ภาษีทรัมป์ กระทบกับตลาดการเงินทั่วโลกอย่างไรในปี 2025?  

2025-04-17 | ภาษีชุดใหม่ , ภาษีทรัมป์ , ภาษีศุลกากรตอบโต้

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศใช้นโยบาย “ภาษีศุลกากรตอบโต้” (Reciprocal Tariff) หรือ ภาษีทรัมป์ ฉบับใหม่ ที่มุ่งเป้าไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งถือว่าเกินความคาดหมายของตลาดอย่างมาก การเคลื่อนไหวนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ครั้งใหญ่ของนโยบายการค้าสหรัฐฯ และส่งสัญญาณถึงการปรับโครงสร้างใหม่ของระบบการค้าโลก 

การประกาศดังกล่าวสร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่วตลาดการเงินทั่วโลก โดยเกิดแรงตอบรับอย่างฉับพลันและรุนแรงจากทั้งนักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ แล้วภาษีชุดใหม่ของทรัมป์มีรายละเอียดอย่างไร? และจะส่งผลต่อทิศทางของตลาดการเงินในปี 2025 อย่างไร? มาดูในบทความนี้กัน  

เมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา ทรัมป์ได้เปิดตัวกรอบนโยบายภาษีใหม่ โดยมุ่งเน้นไปที่การจัดการปัญหาการขาดดุลทางการค้าระดับโลก โดยมีมาตรการสำคัญดังต่อไปนี้: 

  • เก็บภาษี 10% สำหรับสินค้านำเข้าจากทุกประเทศทั่วโลก มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน เวลา 00:01 น. 
  • กำหนดอัตราภาษีเฉพาะประเทศที่มีดุลการค้าเกินดุลกับสหรัฐฯ สูงที่สุด อัตราภาษีจะอยู่ในช่วง 10% – 49% เริ่มมีผลในวันที่ 9 เมษายน ประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มนี้จะถูกจัดเก็บตามอัตราพื้นฐานที่ 10% 
  • เก็บภาษี 25% สำหรับรถยนต์นำเข้าทุกรุ่นจากทุกประเทศ มีผลบังคับใช้ทันที 

จากงานวิจัยของ Yale University พบว่า มาตรการใหม่นี้ส่งผลให้ อัตราภาษีเฉลี่ยของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็น 22.5% ซึ่งนับว่าเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ปี 1909 และมากกว่าค่าประมาณการณ์เดิมที่อยู่ราว 10% ถึง 2 เท่า 

นโยบายภาษีของทรัมป์มีเป้าหมายหลักอยู่ 3 ข้อสำคัญ: 

  • แก้ไขปัญหาดุลการค้า: ทรัมป์ต้องการตอบโต้สิ่งที่เขาเรียกว่า “แนวทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม” โดยมีเป้าหมายในการนำงานด้านการผลิตกลับคืนสู่สหรัฐฯ 
  • กระตุ้นการจ้างงานในประเทศ: ด้วยการทำให้สินค้าที่ผลิตในอเมริกามีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น รัฐบาลคาดว่าจะช่วยกระตุ้นการเติบโตในภาคอุตสาหกรรมและสร้างตำแหน่งงานใหม่ให้กับชาวอเมริกัน 
  • เพิ่มรายได้ให้รัฐบาลกลาง: การจัดเก็บภาษีนำเข้าที่สูงขึ้นจะสร้างรายได้เพิ่มเติมให้กับรัฐบาล ซึ่งจะช่วยสนับสนุนงบประมาณของประเทศ 

หลังจากมีการประกาศนโยบายภาษีใหม่ ตลาดการเงินตอบสนองอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทั้งในแง่ของ :  

