Search Mark
หน้าแรก / คลังความรู้

ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์: พลังงานในปี 2022


พลังงานเป็นประเภทหลักของตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว พลังงานประกอบด้วย น้ำมันดิบ น้ำมันทำความร้อน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันเบนซิน 

ในปีนี้ สถานการณ์น้ำมันและก๊าซทั่วโลกได้รับผลกระทบจากปัจจัยหลายประการ ทั้งปัญหาความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ปัญหาของตลาด และความผันผวนทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปัจจุบัน เกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน มีการระบาดใหญ่ของโควิด-19 อัตราเงินเฟ้อสหรัฐที่เพิ่มขึ้นสูง รวมถึง ฤดูหนาวที่ใกล้เข้ามาถึงด้วย 

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับราคาพลังงาน ในปี 2022  

ในช่วงต้นปี 2022 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ สงครามที่เกิดขึ้นระหว่างยูเครนและรัสเซีย ไม่เพียงส่งผลต่อความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์เท่านั้น แต่ยังส่งผลให้เกิดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจพลังงานอีกด้วย จากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เกิดการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ (sanction) ต่อน้ำมันของรัสเซีย ส่งผลให้ราคาพลังงานพุ่งสูงขึ้นอีก 

อ่านบทความของเรา เรื่อง “สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน การค้าสินค้าโภคภัณฑ์นำตลาดไปสู่ความผันผวน” เพื่อหาคำตอบว่าสงครามส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ด้านพลังงานในระหว่างช่วงที่มีความขัดแย้งสูงสุดอย่างไร 

ตามแนวโน้มพลังงานระยะสั้นหรือ Short-Term Energy Outlook (STEO) ในเดือนกันยายนและตุลาคม 2565 ที่เผยแพร่โดยหน่วยงาน EIA ของสหรัฐฯ รายงานดังกล่าวได้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อความไม่แน่นอนในตลาดน้ำมันดิบและการคาดการณ์ตลาด 

ปัจจัยต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ EIA ระบุไว้ใน STEO ว่าเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบในเดือนกันยายน 2022

  1. ผลกระทบที่เกิดจากการที่กลุ่ม OPEC+ จะลดการผลิตน้ำมันดิบลง 0.1 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนตุลาคม ซึ่งอาจมีการลดการผลิตเพิ่มเติมในอนาคต 
  1. ภัยคุกคามจากความขัดแย้งที่เพิ่มขึ้นหลังจากการปะทะกันอย่างรุนแรงในกรุงตริโปลี เมืองหลวงของลิเบีย 
  1. ความไม่แน่นอนของนโยบายการปล่อยน้ำมันสำรองทางยุทธศาสตร์ที่อาจจะหมดเวลาใช้นโยบายนี้ในเดือนพฤศจิกายน 
  1. การกลับไปสู่ข้อตกลงด้านนิวเคลียร์กับอิหร่านที่อาจมีการยกเลิกการคว่ำบาตรเพื่อให้อิหร่านสามารถส่งออกน้ำมันดิบสู่ท้องตลาดได้มากขึ้น 
  1. ความเสี่ยงของพายุเฮอริเคนที่อาจทำให้ภาคการผลิตได้รับผลกระทบและปริมาณการส่งออกตามแนวชายฝั่งอ่าวสหรัฐฯ อาจถูกจำกัด 

ส่วนประเด็นสำคัญที่รายงานโดย EIA ในเดือนตุลาคม 2022 เกี่ยวกับสถานการณ์ทั่วโลกนั้น ได้แก่

  1. อุปทานปิโตรเลียมที่หยุดชะงักและแนวโน้มการเติบโตของการผลิตน้ำมันดิบช้ากว่าที่คาดอาจทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นได้ นอกจากนี้ ความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจเติบโตช้ากว่าที่คาดการณ์อาจส่งผลให้ราคาแย่ลง 
  1. เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2022 กลุ่ม OPEC+ ประกาศลดการผลิตน้ำมันดิบลง 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน เท่ากับว่า การผลิตน้ำมันดิบของ OPEC จะลดลงจากค่าเฉลี่ย 29.6 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนกันยายน 2022 ลงไปเหลือ 28.6 ล้านบาร์เรลต่อวันในไตรมาสที่สี่ของปี 2022 และไตรมาสแรกของปี 2023 
  1. การผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ คาดว่าจะอยู่ที่่ 11.7 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2022 และ 12.4 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2023 ตัวเลขนี้อาจเกินระดับการผลิตสูงสุดที่เป็นประวัติการณ์เมื่อปี 2019 

