Search Mark
หน้าแรก / บทความวิเคราะห์ตลาด

ยุคเงินดอลลาร์สหรัฐกำลังสิ้นสุดลงหรือไม่


การใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นสกุลเงินกลางได้เปลี่ยนแปลงไป เพราะเมื่อไม่นานมานี้ หลายประเทศพึ่งบรรลุข้อตกลงในการทำการซื้อขายโดยตรงด้วยสกุลเงินของประเทศตนเอง  

ประเทศที่นำร่องคือ ประเทศบราซิลและจีน ตามด้วยอินเดีย และมาเลเซีย โดยมีการหารือระหว่างกลุ่มประเทศ BRICS อย่างบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ เกี่ยวกับการสร้างสกุลเงินใหม่ 

ความเป็นไปได้ที่จะเกิดการลดบทบาทของเงินดอลลาร์ในตลาดโลก หรือ “De-dollarization” ทำให้เกิดการตั้งคำถามเกี่ยวกับอนาคตของการครองตลาดของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ และคำถามที่ว่าสิ่งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของจุดจบของบทบาทสกุลเงินดอลลาร์หรือไม่ 

ในบทความนี้ เราจะกล่าวถึงแนวโน้มเกี่ยวกับการอำนาจของเงินดอลลาร์ และผลกระทบต่อระบบตลาดโลก รวมถึงสาเหตุของการครองตลาดของดอลลาร์ในปัจจุบัน ปัญหาที่ซ่อนอยู่ที่เกี่ยวข้องกับหนี้ เงินเฟ้อ และผลกระทบทางเศรษฐกิจ และอนาคตของรูปแบบสกุลเงินอนาคตจะเป็นอย่างไร 

สาเหตุที่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐครองตลาดโลกปัจจุบัน 

มองกลับไปยังช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง สาเหตุที่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบันมีอำนาจครองตลาด เนื่องจากในช่วงนั้น สหรัฐฯ เป็นผู้นำการสร้างระบบเบรตตัน วูดส์ (Bretton Woods) เพื่อวางแผนให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวและสร้างระบบการเงินระหว่างประเทศแบบใหม่ ระบบนี้ผูกสกุลเงินดอลลาร์กับทองคำโดยตรง ทำให้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐกลายเป็นสกุลเงินสำรองหลักของโลก 

แม้ว่าระบบเบรตตัน วูดส์ ล่มสลายในช่วงทศวรรษที่ 1970 เนื่องจากเกิดหนี้ที่มาจากการผลิตเงินดอลลาร์มากกว่าทองคำ ถึงกระนั้น ก็ไม่ทำให้เกิดเหตุการณ์ “De-dollarization” ขึ้นเนื่องจากสกุลเงินดอลลาร์ได้ถูกตรึงไว้กับน้ำมัน ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญทางกลยุทธ์กับเศรษฐกิจโลกอย่างมาก ทำให้การซื้อขายน้ำมันต้องทำในรูปแบบสกุลเงินดอลลาร์ และด้วยระบบยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) และการซื้อขายแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่มากขึ้น รวมไปถึงเทคโนโลยีและอำนาจทางการทหารสหรัฐ ทำให้สถานะของสกุลเงินดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินหลักของโลกนั้นมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ดอลลาร์มีอำนาจครองตลาดโลกได้ในปัจจุบัน 

ปัญหาของสกุลเงินดอลลาร์ อย่าง หนี้ ภาวะเงินเฟ้อ และผลกระทบทางเศรษฐกิจ 

แม้สกุลเงินดอลลาร์จะเป็นสกุลเงินที่มีอำนาจที่สุดในตลาดโลก แต่ก็ไม่ได้ช่วยป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นได้ที่ทำให้ประเทศต่างๆ ใช้สกุลเงินของตนเองเพื่อทำการค้าแทน 

ปัญหาใหญ่ที่สุดของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ คือหนี้จำนวนมหาศาลของสหรัฐฯ โดยค่า GDP ของสหรัฐฯ ในปี 2022 อยู่ที่ 25.46 ล้านล้านดอลลาร์ ในขณะที่หนี้ปัจจุบันของสหรัฐฯ อยู่ที่ 31.4 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งเทียบเท่ากับ GDP ทั้งปี กลายเป็นปัญหาสำคัญของรัฐบาลสหรัฐฯ เนื่องจากการขยายเพดานหนี้ช่วยเพียงแค่ทำให้ปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นช้าลงเท่านั้น 