ตลาดหุ้นดิ่งแรง 

  • เมื่อวันที่ 3 เมษายน ดัชนี Dow Jones, S&P 500 และ Nasdaq ต่างพากันร่วงหนัก โดยแตะระดับการปรับตัวลดลงรายวันที่แรงที่สุดในรอบหลายปี 
  • แรงขายยังคงต่อเนื่องในวันที่ 4 เมษายน โดยดัชนี S&P 500 ดิ่งลงถึง 5.97% ซึ่งเป็นการร่วงลงรายวันที่แรงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2020 

ดอลลาร์อ่อนค่า 

  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (US Dollar Index) ร่วงจากระดับเหนือ 104 ลงมาต่ำกว่า 102 ภายในวันเดียส่งผลให้สกุลเงินหลักอื่นๆ แข็งค่าขึ้นทันที 

ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ผันผวน 

  • ทองคำ พุ่งขึ้นเกือบแตะระดับ $3,200 ต่อออนซ์ ก่อนจะย่อตัวลง เนื่องจากเงินทุนไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัยอื่น 
  • น้ำมันดิบ ร่วงลงกว่า 4% จากความกังวลว่าอุปสงค์ด้านพลังงานทั่วโลกจะลดลงตามภาวะการค้าที่ย่อตัว 

สินค้าอุปโภคบริโภค 

การปรับขึ้นภาษีรอบนี้กระทบกับสินค้าผู้บริโภคหลายประเภท หลายบริษัทที่เคยย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอย่างเวียดนามและไทย เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีในรอบก่อน กลับต้องพบว่าประเทศเหล่านี้ถูกจัดอยู่ใน “กลุ่มภาษีสูง” ด้วยเช่นกัน 

แบรนด์ดังอย่าง Nike และ Adidas มีราคาหุ้นร่วงลงเกือบ 10% หลังจากมีประกาศภาษีใหม่ 

อุตสาหกรรมยานยนต์ 

ผู้ผลิตรถยนต์ต่างประเทศต้องเจอกับภาษีนำเข้าสหรัฐฯ สูงถึง 25% แบรนด์หรูอย่าง BMW และ Mercedes-Benz ได้รับผลกระทบโดยตรง โดยต้นทุนการนำเข้ารถบางรุ่นเพิ่มขึ้นถึง $20,000 ต่อคัน 

ภาษีจะมีการเจรจาลดลงหรือไม่? 

รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ Vincent Besson ระบุว่าแผนภาษีวันที่ 2 เมษายนถือเป็น “เพดานสูงสุด” ซึ่งบ่งชี้ว่ายังมีพื้นที่สำหรับการเจรจาในช่วงไม่กี่สัปดาห์ถัดไป การพูดคุยระหว่างสหรัฐฯ กับคู่ค้า ถือเป็นปัจจัยสำคัญ หากมีสัญญาณของการประนีประนอม อาจช่วยลดแรงกดดันในตลาดได้ 

เมื่อวันที่ 9 เมษายน ทรัมป์ประกาศ ชะลอการบังคับใช้ภาษีใหม่ชั่วคราว โดยลดอัตราภาษีเหลือ 10% สำหรับสินค้านำเข้าจากคู่ค้าสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ และให้เวลาการเจรจา 90 วัน 

ตลอดช่วง 3 เดือนข้างหน้า การเจรจาเพื่อปรับลดอัตราภาษีจริงจะเป็นประเด็นหลัก และผลลัพธ์จากการเจรจานี้อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นในตลาดการเงินทั่วโลก 

ความไม่แน่นอนด้านนโยบายเศรษฐกิจพุ่งสูง 

Source : FRED

หลังจากมีประกาศภาษี ดัชนีความไม่แน่นอนด้านนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐฯ (Economic Policy Uncertainty Index) พุ่งสูงขึ้นทันที เมื่อความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้น ภาคธุรกิจมักจะชะลอการลงทุน ซึ่งนำไปสู่ความกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจเข้าสู่ภาวะถดถอยภายในปีนี้ 

