‘หุ้นกลุ่มกลาโหม’ สหรัฐร่วงหนักหลังทรัมป์เน้นสันติภาพแทนสงคราม

2025-03-05 | ข่าวสารการลงทุน , ทรัมป์ , บทความวิเคราะห์ตลาดรายสัปดาห์ , หุ้นกลุ่มกลาโหม , หุ้นยุโรป , หุ้นสหรัฐ

หุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ หรือเรียกกันอีกชื่อว่า “หุ้นกลุ่มกลาโหม” ของสหรัฐกำลังได้รับผลกระทบ นักลงทุนต่างจับตามองอย่างใกล้ชิด หลังจากทรัมป์ประกาศยุติสงครามที่ยืดเยื้อมานาน  

ช่วงเวลาที่ผ่านมา หลายบริษัทที่เกี่ยวกับด้านการป้องกันประเทศอยู่ในช่วงขาขึ้นจากความขัดแย้งทั่วโลก แต่ตอนนี้เมื่อทรัมป์หันมาให้คำมั่นว่าจะลดการแทรกแซงทางทหาร ทำให้สถานการณ์ในตลาดตอนนี้เปลี่ยนไปยังไงบ้าง? มาอ่านต่อกัน 

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศได้รับผลประโยชน์จากสงครามและความขัดแย้งมาโดยตลอด การใช้จ่ายทางทหารถูกใช้ไปกับเชื้อเพลิง อาวุธ และการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เมื่อมีส 

ครามเกิดขึ้น มูลค่าหุ้นก็เพิ่มขึ้นตาม แต่ในทางกลับกัน เมื่อมีการเจรจาเพื่อสันติภาพ ทำให้มูลค่าลดลง  

สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นขณะนี้ ทรัมป์ต้องการที่จะลดบทบาททางทหารและหันมาให้ความสำคัญกับการเจรจาทางการทูตแทน ส่งผลให้นักลงทุนเกิดความวิตกกังวลและเทขายหุ้นของอุตสาหกรรมนี้  

ทรัมป์ประกาศชัดเจนว่าไม่มีสงครามที่ไม่มีวันจบสิ้นน หรือ No more endless wars นั่นหมายความว่าสหรัฐจะถอนกำลังทหารออกจากจุดต่างๆทั่วโลก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ  

  • ถอนกำลังทหารออกจากตะวันออกกลางและยุโรป  
  • ลดงบประมาณทางทหารและให้ความสำคัญกับนโยบายในประเทศ  
  • ลดการแทรกแซงคสามขัดแย้งระหว่างประเทศ  

สำหรับบริษัทด้านการป้องกันประเทศอาจตกอยู่ที่นั่งลำบาก เพราะการทำสัญญากับรัฐบาลอาจลดลง การซื้อขายอาวุธระหว่างประเทศอาจชะลอตัวลง ทำให้นักลงทุนมองเห็นถึงความเสี่ยงและทะยอยขายหุ้นออกไป  

เริ่มจากวิเคราะห์ผลประกอบการของหุ้นป้องกันประเทศของสหรัฐ จะเห็นว่ากำลังอยู่ในจุดขาลง  

หุ้นกลาโหมสหรัฐ NOC

ตลอดเดือนที่ผ่านมา: 

หุ้น ผลประกอบการ 
Lockheed Martin (LMT)                -11.74% 
Northrop Grumman: (NOC)                -10.84% 
General Dynamics (GD)                -9.49% 
AXON Enterprise (AXON)                -15.53 

แต่ในขณะที่หุ้นยุโรปกลับพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว  

หุ้นกลาโหมยุโรป RHM
หุ้น ผลประกอบการ 
Rheinmetall (RHM.DE)                +32.70 
Thales (FR)               +23.11 
BAE Systems (GB)                +8.24 
Airbus (EU)                +1.5 

การดิ่งลงของหุ้นกลุ่มนี้อาจเกี่ยวข้องกับข่าวที่ว่า กระทรวงกลาโหมของสหรัฐกำลังเตรียมตัดงบประมาณก่อนการตรวจสอบความโปร่งใสของงบประมาณกลาโหม จาก DOGE (Department of Government Efficiency) ที่นำโดยอีลอน มักส์  

แต่ในทางกลับกัน หุ้นกลุ่มนี้ดันเป็นกลุ่มที่นักลงทุนให้ความสนใจเนื่องจากผลประกอบการเป็นไปในทิศทางขาขึ้น และคาดว่าการใช้จ่ายทางทหารของยุโรปจะเพิ่มมากขึ้น เพื่อชดเชยบทบาทของรัฐบาลสหรัฐที่ลดลง  

ทรัมป์มีแผนลดงบประมาณของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (เพนตากอน) 8% ต่อปี เป็นเวลา 5 ปี  

ถือว่าเป็นงบประมาณที่มีมูลค่าสูงถึง 50,000 ล้านดอลลาร์ โดยงบประมาณส่วนนี้จะถูกย้ายไปใช้กับความมั่นคงชายแดนและเทคโนโลยีโดรนแทน ซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดและเป็นที่มาของหุ้นป้องกันประเทศร่วงหนัก   

ตัวอย่างบริษัทมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมกลาโหมอย่าง Palantir Technologies เป็นบริษัทเทคโนโลยีที่เชี่ยวชาญด้าน AI และ Big Data Analytics ที่ให้บริการแก่หน่วยข่าวกรอง กองทัพและภาคอื่นๆ ซึ่งหลังจากที่มีการประกาศข่าวเรื่องงบประมาณออกมา ส่งผลให้หุ้น Palantir Technologies ลดลงถึง 10%  

โรเบิร์ต ซาเลสเซส รองปลัดกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า การตัดงบประมาณนี้จะช่วยปรับปรุงค่าใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าบริษัทผู้รับเหมาที่เกี่ยวข้อง อาจได้รับผลประทบในแง่ของการเสียหายรายได้มหาศาล  

ทรัมป์ต้องการหยุดสงครามในยูเครนและหันมาสนับสนุนให้มีการเจรจาแบบสันติภาพ แต่ทาง Zelensky ผู้นำยูเครนกลับไม่เห็นด้วย และต้องการสู้ต่อ  

ทางด้านสหภาพยุโรป (EU) ก็ไม่เห็นด้วยจากการที่มีการยุติสงครามที่รวดเร็วเกินไป และยังมองว่ารัสเซียยังคงเป็นภัยคุกคามระยะยาว  

สถานการณ์เหล่านี้ทำให้นักลงทุนหันมาลงทุนในยุโรปมากขึ้น โดยเฉพาะหุ้นกลาโหม เพราะมีความเชื่อว่าทางยุโรปเองก็ต้องให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายทางทหารมากขึ้น เพื่อป้องกันตัวเองจากการถูกภัยคุกคาม ส่งผลให้บริษัทเยอรมัน ฝรั่งเศษ และอังกฤษได้รับผลประโยชน์จากเรื่องนี้  

นโยบาย “American First” ของทรัมป์กำลังสร้างความสั่นสะเทือนให้กับพันธมิตรทั่วโลก สหรัฐถอนตัว ทำให้ NATO วิตกกังวลว่าพวกเขาจะสามารถพึ่งพาสหรัฐด้านการปกป้องประเทศได้อยู่ไหม หลายประเทศก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจ  

ความไม่แน่นอนในพันธมิตร NATO ทำให้ประเทศต่างๆในยุโรปเริ่มจัดซื้ออาวุธ รถถัง และเครื่องบินรบมากขึ้น ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้หุ้นยุโรปดีดขึ้นสวนทางกับหุ้นกลาโหมของสหรัฐ  

งบกลาโหมสหรัฐ แตะจุดต่ำสุดในประวัติศาสตร์

ว่านี่อาจจะไม่ได้เป็นจุดจบของหุ้นกลุ่มนี้ แต่เป็นเพียงแต่สถานการณ์ที่ไม่แน่นอนเท่านั้น  

เรื่องนี้มองได้ 2 แง่ ถ้าหากทรัมป์ยังคงเดินหน้ามุ่งเน้นสันติภาพ หุ้นกลาโหมก็ยังคงซบเซา แต่ถ้าหากความขัดแย้งกลับขึ้นมาอีกครั้ง ก็อาจทำให้หุ้นกลุ่มนี้ฟื้นตัวขึ้นมา  

ซึ่งไม่ต่างกับนักวิเคราะห์ที่ก็มองเป็นหลากหลายมุมมอง บางฝ่ายอาจมองว่านี่คือโอกาสในการเข้าซื้อ บางฝ่ายเตือนว่าอุตสาหกรรมอาจกำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่  

สิ่งที่น่าเก็บไปคิด :  

งบประมาณกลาโหมในปี 2025 จะมีแนวโน้มลดหรือไม่?  

