทศของเงินเยนลดลงตามไปด้วย 

ปัญหาปัจจุบันของญี่ปุ่นคือความไม่แน่ชัดของธนาคารแห่งชาติที่ว่า ญี่ปุ่นควรเดินตามจังหวะของยุโรปและสหรัฐอเมริกาในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องหรือไม่ เพื่อเพิ่มอัตราแลกเปลี่ยนของเงินเยนและควบคุมการอ่อนค่าของสกุลเงิน 

แต่ถ้าหากมีการขึ้นดอกเบี้ย สิ่งนั้นก็จะขัดขวางการเติบโตของจีดีพีอย่างไม่ต้องสงสัย นอกจากนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นยังมีหนี้ก้อนโต และอัตราส่วนหนี้สินต่อ GDP ก็ยังคงอยู่ที่มากกว่า 200% ตลอดทั้งปี 

พอมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็จะก่อให้เกิดวิกฤตการคลังของรัฐบาลต่ออย่างไม่ต้องสงสัย 

ดังนั้น มุมมองของตลาดส่วนใหญ่ยังคงเชื่อว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตอันใกล้นี้ 

ในช่วงนี้ที่สถานการณ์โลกกำลังรุมเร้า เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจเปรียบเสมือนกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว ความเชื่อมั่นของตลาดยังคงผันผวนในวัฏจักรเศรษฐกิจครั้งใหม่นี้ 

ทั้งนี้ บทวิเคราะห์ของเรายังไม่จบ โปรดติดตาม “ภาพรวมตลาดปี 2022 : เหตุการณ์เศรษฐกิจโลก พาร์ทที่ (II) ” ที่กำลังจะมาถึงต่อไปในเร็วๆ นี้ 

| เกี่ยวกับ Doo Prime 
 

เครื่องมือการซื้อขายของเรา  

หลักทรัพย์ | ฟิวเจอร์ส| ฟอเร็กซ์ | โลหะมีค่า | สินค้าโภคภัณฑ์ | ดัชนีหุ้น 

Doo Prime เป็นโบรกเกอร์ออนไลน์ระดับนานาชาติภายใต้บริษัท Doo Group ที่ให้นักลงทุนมืออาชีพได้ซื้อขายหลักทรัพย์ ฟิวเจอร์ส ฟอเร็กซ์ โลหะมีค่า สินค้าโภคภัณฑ์ และดัชนีหุ้น ปัจจุบัน Doo Prime มอบประสบการณ์การซื้อขายที่ดีที่สุดให้ลูกค้ามากกว่า 90,000 คน โดยมีอัตราการซื้อขายเฉลี่ย 51,223 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน  

Doo Prime มีใบอนุญาตจากเซเชลส์ เมอริเชียส วานูอาตู โดยมีสำนักงานในดัลลัส ซิดนีย์ สิงคโปร์ ฮ่องกง กัวลาลัมเปอร์ และอีกหลายสำนักงานทั่วโลก  

ด้วยเทคโนโลยีการเงินที่สมบูรณ์แบบ พันธมิตรที่แข็งแกร่ง และทีมที่มีประสบการณ์ Doo Prime ให้ประสบการณ์การซื้อขายที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ ให้ราคาการซื้อขายที่ดี รวมไปถึงวิธีการฝาก-ถอนที่รับรอง 10 สกุลเงิน อีกทั้ง Doo Prime ยังให้การบริการลูกค้าในหลากหลายภาษาตลอด 24 ชั่วโมง และยังสามารถทำการซื้อขายได้อย่างรวดเร็วผ่านแพลตฟอร์ม MT4, MT5, TradingView, และ InTrade ที่มีผลิตภัณฑ์มากกว่า 10,000 รายการ  

วิสัยทัศน์และภารกิจของ Doo Prime คือการเป็นองค์กรเทคโนโลยีการเงินในฐานะโบรกเกอร์ด้านการลงทุนผลิตภัณฑ์ทางการเงินระดับโลก 

 
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Doo Prime โปรดติดต่อ  

โทรศัพท์  

ยุโรป : +44 11 3733 5199 
เอเชีย : +852 3704 4241 
เอเชีย – สิงคโปร์: +65 6011 1415 
เอเชีย – จีน : +86 400 8427 539   

