100 วันแรกของทรัมป์: ภาษีนำเข้ากระทบเงินเฟ้อและเศรษฐกิจ 

2025-05-07 | ทรัมป์ 100 วันแรก , ผลกระทบภาษีศุลกากรของทรัมป์ , แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปี 2025

ผ่านมาเพียงเล็กน้อยกว่า 100 วันหลังทรัมป์กลับสู่ทำเนียบขาว แต่ตลาดก็เริ่มรับแรงสั่นสะเทือนแล้ว 

ตั้งแต่ภาษีนำเข้าชุดใหม่ ความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ ไปจนถึงความเชื่อมั่นภาคธุรกิจและคาดการณ์เศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป มาตรการเริ่มต้นของรัฐบาลทรัมป์กำลังวางรากฐานให้กับเศรษฐกิจสหรัฐในเฟสถัดไป 

ในบทความนี้ เราจะถอดรหัสสัญญาณจริงจากตลาด ไม่ใช่แค่พาดหัวข่าว ตั้งแต่ผลกระทบของภาษีนำเข้าต่อเงินเฟ้อ การเปลี่ยนแปลงของความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ ไปจนถึงความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการว่างงาน 

และนี่คือสิ่งที่นักลงทุนและเทรดเดอร์ควรจับตาต่อจากนี้ 

สัญญาณชัดเจนจาก 100 วันแรกของทรัมป์คืออะไร? ความคาดหวังเรื่องเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง 

ลองดูกราฟนี้จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน: 

หลังจากทรัมป์ประกาศเพิ่มภาษีนำเข้าเมื่อวันที่ 2 เมษายน ความคาดหวังเงินเฟ้อก็พุ่งขึ้นทันที แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ต้นปี 2023 แม้จะมีการประกาศชะลอการขึ้นภาษีบางส่วนในวันที่ 9 เมษายน แต่ระดับความคาดหวังยังคงสูง แสดงให้เห็นว่าเมื่อความกังวลเงินเฟ้อเริ่มฝังรากแล้ว มันไม่ได้หายไปในชั่วข้ามคืน 

ประเด็นสำคัญ: 
แม้การขึ้นภาษีจะเริ่มชะลอลง แต่ความเสียหายต่อความเชื่อมั่นด้านเงินเฟ้อก็เกิดขึ้นแล้ว ทั้งผู้บริโภคและภาคธุรกิจต่างก็เริ่มเตรียมรับมือกับราคาที่สูงขึ้น 

ไม่ใช่แค่ผู้บริโภคที่เริ่มปรับตัว ซีอีโอก็เริ่มรู้สึกถึงแรงกดดันเช่นกัน 

ลองดูดัชนีความเชื่อมั่นของซีอีโอ (CEO Confidence Index) ซึ่งสะท้อนมุมมองของผู้นำธุรกิจต่อเศรษฐกิจในอีกหนึ่งปีข้างหน้า 

สังเกตได้ว่าค่าดัชนีล่าสุดร่วงลงแรงจนใกล้ระดับ 5 ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในระดับต่ำสุดของทศวรรษ ประเด็นนี้สำคัญ เพราะซีอีโอเป็นผู้กำหนดทิศทางการจ้างงาน การลงทุน และการขยายธุรกิจ ดังนั้นเมื่อความเชื่อมั่นของพวกเขาลดลง ก็มักจะเป็นสัญญาณล่วงหน้าของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ 

ทำไมนักเทรดควรใส่ใจประเด็นนี้? 
เพราะความเชื่อมั่นของซีอีโอที่ลดลง มักนำไปสู่การคาดการณ์ผลประกอบการที่ระมัดระวังมากขึ้น และการใช้จ่ายลงทุนที่น้อยลง ซึ่งท้ายที่สุดอาจทำให้การจ้างงานชะลอตัว และกดดันตลาดหุ้น โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมที่พึ่งพาการลงทุนจากภาคธุรกิจ 