ท่ามกลางความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลก ตลาดได้สะท้อนคาดการณ์ว่า Fed อาจปรับลดดอกเบี้ยมากถึง 5 ครั้งในปี 2025 คิดเป็นรวม 125 จุดเบสิส บางฝ่ายคาดว่า Fed อาจเริ่มดำเนินการก่อนการประชุมอย่างเป็นทางการครั้งถัดไป 

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ทรัมป์ประกาศชะลอการบังคับใช้ภาษีแบบเต็มรูปแบบ ความคาดหวังต่อการลดดอกเบี้ยแบบรุนแรงก็เริ่มลดลง แต่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยยังคงผันผวนสูง สะท้อนให้เห็นถึงความเปราะบางของความเชื่อมั่นในตลาด 

การเคลื่อนไหวของตลาดในระยะยาว  

ทรัมป์แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่า “ภาษีศุลกากรคือหัวใจของนโยบายเศรษฐกิจของเขา” และมีแนวโน้มว่าจะยังคงใช้อย่างต่อเนื่อง นั่นหมายความว่า ความไม่แน่นอนจากการเจรจาการค้าระหว่างประเทศจะยังคงส่งผลกระทบต่อตลาด อย่างต่อเนื่อง 

นักลงทุนระยะยาวจึงจำเป็นต้องพิจารณาประเด็นนี้ในการจัดพอร์ตลงทุน เพราะทุกความเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นการประกาศภาษีใหม่ หรือความคืบหน้าทางการทูต อาจส่งแรงกระเพื่อมไปทั่วทั้งอุตสาหกรรมได้ทันที 

ความอ่อนไหวของตลาดในระยะสั้น 

นับตั้งแต่ประกาศภาษีเมื่อวันที่ 2 เมษายน ความผันผวนในตลาดระยะสั้นทวีความรุนแรงขึ้น ตัวอย่างเช่น วันที่ 8 เมษายน เพียงแค่มีข่าวลือว่า การบังคับใช้ภาษีอาจถูกเลื่อน ทำให้ราคาหุ้นพุ่งขึ้นทันที แต่ไม่นานก็ร่วงลงอย่างรวดเร็วหลังจากมีการยืนยันว่าไม่เป็นความจริง เหตุการณ์แบบนี้สะท้อนว่า ตลาดมีความไวสูงต่อข่าวสารเชิงนโยบาย ความผันผวนของราคาและความรู้สึกนักลงทุนจึงอาจยังคงอยู่ต่อเนื่องตลอดช่วงหลายเดือนข้างหน้า 

ไม่กี่เดือนข้างหน้านี้จะเป็นช่วงเวลาสำคัญว่า แต่ละประเทศจะสามารถเจรจาลดอัตราภาษีได้หรือไม่ เพราะท่าทีของการเจรจาการค้าโลกจะส่งผลโดยตรงต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและแนวโน้มตลาดโลกในระยะนี้ สิ่งสำคัญคือ ความคล่องตัว นักลงทุนควรจับตาการเปลี่ยนแปลงนโยบายทั่วโลกและเตรียมพร้อมปรับพอร์ต เพื่อลดความเสี่ยง และ คว้าโอกาส ที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว 