 
อีเมล 
ฝ่ายบริการด้านเทคนิค [email protected] 
ฝ่ายขาย [email protected] 

ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต (Forward-looking Statement)        

ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต (Forward-looking Statement)      

บทความนี้มีข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต (Forward-looking Statement) ปรากฏอยู่ เช่นคำว่า “คาดการณ์ว่า” “เชื่อว่า” “ต่อไป” “สามารถ” “ประมาณ” “คาดว่า” “หวังว่า” “ตั้งใจว่า” “อาจจะ” “วางแผนว่า” “มีแนวโน้มว่า” “คาดเดาว่า” “ควรจะ” หรือ “จะ” หรือข้อความอื่น ๆ ซึ่งเป็นการคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ในอนาคต อย่างไรก็ตาม ในข้อความที่ไม่มีคำลักษณะนี้ปรากฏอยู่มิได้แสดงว่าข้อความเหล่านี้ไม่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต ข้อความเกี่ยวกับความคาดหวัง ความเชื่อ แผนการ จุดประสงค์ ข้อสันนิษฐาน เหตุการณ์ในอนาคต และการกระทำในอนาคตของ Doo Prime จะเป็นข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต       

Doo Prime ใช้ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตอ้างอิงมาจากข้อมูลปัจจุบันที่มีอยู่ ความคาดหวังในปัจจุบัน ข้อสันนิษฐาน การคาดคะเน และการวางแผน Doo Prime เชื่อว่าความคาดหวังในปัจจุบัน ข้อสันนิษฐาน การคาดคะเน และการวางแผนเหล่านั้นสมเหตุสมผล อย่างไรก็ตาม ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตนี้ไม่ใช่เป็นเพียงการคาดหมายและเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่สามารถรับรู้และไม่สามารถรับรู้ได้ แต่หลายเหตุการณ์เป็นเหตุการณ์ที่อยู่เหนือการควบคุมของ Doo Prime ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ และการกระทำที่แตกต่างจากที่ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตได้แสดงออกหรือแสดงนัยไว้      

Doo Prime ไม่รับรองหรือรับประกันความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง หรือความสมบูรณ์ของข้อความเหล่านั้น Doo Prime ไม่มีหน้าที่ส่งข้อมูลหรือแก้ไขข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตเหล่านี้ แชร์ไปที่ 

การเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง 

การซื้อขายเครื่องมือทางการเงินมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากความผันผวนของมูลค่าและราคาของเครื่องมือทางการเงิน เนื่องจากความเคลื่อนไหวทางการตลาดที่ไม่พึงประสงค์และคาดการณ์ไม่ได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่นักลงทุนในระยะเวลาที่รวดเร็วได้ ผลการลงทุนในอดีตไม่สามารถชี้วัดความสำเร็จหรือผลกำไรในการลงทุนได้ การลงทุนด้านนี้เกี่ยวข้องกับมาร์จินและเลเวอเรจ ซึ่งการลงทุนจำนวนเล็กน้อยอาจส่งผลประทบมากได้ ดังนั้น นักลงทุนควรเตรียมรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการซื้อขาย  

โปรดอ่านและทำความเข้าใจความเสี่ยงของการซื้อขายเครื่องมือทางการเงินอย่างถี่ถ้วนก่อนที่จะทำธุรกรรมกับ Doo Prime หากมีข้อสงสัยในการลงทุน ควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ข้อมูลข้อตกลงการทำธุรกรรมและการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง 

 
ข้อความปฏิเสธการรับผิดชอบตามกฎหมาย 

ข้อมูลนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปแก่สาธารณะเท่านั้น ข้อมูลไม่ควรถูกตีความเป็นคำปรึกษาทางด้านการลงทุน คำแนะนำ ข้อเสนอ หรือคำเชิญชวนเพื่อซื้อหรือขายเครื่องมือทางการเงินใด ๆ ข้อมูลที่นำเสนอในบทความนี้จัดทำขึ้นโดยโดยไม่มีการอ้างอิงหรือพิจารณาถึงจุดประสงค์การลงทุนหรือสถานะทางการเงินของผู้ใดผู้หนึ่งแต่อย่างใด การอ้างอิงถึงประสิทธิภาพของเครื่องมือทางการเงินในอดีต เครื่องมือทางการดัชนี หรือผลิตภัณฑ์การลงทุนไม่ใช่ตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้สำหรับผลลัพธ์ในอนาคต Doo Prime ไม่รับรองและรับประกันข้อมูล และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียหรือความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อมอันเป็นผลมาจากความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ของข้อมูล Doo Prime ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายที่เป็นผลมาจากความเสี่ยงการซื้อขาย กำไร หรือขาดทุนทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนส่วนบุคคล 