โดยรวมแล้ว ราคาพลังงานได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงที่กำลังจะเกิดขึ้นจากภาวะถดถอยและแนวโน้มอุปสงค์ที่ลดลง ปัจจัยนี้ยังคงส่งผลกระทบต่อตลาดน้ำมัน นอกจากนี้ นโยบายโควิดเป็นศูนย์ของจีนยังทำให้สถานการณ์คลุมเครือและเป็นอุปสรรคต่อการร้องขอให้ OPEC+ เพิ่มกำลังการผลิตด้วย 

ในขณะเดียวกัน บริษัทพลังงานอย่างเชฟรอน (Chevron) และเอ็กซอนโมบิล (ExxonMobil) ก็ได้รับประโยชน์จากราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น จากรายงานของบริษัทเหล่านั้นที่ระบุว่าบริษัทได้กำไรมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในไตรมาสนี้ 

สถานการณ์ด้านพลังงานตลอดปีนี้  

มาดูว่าสถานการณ์น้ำมันดิบที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยที่กล่าวถึงข้างต้น เป็นอย่างไร

สงครามยูเครน รัสเซีย 

ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent crude) ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานสำหรับราคาน้ำมันทั่วโลก เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 130 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในวันที่ 7 มีนาคม 2022 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบเกือบ 14 ปี หลังจากมีรายงานระบุว่าสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรจะประกาศห้ามนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย 

แม้ว่าจะเป็นเช่นนั้น น้ำมันดิบ West Texas Intermediate (WTI) มีการซื้อขายที่ระดับสูงสุดในช่วงต้นปี 2022 ซึ่งน้ำมันดิบยังมีราคาสูงสุดในรอบแปดปี 

การลดการผลิตของ OPEC+ 

ในเดือนตุลาคม ปี 2022 OPEC+ ได้ลดการผลิตลง โดยตั้งเป้าที่จะหนุนราคาให้สูงขึ้น แม้จะถูกกดดันจากสหรัฐฯ ให้สูบเพิ่มก็ตาม 

จากข่าวดังกล่าว ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์ โดยน้ำมันดิบเบรนต์ ( Brent crude oil) เพิ่มขึ้น 1.5% สู่ระดับราคา 93 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และเพิ่มขึ้นในสัปดาห์นี้ก่อนการประชุมรัฐมนตรีน้ำมัน ในขณะเดียวกัน น้ำมัน WTI ของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 1.4% ที่ 87.76 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2022 

การลดการผลิต 2 ล้านครั้งจากกลุ่ม OPEC+ อาจกระตุ้นการฟื้นตัวของราคาน้ำมันที่ลดลงประมาณ 90 ดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 120 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสามเดือนก่อน เนื่องจากความกลัวว่าจะเกิดภาวะถดถอย ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ที่พุ่งสูงขึ้นและเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น 

อัตราเงินเฟ้อและภาวะถดถอยของสหรัฐฯ ที่กำลังจะเกิด 

ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ยังคงมีความผันผวนเนื่องจากสหรัฐฯ กำลังเผชิญอัตราดอกเบี้ยที่สูงเป็นพิเศษเนื่องจากสภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นและภาวะถดถอยที่กำลังจะเกิดต่อจากนี้ 

ช่วงเวลานี้ ราคาน้ำมันดิบได้ลดลงจาก 120 เหรียญสหรัฐฯ ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน มาอยู่ที่ประมาณ 80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล นอกจากนี้สินค้าโภคภัณฑ์ยังมีราคาย่อตัวลงมาประมาณ 20% จากจุดสูงสุดของความกลัวภาวะถดถอย 

โดยในช่วงไตรมาสที่สามของปี ราคาน้ำมันดิบปิดตลาดที่ 88 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในวันที่ 7 กันยายน 2022 ซึ่งราคาเปลี่ยนแปลงจากเมื่อสิ้นเดือนสิงหาคมที่มีราคาปิดท้ายที่ 105.09 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล 

ในภาพรวมแล้ว ราคาน้ำมันโลกซึ่งพุ่งสูงมาตลอดในช่วงครึ่งแรกของปี ได้ปรับตัวลดลงอย่างมากจากความกลัวว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกจะกดดันอุปสงค์ น้ำมันดิบเบรนท์มีราคาลดลง 20% นับตั้งแต่สิ้นเดือนมิถุนายน ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบทั่วโลกเคยขึ้นไปแตะระดับสูงสุดที่ 139 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในเดือนมีนาคมในช่วงการบุกยูเครนของรัสเซียเพิ่งเกิดขึ้นใหม่ๆ 

สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป 

ในเดือนสิงหาคม 2022 ภาพรวมของราคาพลังงานในระยะสั้น (Short-Term Energy Outlook) ที่หน่วยบริหารข้อมูลด้านพลังงานของสหรัฐ (EIA) คาดการไว้นั้น ราคาซื้อขายสปอตของน้ำมันเบรนท์จะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่่ 105 ดอลลาร์สหรัฐฯ ของปี 2022 และ 95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในปี 2023 

นอกจากนี้ Natasha Kaneva หัวหน้าฝ่ายวิจัยสินค้าโภคภัณฑ์ระดับโลกที่ JPMorgan ยังคาดการณ์ไว้คล้ายกันซึ่งราคาน้ำมันดิบในปี 2023 จะอยู่ที่ประมาณ 98 ดอลลาร์สหรัฐฯ 

ก่อนที่มติการประชุมของกลุ่ม OPEC+ ในวันที่ 5 ตุลาคมจะเกิดขึ้น ผู้เชี่ยวชาญหลายคนคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันจะทรงตัวในช่วงที่เหลือของปี 2022 เนื่องจากความกังวลเรื่องเงินเฟ้อส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค 

ในการคาดการณ์ของ STEO ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ราคาสปอตของน้ำมันดิบเบรนท์เฉลี่ยอยู่ที่ 93 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในไตรมาสที่สี่ของปี 2565 และ 95 เหรียญสหรัฐฯ ในปี 2566 

ขณะที่การประชุม OPEC+ ครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 4 ธันวาคม 2022 นี้ ซึ่งต้องจับตาดูต่อไปว่ากลุมผู้ประชุม OPEC+ จะมีท่าทีที่เปลี่ยนไปหรือไม่ 

เมื่อเทียบกับเรื่องราวเหล่านี้ เราต้องติดตามต่อไปว่าการคาดการณ์และการวิเคราะห์ของนักวิเคราะห์มีความถูกต้องหรือไม่ และตลาดจะตอบสนองอย่างไรในอนาคต

| เกี่ยวกับ Doo Prime         

เครื่องมือการซื้อขายของเรา          
หลักทรัพย์ | ฟิวเจอร์ส | ฟอเร็กซ์ | โลหะมีค่า | สินค้าโภคภัณฑ์ | ดัชนีหุ้น     

Doo Prime เป็นโบรกเกอร์ออนไลน์ระดับนานาชาติภายใต้บริษัท Doo Group ที่ให้นักลงทุนมืออาชีพได้ซื้อขายหลักทรัพย์ ฟิวเจอร์ส ฟอเร็กซ์ โลหะมีค่า สินค้าโภคภัณฑ์ และดัชนีหุ้น ปัจจุบัน Doo Prime มอบประสบการณ์การซื้อขายที่ดีที่สุดให้ลูกค้ามากกว่า 60,000 คน โดยมีอัตราการซื้อขายเฉลี่ย 5,122 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน      

Doo Prime มีใบอนุญาตจากเซเชลส์ เมอริเชียส วานูอาตู โดยมีสำนักงานในดัลลัส ซิดนีย์ สิงคโปร์ ฮ่องกง กัวลาลัมเปอร์ และอีกหลายสำนักงานทั่วโลก      

ด้วยเทคโนโลยีการเงินที่สมบูรณ์แบบ พันธมิตรที่แข็งแกร่ง และทีมที่มีประสบการณ์ Doo Prime ให้ประสบการณ์การซื้อขายที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ ให้ราคาการซื้อขายที่ดี รวมไปถึงวิธีการฝาก-ถอนที่รับรอง 10 สกุลเงิน อีกทั้ง Doo Prime ยังให้การบริการลูกค้าในหลากหลายภาษาตลอด 24 ชั่วโมง และยังสามารถทำการซื้อขายได้อย่างรวดเร็วผ่านแพลตฟอร์ม MT4, MT5, TradingView, และ InTrade ที่มีผลิตภัณฑ์มากกว่า 10,000 รายการ      

วิสัยทัศน์และภารกิจของ Doo Prime คือการเป็นองค์กรเทคโนโลยีการเงินในฐานะโบรกเกอร์ด้านการลงทุนผลิตภัณฑ์ทางการเงินระดับโลก     