ความตึงเครียดทางภูมิศาสตร์ หากเกิดความขัดแย้งขึ้นอีก หุ้นก็มีแนวโน้มกลับมา  

รายงานผลประกอบการ บริษัทอาจต้องปรับคาดการณ์รายได้  

คิดว่าไม่จำเป็นต้องกังวลมากเท่าไหร่ เพราะถึงแม้จะมีการปรับเปลี่ยนงลประมาณ แต่อุตสาหกรรมกลาโหมจะยังคงมีความสำคัญระยะยาว สหรัฐยังคงพึ่งพากำลังทางทหาร แต่แค่รูปแบบการใช้เงินอาจเปลี่ยนไป  

บริษัทอาจเปลี่ยนไปเน้นเทคโนโลยีมากขึ้น เช่น Cybersecurity ปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีอื่นๆ แทนการผลิตอาวุธแบบเดิม 

นักลงทุนอาจลองพิจารณาปรับกลยุทธ์การลงทุนเพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาของกลาโหม แต่ก็ต้องถามตัวเองว่าคุณพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงหรือไม่?  

ติดตามบทวิเคราะห์อื่นๆของเราที่นี่  

วิเคราะห์ตลาดเชิงลึกIconBrandElement

article-thumbnail

2025-05-23 | วิเคราะห์ตลาดเชิงลึก

กรณีที่ Bitcoin จะพุ่งแตะ $150K: ทำไม M2 จึงสำคัญในตอนนี้ 

Bitcoin เคยผ่านจุดนี้มาก่อน ทั้งผู้สงสัย การดิ่งลงของราคา และการพุ่งแรงแบบไม่คาดคิดที่ทำให้เสียงวิจารณ์เงียบหายไป แต่ครั้งนี้มีบางอย่างที่แตกต่างออกไปเบื้องหลังการเคลื่อนไหวครั้งนี้ มันเป็นบางสิ่งที่ใหญ่กว่า ไม่ใช่แค่กระแสหรือการพูดถึง Halving แต่มันคือ “ปริมาณเงินทั่วโลก” และมันอาจกำลังบอกเราว่า Bitcoin กำลังจะไปทางไหนต่อ  สภาพคล่องทั่วโลกกำลังพุ่งสูงขึ้น และตามสถิติในอดีต เมื่อปริมาณเงินพุ่งขึ้น Bitcoin มักไม่ใช่แค่ขยับตาม แต่พุ่งแรง  ในบทความนี้ เราจะสำรวจว่า M2 กลายเป็นชาร์ตที่สำคัญที่สุดในโลกคริปโตได้อย่างไร ทำไมในอดีต M2 ถึงเคลื่อนไหว “นำ” Bitcoin ล่วงหน้าได้ถึง 12 สัปดาห์? และทำไมช่วงเวลานี้อาจเป็นการเปิดทางให้ BTC พุ่งแตะ $150,000   มาเจาะลึกกันว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น และทำไมนักเทรดและนักลงทุนถึงควรจับตาสถานการณ์ในตอนนี้  M2 คืออะไร และทำไมถึงเป็นตัวชี้นำ Bitcoin  M2 คือมาตรวัดปริมาณเงินที่รวมถึงเงินสด เงินฝากกระแสรายวัน และสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย พูดง่ายๆ คือ เมื่อ M2 เพิ่มขึ้น สภาพคล่องในระบบก็จะเพิ่มขึ้นตาม  ในอดีต Bitcoin มักเคลื่อนไหวตามทิศทางของสภาพคล่องนี้ […]