อ่านบทความวิเคราะห์ตลาดอีกมากมายที่นี่


การเปิดเผยความเสี่ยง 
หลักทรัพย์ ฟิวเจอร์ส CFD และผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ มีความเสี่ยงสูงเนื่องจากความผันผวนของมูลค่าและราคาของเครื่องมือทางการเงินพื้นฐาน เนื่องจากความเคลื่อนไหวของตลาดที่ไม่พึงประสงค์และคาดเดาไม่ได้ อาจเกิดการขาดทุนมากกว่าการลงทุนเริ่มต้นของท่านในระยะเวลาอันสั้น    
โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าท่านเข้าใจความเสี่ยงของการซื้อขายกับเครื่องมือทางการเงินแต่ละประเภทอย่างถ่องแท้ก่อนทำธุรกรรมกับเรา หากท่านไม่เข้าใจความเสี่ยงดังที่ได้อธิบายไว้ในนี้ ควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญอิสระ 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ   
ข้อมูลที่ปรากฏในบล็อกนี้มีไว้เพื่ออ้างอิงทั่วไปเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาให้เป็นคำแนะนำการลงทุน ข้อเสนอแนะ คำเชิญ หรือการเสนอขายหรือซื้อเครื่องมือทางการเงินใดๆ ทั้งนี้ไม่ได้พิจารณาถึงวัตถุประสงค์การลงทุนหรือสถานการณ์ทางการเงินเฉพาะของผู้รับข้อมูลแต่ละราย ผลการดำเนินงานในอดีตไม่สามารถเป็นตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้สำหรับผลการดำเนินงานในอนาคต Doo Prime และบริษัทในเครือไม่ให้การรับรองหรือรับประกันใดๆ เกี่ยวกับความถูกต้องหรือความสมบูรณ์ของข้อมูลนี้ และไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใดๆ อันเกิดจากการใช้ข้อมูลนี้หรือลงทุนตามข้อมูลดังกล่าว  
กลยุทธ์ที่กล่าวถึงข้างต้นสะท้อนถึงความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและมีไว้เพื่อการอ้างอิงเท่านั้น ไม่ควรใช้หรือพิจารณาเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจซื้อขายหรือคำเชิญชวนให้เข้าทำธุรกรรมใดๆ Doo Prime ไม่รับรองความถูกต้องหรือความครบถ้วนของรายงานนี้และปฏิเสธความรับผิดใดๆ ต่อความเสียหายที่เป็นผลมาจากการใช้รายงานนี้ คุณไม่ควรพึ่งพารายงานนี้แต่เพียงอย่างเดียวเพื่อทดแทนการตัดสินใจของคุณเอง ตลาดมีความเสี่ยงเสมอ และการลงทุนควรใช้ความระมัดระวัง 

วิเคราะห์ตลาดเชิงลึกIconBrandElement

article-thumbnail

2025-04-17 | วิเคราะห์ตลาดเชิงลึก

ภาษีทรัมป์ กระทบกับตลาดการเงินทั่วโลกอย่างไรในปี 2025?  

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศใช้นโยบาย “ภาษีศุลกากรตอบโต้” (Reciprocal Tariff) หรือ ภาษีทรัมป์ ฉบับใหม่ ที่มุ่งเป้าไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งถือว่าเกินความคาดหมายของตลาดอย่างมาก การเคลื่อนไหวนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ครั้งใหญ่ของนโยบายการค้าสหรัฐฯ และส่งสัญญาณถึงการปรับโครงสร้างใหม่ของระบบการค้าโลก  การประกาศดังกล่าวสร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่วตลาดการเงินทั่วโลก โดยเกิดแรงตอบรับอย่างฉับพลันและรุนแรงจากทั้งนักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ แล้วภาษีชุดใหม่ของทรัมป์มีรายละเอียดอย่างไร? และจะส่งผลต่อทิศทางของตลาดการเงินในปี 2025 อย่างไร? มาดูในบทความนี้กัน   มีอะไรอยู่ในนโยบายภาษีทรัมป์?  เมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา ทรัมป์ได้เปิดตัวกรอบนโยบายภาษีใหม่ โดยมุ่งเน้นไปที่การจัดการปัญหาการขาดดุลทางการค้าระดับโลก โดยมีมาตรการสำคัญดังต่อไปนี้:  จากงานวิจัยของ Yale University พบว่า มาตรการใหม่นี้ส่งผลให้ อัตราภาษีเฉลี่ยของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็น 22.5% ซึ่งนับว่าเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ปี 1909 และมากกว่าค่าประมาณการณ์เดิมที่อยู่ราว 10% ถึง 2 เท่า  อะไรอยู่เบื้องหลังการผลักดันนโยบายภาษีของทรัมป์?  นโยบายภาษีของทรัมป์มีเป้าหมายหลักอยู่ 3 ข้อสำคัญ:  การตอบรับของตลาดอย่างรุนแรงและตอบกลับแบบทันที  หลังจากมีการประกาศนโยบายภาษีใหม่ ตลาดการเงินตอบสนองอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทั้งในแง่ของ :   ตลาดหุ้นดิ่งแรง  ดอลลาร์อ่อนค่า  ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ผันผวน  […]