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Doo Prime ได้ที่:      

โทรศัพท์:   
ยุโรป: +44 11 3733 5199   
เอเชีย : +852 3704 4241   
สิงคโปร์: +65 6011 1415      
จีน: +86 400 8427 539      

อีเมล:         
ฝ่ายสนับสนุนทางเทคนิค: [email protected]      
ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์: [email protected]       

การเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง  

การซื้อขายเครื่องมือทางการเงินมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากความผันผวนของมูลค่าและราคาของเครื่องมือทางการเงิน เนื่องจากความเคลื่อนไหวทางการตลาดที่ไม่พึงประสงค์และคาดการณ์ไม่ได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่นักลงทุนในระยะเวลาที่รวดเร็วได้ ผลการลงทุนในอดีตไม่สามารถชี้วัดความสำเร็จหรือผลกำไรในการลงทุนได้ การลงทุนด้านนี้เกี่ยวข้องกับมาร์จินและเลเวอเรจ ซึ่งการลงทุนจำนวนเล็กน้อยอาจส่งผลประทบมากได้ ดังนั้น นักลงทุนควรเตรียมรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการซื้อขาย    

โปรดอ่านและทำความเข้าใจความเสี่ยงของการซื้อขายเครื่องมือทางการเงินอย่างถี่ถ้วนก่อนที่จะทำธุรกรรมกับ Doo Prime หากมีข้อสงสัยในการลงทุน ควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ข้อมูลข้อตกลงการทำธุรกรรมและการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง    

ข้อความปฏิเสธการรับผิดชอบตามกฎหมาย  

ข้อมูลนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปแก่สาธารณะเท่านั้น ข้อมูลไม่ควรถูกตีความเป็นคำปรึกษาทางด้านการลงทุน คำแนะนำ ข้อเสนอ หรือคำเชิญชวนเพื่อซื้อหรือขายเครื่องมือทางการเงินใด ๆ ข้อมูลที่นำเสนอในบทความนี้จัดทำขึ้นโดยโดยไม่มีการอ้างอิงหรือพิจารณาถึงจุดประสงค์การลงทุนหรือสถานะทางการเงินของผู้ใดผู้หนึ่งแต่อย่างใด การอ้างอิงถึงประสิทธิภาพของเครื่องมือทางการเงินในอดีต เครื่องมือทางการดัชนี หรือผลิตภัณฑ์การลงทุนไม่ใช่ตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้สำหรับผลลัพธ์ในอนาคต Doo Prime ไม่รับรองและรับประกันข้อมูล และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียหรือความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อมอันเป็นผลมาจากความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ของข้อมูล Doo Prime ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายที่เป็นผลมาจากความเสี่ยงการซื้อขาย กำไร หรือขาดทุนทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนส่วนบุคคล   

 

แชร์ไปที่

คลังความรู้

เปิดตัว Truth Social หุ้นจะรักษาโมเมนตัมได้หรือไม่

.  ในวันแรกของการซื้อขายภายใต้สัญลักษณ์ใหม่ DJT หุ้นของ Trump Media & Technology Group ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Truth Social มีผลการดำเนินงานที่โดดเด่น โดยเพิ่มขึ้นถึง 16% การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วประกอบกับราคาก่อนหน้านี้ที่ทำจุดสูงสุดที่ 50% ในช่วงเซสชั่นของวันอังคาร ตอกย้ำถึงความคาดหวังที่เพิ่มสูงขึ้นต่อการเปิดตัวของแพลตฟอร์ม  การก้าวขึ้นของ DJT เกิดขึ้นภายหลังการควบรวมกิจการกับ Digital World Acquisition Corp. (DWAC) ซึ่งเป็นเครื่องมือเฉพาะกิจที่มีการดำเนินงานในตลาดมาตั้งแต่ปี 2564 การอนุมัติการควบรวมกิจการครั้งนี้โดยผู้ถือหุ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้ปูทางให้ Truth Social เข้าสู่อาณาจักรตลาดหลักทรัพย์  Wall Street Journal รายงานว่าราคาปิดที่ 57.99 ดอลลาร์สหรัฐในวันอังคารที่ผ่านมามีการประเมินมูลค่า Truth Social ของ Donald Trump จะมีมูลค่าเกือบเท่ากับของ U.S. Steel มูลค่าหลักทรัพย์ของ DJT เพิ่มขึ้นประมาณ 8 พันล้านดอลลาร์ สะท้อนถึงความกระตือรือร้นของนักลงทุน อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางข่าวลือนี้ […]