หนี้จำนวนมหาศาลทำให้พื้นที่การคลัง หรือ “Fiscal space” ของรัฐบาลสหรัฐฯ นั้นอ่อนแอลง กล่าวคือทำให้การใช้จ่ายของภาครัฐ มีความยืดหยุ่นน้อยลง และความล้มเหลวในการขยายเพดานหนี้อาจนำไปสู่ภาวะชัตดาวน์ของรัฐบาล และการลดค่าใช้จ่ายอาจส่งผลกระทบสำคัญแก่เศรษฐกิจสหรัฐฯ และตลาดการเงิน 

แม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ดอกเบี้ยของหนี้สหรัฐฯ เพิ่มมากขึ้น แต่การลดหนี้อาจส่งผลให้เกิดการลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาล ซึ่งอาจทำให้การใช้จ่ายผู้บริโภค การลงทุนธุรกิจ และงานมีปัญหาได้ ดังนั้น วิธีแก้ปัญหาที่เป็นไปได้สำหรับรัฐบาลสหรัฐฯ ในปัจจุบันคือการขยายเพดานหนี้ 

และแม้ว่าสหรัฐฯ จะเป็นหนี้อยู่มาก แต่มูลค่าของสกุลเงินดอลลาร์ยังไม่ได้อ่อนแอลงแบบปีต่อปีแต่อย่างใด เนื่องจากการค้ายังเกิดขึ้นอยู่ หลายประเทศยังคงพึ่งพาเงินดอลลาร์เพื่อทำการค้าทำให้เกิดการสะสมเงินดอลลาร์สำรองเพื่อคงเสถียรภาพเศรษฐกิจ จึงเป็นการช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ได้อยู่  

อย่างไรก็ตาม หนี้ก็ยังเป็นความเสี่ยงหนึ่งของเงินดอลลาร์และต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เนื่องจากต้องเผชิญความเสี่ยงจากการการผิดนัดชำระหนี้ (Risk of default) ภาวะชัตดาวน์ของรัฐบาลสหรัฐฯ และการลดค่าใช้จ่าย ซึ่งทั้งหมดนี้อาจส่งผลกระทบอย่างมากกับตลาดการเงินและเศรษฐกิจของสหรัฐฯ 

อนาคตของรูปแบบสกุลเงินโลกในอนาคตจะเป็นอย่างไร 

ถึงแม้ว่าสหรัฐฯ จะเผชิญกับปัญหาดังกล่าว การซื้อขายระหว่างประเทศและความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เป็นปัจจัยที่ทำให้ประเทศทั่วโลกยังเลือกใช้เงินดอลลาร์ในการทำการค้าแม้ว่าจะมีปัญหาบางอย่างก็ตาม 

เหตุผลเนื่องจาก ไม่มีประเทศอื่นที่สามารถครองอำนาจในตลาดโลกได้เหมือนสหรัฐฯ และแม้ว่ามีการคาดว่ายูโรจะเข้ามาเป็นคู่แข่งกับอำนาจ (Hegemony) ของดอลลาร์ แต่ยูโรก็เผชิญกับปัญหาต่างๆ เป็นเวลาหลายปี ทำให้ไม่สามารถแข่งกับอำนาจของสหรัฐฯ ได้ ปรากฏการณ์นี้เหมือนกับการครอบครอง “เพชรที่ยังไม่ได้เจียระไน” ที่แม้ว่าดอลลาร์จะเผชิญกับปัญหาต่างๆ แต่ก็ยังมีประโยชน์มากกว่าสกุลเงินอื่นทั่วโลก 

ในยุคโลกาภิวัฒน์ ดอลลาร์สหรัฐจะยังอยู่ครองอำนาจ (Hegemony) อยู่ ตราบใดที่ยังอยู่ในกระแสโลกาภิวัฒน์อยู่ การ “De-dollarization” นั้นดูจะเกิดขึ้นได้ยาก 

อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา กระแสตรงข้ามของโลกาภิวัฒน์ หรือที่เรียกว่า “Counter-globalization” ได้เริ่มเข้ามาแทนที่กระแสโลกาภิวัฒน์ที่เป็นกระแสหลัก 