แชร์ไปที่

บทความวิเคราะห์ตลาด

ตลาดหุ้นปิดบวกท่ามกลางการมองในแง่ดีด้านเศรษฐกิจ

ตลาดหุ้นได้ปิดทำการในสัปดาห์นี้ด้วยสัญญาณเชิงบวกหลังจากรายงานการจ้างงานที่แข็งแกร่ง ซึ่งบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งที่ยั่งยืนในเศรษฐกิจสหรัฐฯ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยอาจเพิ่มขึ้นก็ตาม  S&P 500 เติบโตมากกว่า 1% Wall Street ยังคงมองโลกในแง่ดี โดยแนะนำว่า Federal Reserve อาจไม่จำเป็นต้องปรับนโยบายแบบเร่งด่วน สิ่งนี้นำไปสู่การปรับราคาในตลาดตราสารหนี้โดยที่อัตราผลตอบแทนของกระทรวงการคลังเพิ่มขึ้น การคาดการณ์การเติบโตของงานและอัตราดอกเบี้ย  ตัวเลขเงินเดือนสหรัฐเพิ่มขึ้น 303,000 ในเดือนมีนาคม โดยอัตราการว่างงานลดลงเหลือ 3.8% และค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น ในช่วงนี้นักลงทุนยังเห็นอัตราผลตอบแทนของกระทรวงการคลังอายุ 10 ปีเพิ่มขึ้นเป็น 4.40% ในขณะที่ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ทำให้ราคาน้ำมันเบรนท์อยู่เหนือระดับ 90 ดอลลาร์   แม้ว่าผลการดำเนินงานของตลาดงานจะแข็งแกร่ง แต่ Mohamed El-Erian หัวหน้าที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของ Allianz คาดการณ์ว่า Federal Reserve อาจประกาศลดอัตราดอกเบี้ยสองครั้งในปีนี้  สัญญา Swap ซึ่งเป็นมาตรวัดสำหรับคาดการณ์การเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับความน่าจะเป็นของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนเป็นประมาณ 52% โดยความน่าจะเป็นในเดือนกรกฎาคมจะลดลงต่ำกว่า 100%  ภาพรวมผลการดำเนินงานของตลาด  ตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนี S&P 500 ร่วงลง -1.0% ดัชนี Nasdaq […]

2024-4-9 | บทความวิเคราะห์ตลาด

แนวโน้มวอลล์สตรีทเป็นบวก ท่ามกลางจุดยืนเฟด และข้อมูลเงินเฟ้อ

การเคลื่อนไหวล่าสุดในวอลล์สตรีทได้ส่งสัญญาณเชิงบวกเล็กน้อยให้กับนักลงทุนและนักวิเคราะห์ ท่ามกลางเศรษฐกิจที่มีความผันผวนอยู่อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีแนวโน้มการลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง แต่เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ ภายใต้การนำของประธานเจอโรม พาวเวลล์ ยังคงยืนหยัด ในการเน้นย้ำถึงความสำคัญของการอดทนรอ  จุดยืนของเฟดท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อ  จุดยืนของพาวเวลล์เกิดขึ้นหลังจากที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนกุมภาพันธ์ลดลงอย่างน่าทึ่งที่ 0.3% ซึ่งเป็นมาตรวัดที่ธนาคารกลางได้ตั้งไว้สำหรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อประกอบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ความลังเลของพาวเวลล์ที่จะลดอัตราดอกเบี้ยก่อนเวลาอันควรอาจจะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้  ตัวชี้วัดเหล่านี้ทำให้นักวิเคราะห์ยังอยู่ในโซนแห่งความสบายใจอยู่ พวกเขามองว่านี่เป็นหลักฐานที่แสดงถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเห็นได้จากการใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งเกินความคาดหมาย และการเติบโตของค่าจ้าง  ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นของตลาด  แม้จะเกิดความกังวลเกี่ยวกับฟองสบู่เทคโนโลยีที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นกลุ่มปัญญาประดิษฐ์ แต่นักลงทุนยังดันตลาดหุ้นให้สูงขึ้นไปต่อ  ดัชนี S&P 500 ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์และเพิ่มขึ้นกว่า 10% ในรายไตรมาส แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจและผู้บริโภค  แนวโน้มนี้สะท้อนให้เห็นในผลประกอบการของดัชนีหลักๆ ในช่วงเทศกาลวันหยุด โดยดัชนี S&P 500 ขยับขึ้น 0.4% และดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ไต่ขึ้น 0.8% ขณะเดียวกัน ดัชนี Nasdaq Composite ร่วงลง 0.3%  การเคลื่อนไหวของตลาดและผลการดำเนินงานรายไตรมาส  เมื่อไตรมาสแรกสิ้นสุดลง ตลาดหุ้น Wall Street ได้เฉลิมฉลองผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่ปี 2019 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มเชิงบวกเล็กน้อย […]