2024-4-5 | คลังความรู้

วิเคราะห์ที่มาและผลกระทบ ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นขึ้นดอกเบี้ยในรอบ 17 ปี

ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 17 ปี ซึ่งส่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในนโยบายการเงิน การตัดสินใจครั้งนี้มีผลกระทบในวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อตลาดหุ้น Nikkei ของญี่ปุ่น และมูลค่าของเงินเยน  ตามที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น คาซูโอะ อูเอดะระบุว่า การตัดสินใจครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่แนวโน้มเศรษฐกิจเชิงบวกกำลังเกิดขึ้น พร้อมกับสัญญาณการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างและราคา  การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นไม่เพียงแต่ยุติยุคของอัตราดอกเบี้ยติดลบและนโยบาย Yield Curve Control ที่บังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2007 เท่านั้น แต่ยังตอกย้ำความมุ่งมั่นของญี่ปุ่นในการบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% อีกด้วย  บทความนี้จะเจาะลึกความเป็นมาของนโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบของญี่ปุ่น รวมถึงวิเคราะห์แนวโน้มที่ผิดปกติในตลาดหุ้นและตลาดสกุลเงินของญี่ปุ่นหลังจากที่ยกเลิกอัตราดอกเบี้ยติดลบ และนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความเป็นไปได้หลังจากนี้  ทำความเข้าใจนโยบายการเงิน: จากอัตราดอกเบี้ยติดลบไปเป็นบวก  การตัดสินใจของญี่ปุ่นในการดำเนินการและยุติอัตราดอกเบี้ยติดลบเกิดจากความท้าทายทางเศรษฐกิจที่ยืดเยื้อมานาน โดยมีลักษณะการเติบโตที่ซบเซา การว่างงานที่เพิ่มขึ้น และความกดดันจากภาวะเงินฝืด  เพื่อกระตุ้นการเติบโต ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นได้ใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษในปี 2016 โดยลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานลงเหลือ -0.1%    อย่างไรก็ตาม ในเดือนมีนาคมของปีนี้ ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยพื้นฐาน 10 จุด ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ระดับ 0-0.1% และยุตินโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบอย่างมีประสิทธิภาพ  นอกจากนี้ ธนาคารได้ละทิ้งนโยบาย Yield Curve Control (YCC) ซึ่งมุ่งหวังให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวอยู่ที่ประมาณ 0% และลดการซื้อสินทรัพย์เสี่ยง […]

2024-3-29 | คลังความรู้

หุ้น Apple AI จะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม AI ได้หรือไม่

โลกของเทคโนโลยีกำลังตั้งคำถาม เทคโนโลยี AI ของ Apple อยู่ที่ไหน?  ราคาหุ้นของ Apple อยู่ต่ำกว่าคู่แข่งในหุ้นกลุ่ม AI Nvidia (NVDA), Meta (META), Microsoft (MSFT) และ Amazon (AMZN) ต่างเป็นผู้นำการแข่งขันในตอนนี้  อย่างไรก็ตาม Apple ขึ้นชื่อในเรื่องความลับ จำช่วงเวลา “One More Thing” ในระหว่างการพรีเซ้นของ Steve Jobs ได้ไหม? Apple อาจจะกำลังรอเวลาที่เหมาะสมในการเปิดเผย AI ที่ปฏิวัติวงการ ซึ่งจะทำให้สิ่งต่างๆ ในโลกของหุ้น AI ต้องสั่นคลอน  ในโลกแห่งเทคโนโลยีที่พัฒนาอยู่ตลอดเวลา Apple ยืนอยู่แถวหน้าด้านวัตกรรมมาโดยตลอด ด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นและความมุ่งมั่นที่มีต่อประสบการณ์ของผู้ใช้ ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีรายนี้ได้ครองใจผู้คนนับล้านทั่วโลก  ในขณะที่เรายืนอยู่บนหน้าผาของยุคใหม่แห่งปัญญาประดิษฐ์ Apple ก็พร้อมที่จะปฏิวัติอุตสาหกรรมอีกครั้ง บทความนี้เจาะลึกถึงสิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับการพัฒนา AI รวมถึงเบื้องหลังของ Apple และเหตุใดราคาหุ้นที่ลดลงนี้อาจเป็นโอกาสในการซื้อสำหรับนักลงทุน  หุ้น AI ตั้งแต่การมีมาของ ChatGPT  […]

2024-3-21 | คลังความรู้