สาเหตุคือ จีนและสหรัฐฯ ได้แยกตัวออกมาจากสหภาพยุโรปในด้านเศรษฐกิจ ทำให้เกิดความช็อคต่อสันติภาพและเสถียรภาพ ด้วยเหตุนี้ บางประเทศจึงเริ่มเปลี่ยนไปใช้สกุลเงินของตนเองหรือสกุลเงินอื่นที่มีเสถียรภาพมากขึ้นเพื่อทำการค้า เป็นสิ่งที่อธิบายได้ว่าทำไมหลายประเทศที่กล่าวถึงในตอนต้นของบทความนี้ได้ทำการเปลี่ยนสกุลเงินด้วย 

แม้ว่าอำนาจของเงินดอลลาร์สหรัฐจะกำลังสั่นคลอนอยู่ในขณะนี้ แต่การลดค่าเงินดอลลาร์เลยในเวลาอันสั้นยังดูเป็นเรื่องยากอยู่ การใช้สกุลเงินหลายประเภทเกินไปในการทำธุรกรรมจะทำให้ต้นทุนการทำธุรกรรมเพิ่มขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย ดังนั้น การเลือกสกุลเงินเดียวจึงเป็นไปตามกฎหมายเศรษฐกิจที่กำหนดไว้

แม้ว่าจะมีเสียงคัดค้าน “De-dollarization” และบางประเทศได้เปลี่ยนไปใช้สกุลเงินอื่นเพื่อการทำธุรกิจแล้ว แต่ก็เป็นเรื่องยากที่จะหาสกุลเงินที่เหมาะสมกว่าดอลลาร์สหรัฐเพื่อรับสถานะเป็น “ระบบเงินตราสกุลเดียว (Single Currency)” เนื่องจากคุณสมบัติต่างๆ และความมั่นคงของประเทศนั้นๆ เนื่องจากประเทศนั้นจะต้องมีสกุลเงินที่มีเสถียรภาพและมีคุณภาพมากที่สุดในบรรดาสกุลเงินทั้งหมดในโลก 

นอกจากนี้ แม้ว่าอำนาจของสหรัฐฯ จะเสื่อมถอยลง แต่ปัจจุบันก็ยังไม่มีประเทศใดในยุโรปหรือเอเชียที่มีอำนาจเหนือประเทศสหรัฐฯ อย่างเบ็ดเสร็จ ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกที่เกิดขึ้นเป็นวิกฤติที่เกิดขึ้นร่วมกัน ไม่ใช่เป็นเรื่องที่เกิดแก่สหรัฐฯ แต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น อำนาจของสหรัฐฯ เองยังช่วยเสริมกำลังอำนาจของสกุลเงินดอลลาร์ไว้ได้อยู่  

ท้ายที่สุดแล้ว แม้ดอลลาร์จะเผชิญกับปัญหาหลายอย่าง แต่ดอลลาร์ก็ยังคงเป็นสกุลเงินที่เหมาะสมที่สุดในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ วิธีการ “De-dollarization” เป็นเครื่องมือของภูมิภาคหรือประเทศเพียงไม่กี่แห่งในระยะสั้นเท่านั้น และยังไม่สามารถแทนที่อำนาจของดอลลาร์ได้ ดังนั้น สถานะของเงินดอลลาร์จึงยังไม่น่าจะสั่นคลอนในระยะเวลาอันใกล้นี้

| เกี่ยวกับ Doo Prime       

เครื่องมือการซื้อขายของเรา     

หลักทรัพย์ ฟิวเจอร์ส ฟอเร็กซ์ โลหะมีค่า สินค้าโภคภัณฑ์ ดัชนีหุ้น    

Doo Prime เป็นโบรกเกอร์ออนไลน์ระดับนานาชาติภายใต้บริษัท Doo Group ที่ให้นักลงทุนมืออาชีพได้ซื้อขายหลักทรัพย์ ฟิวเจอร์ส ฟอเร็กซ์ โลหะมีค่า สินค้าโภคภัณฑ์ และดัชนีหุ้น ปัจจุบัน Doo Prime มอบประสบการณ์การซื้อขายที่ดีที่สุดให้ลูกค้ามากกว่า 90,000 คน โดยมีอัตราการซื้อขายเฉลี่ย 51,223 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน    

Doo Prime มีใบอนุญาตจากเซเชลส์ เมอริเชียส วานูอาตู โดยมีสำนักงานในดัลลัส ซิดนีย์ สิงคโปร์ ฮ่องกง กัวลาลัมเปอร์ และอีกหลายสำนักงานทั่วโลก     