2024-4-2 | บทความวิเคราะห์ตลาด

S&P 500 สูงขึ้นจากความเห็นเฟด นักวิเคราะห์เตือนอาจเกิด Pullback

ราคาประจำสัปดาห์ที่ผ่านมาของ S&P 500 ปิดตัวได้อย่างน่าประทับใจที่สุดของปี 2024 โดยทำลายสถิติการลงติดต่อกันสองสัปดาห์ที่ผ่านมาได้อย่างน่าทึ่ง  การฟื้นตัวของวอลล์สตรีทได้รับแรงหนุนมาจากคำมั่นของธนาคารกลางสหรัฐที่ย้ำว่าจะดำเนินการลดอัตราดอกเบี้ยสามครั้งตลอดทั้งปี ซึ่งช่วยลดความกังวลของนักลงทุน  ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่ยืดเยื้อ การตอบสนองอย่างใจเย็นของประธานเฟด เจอโรม พาวเวลล์ ต่อแรงกดดันด้านเงินเฟ้อได้ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นต่อตลาด  แนวโน้มเชิงบวกและการเก็งกำไร  แม้ว่าตลาดหุ้นในวันศุกร์จะชะลอตัวลงเล็กน้อย แต่แนวโน้มโดยรวมของสัปดาห์นี้ยังคงเป็นบวกอย่างปฏิเสธไม่ได้  การเก็งกำไรต่อการลดอัตราดอกเบี้ยที่อาจเกิดขึ้นได้ในต้นเดือนมิถุนายนได้กระตุ้นให้แรงซื้อในตลาด ส่งผลให้เป็นสัปดาห์ที่ S&P 500 พุ่งขึ้นมากกว่า 2%  ภาวะกระทิงที่แข็งแรงนี้กระตุ้นให้นักวิเคราะห์ปรับเปลี่ยนการคาดการณ์ และจุดประกายให้เกิดการพูดคุยเกี่ยวกับโอกาศในการสะสมของราคาหรือการ Pullback ในระยะสั้น  David Lefkowitz จาก UBS Global Wealth Management เน้นว่า เมื่อพิจารณาจากความเชื่อมั่นและตำแหน่งของราคาที่อยู่ในระดับที่สูง การ Pullback เล็กน้อยในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าก็เป็นไปได้ สถานการณ์ดังกล่าวอาจเปิดโอกาสที่น่าสนใจให้กับนักลงทุนในการซื้อหุ้นเพิ่มเติม  อิทธิพลของธนาคารกลางสหรัฐ  เนื่องจากข้อมูลทางเศรษฐกิจยังคงผสมผสาน นักลงทุนควรติดตามแถลงการณ์จากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐอย่างใกล้ชิด  ความคิดเห็นของพาวเวลล์ในงาน “Fed Listens” ไม่ได้พูดถึงนโยบายการเงินอย่างชัดเจน ในขณะเดียวกัน Michael Barr รองประธานฝ่ายกำกับดูแลของ Fed ได้บอกเป็นนัยถึงการปรับเปลี่ยนข้อเสนอซึ่งมุ่งเป้าไปที่การเพิ่มเงินทุนสำหรับผู้ปล่อยกู้  ผลการดำเนินงานของตลาด  S&P 500 ปิดต่ำกว่าราคา […]

2024-3-26 | บทความวิเคราะห์ตลาด