article-thumbnail

2025-05-15 | วิเคราะห์ตลาดเชิงลึก

กระทิงกลับมาแล้ว: ตลาดหุ้นพุ่งแรงจากดีลการค้าสหรัฐ-จีน 

บางสิ่งที่ยิ่งใหญ่เพิ่งเกิดขึ้น และวอลล์สตรีทกำลังส่งเสียงเฮ  ตลาดหุ้นทั่วโลกพุ่งขึ้น หลังจากสหรัฐฯ และจีนบรรลุข้อตกลงการค้าแบบไม่คาดคิด ข้อตกลงนี้ช่วยยกเลิกภาษีนำเข้า บรรเทาความตึงเครียด และผลักดันสินทรัพย์เสี่ยงให้ปรับตัวขึ้นแรง ดัชนี S&P 500 กระโดดเกือบ 4% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วน Nasdaq พุ่งยิ่งกว่า ตลาดในเอเชียพุ่งขึ้น และดัชนียุโรปก็ขยับตาม  นี่คือการดีดกลับที่ทำให้ฝั่งหมีต้องกลับมาทบทวนมุมมองทั้งหมดใหม่  แล้วอะไรอยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้? นี่คือจุดเริ่มต้นของการฟื้นตัวแบบ V-shape ที่หลายคนเฝ้ารอใช่หรือไม่? หรือเป็นแค่ความผันผวนชั่วคราวในสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ยังไม่นิ่ง?  ดีลการค้าสหรัฐ-จีน จุดประกายการฟื้นตัวรูปแบบ V-Shape  การฟื้นตัวแบบ V-shape ถือเป็นจอกศักดิ์สิทธิ์ของตลาดในช่วงขาลง เพราะมันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ชัดเจน และรุนแรง: ร่วง แล้วพุ่ง ลองนึกถึงช่วงโควิด-19 ในปี 2020 หรือผลกระทบจาก Brexit หรือแม้แต่ปี 1987 ที่ความกลัวพุ่งถึงจุดสูงสุด ก่อนที่ตลาดจะดีดกลับอย่างรุนแรง  แล้วคลื่นการฟื้นตัวรอบนี้ล่ะ? กำลังเริ่มสะท้อนรูปแบบเดิมที่คุ้นเคย  ในประวัติศาสตร์ ดัชนี S&P 500 เคยสร้างการฟื้นตัวรูปแบบ V-shape ได้อย่างน่าทึ่ง ในช่วงวิกฤตโควิดปี […]

article-thumbnail

2025-05-12 | วิเคราะห์ตลาดเชิงลึก

ภาษีนำเข้าถล่มเสน่ห์แห่ง Met Gala: แฟชั่นหรูจะอยู่รอดหรือไม่? 

งาน Met Gala 2025 ยังคงสร้างความตื่นตาในแบบเฉพาะตัวจากแฟชั่นโอต์กูตูร์สุดอลังการ เหล่าคนดังที่เจิดจรัสและกระแสไวรัลบนโซเชียลมีเดียแบรนด์หรูอย่าง Louis Vuitton, Chanel และ Valentino ครองพื้นที่สื่อด้วยดีไซน์อันน่าทึ่งและเหล่าแบรนด์แอมบาสเดอร์ระดับโลก  แต่เบื้องหลังแสงแฟลชและพรมแดงอุตสาหกรรมแฟชั่นกำลังเผชิญวิกฤตรอบใหม่: คลื่นพายุที่รวมเอาภาษีนำเข้าที่เพิ่มขึ้นต้นทุนที่สูงขึ้นและความผันผวนของการค้าโลกเข้าไว้ด้วยกัน  ใจกลางของความปั่นป่วนนี้คือนโยบายการค้าของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่กลับมาอีกครั้ง และกำลังบีบทั้งยักษ์ใหญ่อย่าง LVMH และ Hermès ไปจนถึงแบรนด์แฟชั่นราคาย่อมเยาอย่าง Shein  แม้ว่าแฟชั่นระดับโอต์กูตูร์จะยังคงเปล่งประกาย แต่โครงสร้างทางการเงินของอุตสาหกรรมแฟชั่นกลับเริ่มร้าวลึกหรือว่าภาษีนำเข้ากำลังเปลี่ยนรันเวย์ให้กลายเป็นสัญญาณอันตราย?  นโยบายการค้าของทรัมป์: ภัยคุกคามต่อกำไรของวงการแฟชั่น  นโยบายภาษีนำเข้าของทรัมป์ที่กลับมาอีกครั้งกำลังส่งแรงสั่นสะเทือนไปทั่วระบบแฟชั่นโลก แม้ว่าจะมีการเลื่อนเก็บภาษีตอบโต้จากสหภาพยุโรปออกไป 90 วันแต่สหรัฐฯก็ได้ประกาศเก็บภาษีพื้นฐาน 10% กับสินค้านำเข้าจากยุโรปแล้วโดยเฉพาะสินค้าแฟชั่นจากฝรั่งเศสและอิตาลีแหล่งหลักของแบรนด์อย่าง Louis Vuitton, Gucci และ Valentino  และนี่คือสิ่งที่อาจตามมา:  ในขณะเดียวกัน สหรัฐฯ ก็เริ่มรุกคุมเข้ม fast fashion โดยในวันที่ 2 พฤษภาคม รัฐบาลได้ยกเลิกข้อยกเว้นภาษี (de minimis) สำหรับพัสดุจากจีนที่มีมูลค่าไม่เกิน $800 ซึ่งหมายความว่าสินค้าที่เคยไม่เสียภาษีจะถูกเก็บทันทีส่งผลโดยตรงต่อแบรนด์อย่าง Shein ที่พึ่งพาการจัดส่งต้นทุนต่ำในปริมาณมาก  […]