ด้วยเทคโนโลยีการเงินที่สมบูรณ์แบบ พันธมิตรที่แข็งแกร่ง และทีมที่มีประสบการณ์ Doo Prime ให้ประสบการณ์การซื้อขายที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ ให้ราคาการซื้อขายที่ดี รวมไปถึงวิธีการฝาก-ถอนที่รับรอง 10 สกุลเงิน อีกทั้ง Doo Prime ยังให้การบริการลูกค้าในหลากหลายภาษาตลอด 24 ชั่วโมง และยังสามารถทำการซื้อขายได้อย่างรวดเร็วผ่านแพลตฟอร์ม MT4, MT5, TradingView, และ InTrade ที่มีผลิตภัณฑ์มากกว่า 10,000 รายการ     

วิสัยทัศน์และภารกิจของ Doo Prime คือการเป็นองค์กรเทคโนโลยีการเงินในฐานะโบรกเกอร์ด้านการลงทุนผลิตภัณฑ์ทางการเงินระดับโลก     

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Doo Prime โปรดติดต่อ     

โทรศัพท์     
ยุโรป : +44 11 3733 5199       
เอเชีย : +852 3704 4241        
เอเชีย – สิงคโปร์: +65 6011 1415       
เอเชีย – จีน : +86 400 8427 539         

อีเมล   
ฝ่ายบริการด้านเทคนิค [email protected]       
ฝ่ายขาย [email protected]      

ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต (Forward-looking Statement)        

ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต (Forward-looking Statement)      

บทความนี้มีข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต (Forward-looking Statement) ปรากฏอยู่ เช่นคำว่า “คาดการณ์ว่า” “เชื่อว่า” “ต่อไป” “สามารถ” “ประมาณ” “คาดว่า” “หวังว่า” “ตั้งใจว่า” “อาจจะ” “วางแผนว่า” “มีแนวโน้มว่า” “คาดเดาว่า” “ควรจะ” หรือ “จะ” หรือข้อความอื่น ๆ ซึ่งเป็นการคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ในอนาคต อย่างไรก็ตาม ในข้อความที่ไม่มีคำลักษณะนี้ปรากฏอยู่มิได้แสดงว่าข้อความเหล่านี้ไม่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต ข้อความเกี่ยวกับความคาดหวัง ความเชื่อ แผนการ จุดประสงค์ ข้อสันนิษฐาน เหตุการณ์ในอนาคต และการกระทำในอนาคตของ Doo Prime จะเป็นข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต       

Doo Prime ใช้ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตอ้างอิงมาจากข้อมูลปัจจุบันที่มีอยู่ ความคาดหวังในปัจจุบัน ข้อสันนิษฐาน การคาดคะเน และการวางแผน Doo Prime เชื่อว่าความคาดหวังในปัจจุบัน ข้อสันนิษฐาน การคาดคะเน และการวางแผนเหล่านั้นสมเหตุสมผล อย่างไรก็ตาม ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตนี้ไม่ใช่เป็นเพียงการคาดหมายและเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่สามารถรับรู้และไม่สามารถรับรู้ได้ แต่หลายเหตุการณ์เป็นเหตุการณ์ที่อยู่เหนือการควบคุมของ Doo Prime ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ และการกระทำที่แตกต่างจากที่ข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตได้แสดงออกหรือแสดงนัยไว้      

Doo Prime ไม่รับรองหรือรับประกันความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง หรือความสมบูรณ์ของข้อความเหล่านั้น Doo Prime ไม่มีหน้าที่ส่งข้อมูลหรือแก้ไขข้อความที่มีลักษณะเป็นการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตเหล่านี้  

การเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง     

การซื้อขายเครื่องมือทางการเงินมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากความผันผวนของมูลค่าและราคาของเครื่องมือทางการเงิน เนื่องจากความเคลื่อนไหวทางการตลาดที่ไม่พึงประสงค์และคาดการณ์ไม่ได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่นักลงทุนในระยะเวลาที่รวดเร็วได้ ผลการลงทุนในอดีตไม่สามารถชี้วัดความสำเร็จหรือผลกำไรในการลงทุนได้ การลงทุนด้านนี้เกี่ยวข้องกับมาร์จินและเลเวอเรจ ซึ่งการลงทุนจำนวนเล็กน้อยอาจส่งผลประทบมากได้ ดังนั้น นักลงทุนควรเตรียมรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการซื้อขาย     