article-thumbnail

2025-03-24 | วิเคราะห์ตลาดเชิงลึก

ราคาน้ำมันจะไปทางไหน? ข้อตกลงรัสเซีย-ยูเครนส่งผลอย่างไร?

ข่าวการเจรจาสันติภาพระหว่างรัสเซียและยูเครนกลับมาเป็นประเด็นอีกครั้ง และตลาดโลกก็กำลังจับตาดูอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะตลาดน้ำมัน ตั้งแต่สงครามเริ่มต้นในปี 2022 ราคาน้ำมันมีความผันผวนอย่างหนัก  ทำให้เคยพุ่งขึ้นเกือบ 50% แตะระดับสูงกว่า $120 ต่อบาร์เรลในช่วงหนึ่ง สงครามทำให้ซัพพลายทั่วโลกหยุดชะงัก เกิดมาตรการคว่ำบาตรและส่งแรงกดดันต่อตลาดพลังงานทั่วโลก แต่ตอนนี้เมื่อมีสัญญาณของข้อตกลงสันติภาพ ราคาน้ำมันอาจเผชิญกับบททดสอบครั้งใหม่ ราคาจะร่วงลงเมื่อความกังวลด้านอุปทานคลี่คลาย? หรือจะมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นอีกครั้ง?  ติดตามบทวิเคราะห์เชิงลึกว่าข้อตกลงครั้งนี้อาจเปลี่ยนทิศทางของตลาดน้ำมันอย่างไร  ทำไมราคาน้ำมันช่วงนี้ถึงผันผวน  ข้อตกลงสันติภาพระหว่างรัสเซียและยูเครนอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อตลาดน้ำมันโลก โดยเฉพาะในด้านอุปทาน การค้า และความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์  🔹 อุปทานน้ำมันจากรัสเซียอาจเพิ่มขึ้น: มาตรการคว่ำบาตรที่ผ่านมาได้จำกัดการส่งออกของรัสเซีย ทำให้ต้องขายน้ำมันในราคาต่ำ หากมีข้อตกลงสันติภาพ ข้อจำกัดเหล่านี้อาจผ่อนคลาย ส่งผลให้รัสเซียสามารถส่งออกน้ำมันกลับเข้าสู่ตลาดโลกได้มากขึ้น  🔹 ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์อาจลดลง: ตลอดสงคราม ความไม่แน่นอนได้ส่งผลให้ตลาดมีการตั้งราคาที่รวม “ค่าความเสี่ยง” เอาไว้ หากสงครามสิ้นสุดลง ความเสี่ยงนี้ก็จะหายไป ซึ่งอาจกดดันราคาน้ำมันให้ลดลง  🔹 ท่าทีของ OPEC+ ยังไม่แน่นอน: รัสเซียเป็นสมาชิกหลักของกลุ่ม OPEC+ การเปลี่ยนแปลงในกลยุทธ์การผลิตของรัสเซียหลังจากมีข้อตกลงสันติภาพ อาจส่งผลกระทบต่อแผนการผลิตของทั้งกลุ่ม  หากอุปทานน้ำมันเพิ่มขึ้น แต่ความต้องการยังคงเท่าเดิม ราคาน้ำมันก็มีโอกาสปรับตัวลดลง แต่ในโลกของตลาดพลังงาน ทุกอย่างมักไม่ง่ายขนาดนั้น  ผลกระทบราคาน้ำมันจากข้อตกลงสันติภาพระหว่างรัสเซีย-ยูเครน  ข้อตกลงสันติภาพระหว่างรัสเซียและยูเครนอาจนำมาซึ่งเสถียรภาพในตลาดน้ำมันโลก หากความตึงเครียดคลี่คลายและมาตรการคว่ำบาตรถูกยกเลิก […]