อีกหนึ่งสัญญาณเตือนที่เริ่มชัดเจนขึ้น: ชาวอเมริกันจำนวนมากขึ้นคาดว่าการว่างงานจะเพิ่มขึ้นในช่วง 12 เดือนข้างหน้า 

ตั้งแต่ต้นปี 2567 ความคาดหวังว่าการว่างงานจะเพิ่มขึ้นก็พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนแตะระดับที่ไม่เคยเห็นมาตั้งแต่วิกฤตการเงินโลกช่วงปี 2551–2552 

ในอดีต การพุ่งขึ้นของตัวเลขแบบนี้มักเป็นสัญญาณล่วงหน้าของความตึงเครียดทางเศรษฐกิจ บางครั้งนำไปสู่ภาวะถดถอย และบางครั้งก็เป็นช่วงชะลอตัวอย่างรุนแรง 

เชื่อมโยงภาพรวม: 

  • ความกังวลเรื่องเงินเฟ้อยังคงอยู่ 
  • ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจกำลังลดลง 
  • และแรงงานก็เริ่มเตรียมใจรับความเสี่ยงจากการตกงาน 

ทั้งหมดนี้ ไม่ใช่สูตรของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ราบรื่นนัก 

คำตอบนั้นเรียบง่ายแต่สำคัญมาก: ความไม่แน่นอนด้านนโยบาย 

มาตรการช่วงต้นของทรัมป์ โดยเฉพาะเรื่องภาษีและการค้า ได้จุดกระแสความกังวลเดิมของตลาดให้กลับมาอีกครั้ง 

  • ภาษีที่สูงขึ้น = ต้นทุนธุรกิจเพิ่มขึ้น = ส่งต่อภาระให้ผู้บริโภค = เงินเฟ้อ 
  • สงครามการค้า = กำไรบริษัทลดลง + การเติบโตของเศรษฐกิจโลกชะลอตัว 
  • การลดกฎเกณฑ์และข้อเสนอภาษีเชิงรุกอาจสร้างความตื่นเต้นในระยะสั้น แต่ก็ทำให้เกิดข้อกังขาเรื่องเสถียรภาพในระยะกลาง 

ตลาดไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง แต่ไม่ชอบความไม่แน่นอน และช่วง 100 วันแรกของทรัมป์ก็ได้เพิ่มความไม่แน่นอนเข้าไปในสมการเศรษฐกิจอย่างชัดเจน 

ในสภาพเศรษฐกิจตอนนี้ ไม่ใช่ทุกกลุ่มอุตสาหกรรมจะได้รับผลกระทบในระดับเดียวกัน จากสัญญาณปัจจุบัน: 

  • ตสาหกรรมและวัสดุ: อ่อนไหวต่อภาษีนำเข้าและแนวโน้มเศรษฐกิจโลกสูง คาดว่าจะมีความผันผวนมาก 
  • เทคโนโลยี: พื้นฐานยังแข็งแรง แต่ต้องระวังแรงกดดันหากความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอยขยายวง 
  • สินค้าอุปโภคบริโภคพื้นฐาน: มักให้ผลตอบแทนดีกว่าตลาดในช่วงชะลอตัว เพราะนักลงทุนมองหาแหล่งพักเงินที่ปลอดภัย 
  • การเงิน: ขึ้นอยู่กับนโยบายของเฟด หากคาดการณ์เศรษฐกิจเริ่มลดลง ความคาดหวังในการขึ้นดอกเบี้ยก็จะลดลงตาม และกดดันหุ้นกลุ่มนี้ 

อย่าลืมว่าแต่ละเซกเตอร์ไม่ได้เคลื่อนไหวแยกจากกัน แต่เคลื่อนไหวตามแรงกดดันมหภาค และตอนนี้ทิศทางเหล่านั้นกำลังเปลี่ยนไป 

คาดหวังอะไรต่อจากนี้? 