โปรดอ่านและทำความเข้าใจความเสี่ยงของการซื้อขายเครื่องมือทางการเงินอย่างถี่ถ้วนก่อนที่จะทำธุรกรรมกับ Doo Prime หากมีข้อสงสัยในการลงทุน ควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ข้อมูลข้อตกลงการทำธุรกรรมและการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง 

ข้อความปฏิเสธการรับผิดชอบตามกฎหมาย     

ข้อมูลนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปแก่สาธารณะเท่านั้น ข้อมูลไม่ควรถูกตีความเป็นคำปรึกษาทางด้านการลงทุน คำแนะนำ ข้อเสนอ หรือคำเชิญชวนเพื่อซื้อหรือขายเครื่องมือทางการเงินใด ๆ ข้อมูลที่นำเสนอในบทความนี้จัดทำขึ้นโดยโดยไม่มีการอ้างอิงหรือพิจารณาถึงจุดประสงค์การลงทุนหรือสถานะทางการเงินของผู้ใดผู้หนึ่งแต่อย่างใด การอ้างอิงถึงประสิทธิภาพของเครื่องมือทางการเงินในอดีต เครื่องมือทางการดัชนี หรือผลิตภัณฑ์การลงทุนไม่ใช่ตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้สำหรับผลลัพธ์ในอนาคต Doo Prime ไม่รับรองและรับประกันข้อมูล และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียหรือความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อมอันเป็นผลมาจากความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ของข้อมูล Doo Prime ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายที่เป็นผลมาจากความเสี่ยงการซื้อขาย กำไร หรือขาดทุนทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนส่วนบุคคล 

แชร์ไปที่

บทความวิเคราะห์ตลาด

S&P 500 ร่วง ท่ามกลางการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และภาคเทคอยู่ในสถานการณ์ลำบาก

ตลาดหุ้นต้องเผชิญกับสัปดาห์ที่โหดร้าย โดย S&P 500 ประสบพบกับผลการดำเนินงานที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2023 การลงครั้งนี้ได้รับแรงหนุนมาจากความวิตกกังวลในตลาด  ผลกระทบทางเศรษฐกิจและธนาคารกลางสหรัฐ  ประการแรก ข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีเกินความคาดหมาย บวกกับแถลงการณ์ที่ไม่ค่อยดีนักจากธนาคารกลางสหรัฐ ทำให้เกิดความกังวลว่าอัตราดอกเบี้ยอาจยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปเป็นระยะเวลานานขึ้น  สิ่งนี้ได้บั่นทอนแรงซื้อของนักลงทุนในตลาดหุ้น โดยเฉพาะหุ้นที่มีการเติบโต ซึ่งมีความอ่อนไหวต่อความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย  ประการที่สอง ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและอิหร่านได้เพิ่มความไม่แน่นอนอีกชั้นหนึ่งให้กับตลาด  ปัจจัยลบในภาคเทคโนโลยี  การขายออกที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะภาคเทคโนโลยี ที่ได้รับแรงกดดันมาจากรายงานผลประกอบการที่น่าผิดหวังจากผู้ผลิตชิปรายใหญ่ เช่น ASML และ TSM  รายงานเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงฤดูกาลประกาศรายได้ที่กำลังจะมาถึงสำหรับบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง Apple และ Amazon นักลงทุนต่างคาดหวังถึงผลลัพธ์ที่แข็งแกร่งแต่ยังคงกังวลเกี่ยวกับความสามารถของบริษัทเหล่านี้ในการตอบสนองความคาดหวังสำหรับโครงการด้านปัญญาประดิษฐ์ของพวกเขา  ภาพรวมผลประกอบการรายสัปดาห์  ตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนี S&P 500 ลดลง -3.1% ดัชนี Nasdaq Composite ที่เน้นด้านเทคโนโลยีลดลง -5.5% และดัชนีบลูชิป Dow ปรับตัวขึ้นเล็กน้อยที่ +0.01%  และนี่คือราคาปิดตลาดของแต่ละดัชนีในวันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2567 Index  Last  Change  %Change  DOW […]