article-thumbnail

2025-03-14 | วิเคราะห์ตลาดเชิงลึก

ปี 2025 เศรษฐกิจถดถอย ? ทำไมดอลลาร์ถึงสำคัญและเราควรรู้  

คำถามใหญ่ในตลาดตอนนี้คือ ใกล้ถึงภาวะเสรษฐกิจถดถอยแล้วหรือยัง? เพื่อจะตอบคำถามนี้ได้อย่างดีนักลงทุนทั้งหลายต้องคอยจับตาดูเงินดอลลาร์สหรัฐอย่างใกล้ชิด ในขณะที่ตลาดส่งสัญญาณว่า “ปี 2025 เศรษฐกิจถดถอย”  แต่เงินดอลลาร์กลับไม่เป็นเหมือนที่คาดไว้ แทนที่จะเป็นเหมือนที่ปลอดภัยแบบก่อนๆ แต่กลับอ่อนค่าลงมาก ดัชนีค่าเงินดอลลาร์เพิ่งแตะระดับจุดต่ำสุดมาตั้งแต่พฤศจิกายน 2567 การเดิมพันอัตราดอกเบี้ยกำลังเพิ่มสูงขึ้น และตอนนี้เฟด (Fed) ก็เป็นห่วงอนาคตของดอลลาร์เช่นกัน  “ฉันเป็นกังวลมากขึ้นเรื่อยๆ เกี่ยวกับปัจจัยที่อาจคุกคามเงินสำรองของดอลลาร์สหรัฐ”  Fed’s Harker ได้กล่าวไว้   แล้วอะไรหละที่อยู่เบื้องหลังของการร่วงของเงินดอลลาร์ และมีความหมายต่อนักเทรดและนักลงทุนอย่างไร?   นโยบายทรัมป์และเศรฐกิจถดถอยปี 2025   ต่อให้รักหรือเกลียดทรัมป์แค่ไหน แต่ก็ต้องยอมรับว่าปัจจุบันจากนโยบายของรัฐบาลชุดนี้มีผกระทบต่อตลาดและเป็นส่วนที่ทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง    นโยบายการคลังที่ต่างจากวาระแรก ในวาระที่สองนี้ ทรัมป์มุ่งเน้นไปที่การลดการใช้จ่ายของรัฐบาลและการลดการขาดดุลงบประมาณ แม้ว่าสิ่งนี้อาจเป็นผลดีต่อความยั่งยืนของหนี้ระยะยาว แต่ก็สร้างความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจ นักลงทุนจึงเริ่มปรับพอร์ต หันออกจากเงินดอลลาร์สหรัฐฯ คาดการณ์ถึงการเปลี่ยนแปลงในนโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ  การปรับลดอัตราดอกเบี้ย การคาดการณ์ว่าเฟด (Fed) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเชิงรุกกำลังกดดันค่าเงินดอลลาร์ เมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง ผลตอบแทนจากการถือครองเงินดอลลาร์ก็ลดลงตาม ทำให้เงินดอลลาร์ไม่น่าสนใจเทียบกับสกุลเงินอื่น  ความตึงเครียดทางการค้า แนวคิด “America First” ของทรัมป์กลับมาอีกครั้ง ส่งผลให้ตลาดทั่วโลกเตรียมรับมือกับมาตรการกำแพงภาษีใหม่และสงครามการค้าครั้งใหม่ ความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นนี้ทำให้นักลงทุนเริ่มมองหาสินทรัพย์อื่น   ทำไมเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง และสิ่งนี้หมายถึงอะไร?   โดยปกติแล้ว เมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย นักลงทุน […]