2024-4-22 | บทความวิเคราะห์ตลาด

ตลาดหุ้นปิดบวกท่ามกลางการมองในแง่ดีด้านเศรษฐกิจ

ตลาดหุ้นได้ปิดทำการในสัปดาห์นี้ด้วยสัญญาณเชิงบวกหลังจากรายงานการจ้างงานที่แข็งแกร่ง ซึ่งบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งที่ยั่งยืนในเศรษฐกิจสหรัฐฯ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยอาจเพิ่มขึ้นก็ตาม  S&P 500 เติบโตมากกว่า 1% Wall Street ยังคงมองโลกในแง่ดี โดยแนะนำว่า Federal Reserve อาจไม่จำเป็นต้องปรับนโยบายแบบเร่งด่วน สิ่งนี้นำไปสู่การปรับราคาในตลาดตราสารหนี้โดยที่อัตราผลตอบแทนของกระทรวงการคลังเพิ่มขึ้น การคาดการณ์การเติบโตของงานและอัตราดอกเบี้ย  ตัวเลขเงินเดือนสหรัฐเพิ่มขึ้น 303,000 ในเดือนมีนาคม โดยอัตราการว่างงานลดลงเหลือ 3.8% และค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น ในช่วงนี้นักลงทุนยังเห็นอัตราผลตอบแทนของกระทรวงการคลังอายุ 10 ปีเพิ่มขึ้นเป็น 4.40% ในขณะที่ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ทำให้ราคาน้ำมันเบรนท์อยู่เหนือระดับ 90 ดอลลาร์   แม้ว่าผลการดำเนินงานของตลาดงานจะแข็งแกร่ง แต่ Mohamed El-Erian หัวหน้าที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของ Allianz คาดการณ์ว่า Federal Reserve อาจประกาศลดอัตราดอกเบี้ยสองครั้งในปีนี้  สัญญา Swap ซึ่งเป็นมาตรวัดสำหรับคาดการณ์การเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับความน่าจะเป็นของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนเป็นประมาณ 52% โดยความน่าจะเป็นในเดือนกรกฎาคมจะลดลงต่ำกว่า 100%  ภาพรวมผลการดำเนินงานของตลาด  ตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนี S&P 500 ร่วงลง -1.0% ดัชนี Nasdaq […]

2024-4-9 | บทความวิเคราะห์ตลาด

แนวโน้มวอลล์สตรีทเป็นบวก ท่ามกลางจุดยืนเฟด และข้อมูลเงินเฟ้อ

การเคลื่อนไหวล่าสุดในวอลล์สตรีทได้ส่งสัญญาณเชิงบวกเล็กน้อยให้กับนักลงทุนและนักวิเคราะห์ ท่ามกลางเศรษฐกิจที่มีความผันผวนอยู่อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีแนวโน้มการลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง แต่เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ ภายใต้การนำของประธานเจอโรม พาวเวลล์ ยังคงยืนหยัด ในการเน้นย้ำถึงความสำคัญของการอดทนรอ  จุดยืนของเฟดท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อ  จุดยืนของพาวเวลล์เกิดขึ้นหลังจากที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนกุมภาพันธ์ลดลงอย่างน่าทึ่งที่ 0.3% ซึ่งเป็นมาตรวัดที่ธนาคารกลางได้ตั้งไว้สำหรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อประกอบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ความลังเลของพาวเวลล์ที่จะลดอัตราดอกเบี้ยก่อนเวลาอันควรอาจจะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้  ตัวชี้วัดเหล่านี้ทำให้นักวิเคราะห์ยังอยู่ในโซนแห่งความสบายใจอยู่ พวกเขามองว่านี่เป็นหลักฐานที่แสดงถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเห็นได้จากการใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งเกินความคาดหมาย และการเติบโตของค่าจ้าง  ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นของตลาด  แม้จะเกิดความกังวลเกี่ยวกับฟองสบู่เทคโนโลยีที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นกลุ่มปัญญาประดิษฐ์ แต่นักลงทุนยังดันตลาดหุ้นให้สูงขึ้นไปต่อ  ดัชนี S&P 500 ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์และเพิ่มขึ้นกว่า 10% ในรายไตรมาส แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจและผู้บริโภค  แนวโน้มนี้สะท้อนให้เห็นในผลประกอบการของดัชนีหลักๆ ในช่วงเทศกาลวันหยุด โดยดัชนี S&P 500 ขยับขึ้น 0.4% และดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ไต่ขึ้น 0.8% ขณะเดียวกัน ดัชนี Nasdaq Composite ร่วงลง 0.3%  การเคลื่อนไหวของตลาดและผลการดำเนินงานรายไตรมาส  เมื่อไตรมาสแรกสิ้นสุดลง ตลาดหุ้น Wall Street ได้เฉลิมฉลองผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่ปี 2019 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มเชิงบวกเล็กน้อย […]

2024-4-2 | บทความวิเคราะห์ตลาด