ช่วง 100 วันแรกของทรัมป์ยิ่งซ้ำเติมความกังวลเดิมเกี่ยวกับเงินเฟ้อ ความไม่แน่นอนด้านการค้า และแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจในอนาคต 

กราฟต่าง ๆ สะท้อนภาพรวมได้อย่างชัดเจน: 

  • ความคาดหวังเรื่องเงินเฟ้อยังคงสูงอย่างเหนียวแน่น 
  • ผู้นำธุรกิจเริ่มระมัดระวังมากขึ้น 
  • แรงงานจำนวนมากคาดว่าเวลาที่ยากลำบากกำลังจะมาถึง 

ความกังวลเหล่านี้จะลุกลามกลายเป็นภาวะถดถอยจริงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับก้าวต่อไปของทรัมป์ เฟด และพฤติกรรมของผู้บริโภคเอง 

สำหรับนักเทรดและนักลงทุน แผนที่ทางเดินชัดเจนแล้วว่า: 

  • ต้องมีความยืดหยุ่น 
  • โฟกัสที่ข้อมูลจริง ไม่ใช่แค่กระแสข่าว 
  • และอย่าลืมว่า เมื่อความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้น โอกาสก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่ความเสี่ยงก็เพิ่มตามไปด้วย 

“ตลาดขับเคลื่อนด้วยความกลัวและความโลภเคล็ดลับคืออย่าไปติดอยู่ตรงจุดสุดโต่งของทั้งสองด้าน” 


การเปิดเผยความเสี่ยง 
หลักทรัพย์ ฟิวเจอร์ส CFD และผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ มีความเสี่ยงสูงเนื่องจากความผันผวนของมูลค่าและราคาของเครื่องมือทางการเงินพื้นฐาน เนื่องจากความเคลื่อนไหวของตลาดที่ไม่พึงประสงค์และคาดเดาไม่ได้ อาจเกิดการขาดทุนมากกว่าการลงทุนเริ่มต้นของท่านในระยะเวลาอันสั้น    
โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าท่านเข้าใจความเสี่ยงของการซื้อขายกับเครื่องมือทางการเงินแต่ละประเภทอย่างถ่องแท้ก่อนทำธุรกรรมกับเรา หากท่านไม่เข้าใจความเสี่ยงดังที่ได้อธิบายไว้ในนี้ ควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญอิสระ 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ   
ข้อมูลที่ปรากฏในบล็อกนี้มีไว้เพื่ออ้างอิงทั่วไปเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาให้เป็นคำแนะนำการลงทุน ข้อเสนอแนะ คำเชิญ หรือการเสนอขายหรือซื้อเครื่องมือทางการเงินใดๆ ทั้งนี้ไม่ได้พิจารณาถึงวัตถุประสงค์การลงทุนหรือสถานการณ์ทางการเงินเฉพาะของผู้รับข้อมูลแต่ละราย ผลการดำเนินงานในอดีตไม่สามารถเป็นตัวบ่งชี้ที่เชื่อถือได้สำหรับผลการดำเนินงานในอนาคต Doo Prime และบริษัทในเครือไม่ให้การรับรองหรือรับประกันใดๆ เกี่ยวกับความถูกต้องหรือความสมบูรณ์ของข้อมูลนี้ และไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใดๆ อันเกิดจากการใช้ข้อมูลนี้หรือลงทุนตามข้อมูลดังกล่าว  

วิเคราะห์ตลาดเชิงลึกIconBrandElement

article-thumbnail

2025-05-07 | วิเคราะห์ตลาดเชิงลึก

100 วันแรกของทรัมป์: ภาษีนำเข้ากระทบเงินเฟ้อและเศรษฐกิจ 

ผ่านมาเพียงเล็กน้อยกว่า 100 วันหลังทรัมป์กลับสู่ทำเนียบขาว แต่ตลาดก็เริ่มรับแรงสั่นสะเทือนแล้ว  ตั้งแต่ภาษีนำเข้าชุดใหม่ ความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ ไปจนถึงความเชื่อมั่นภาคธุรกิจและคาดการณ์เศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป มาตรการเริ่มต้นของรัฐบาลทรัมป์กำลังวางรากฐานให้กับเศรษฐกิจสหรัฐในเฟสถัดไป  ในบทความนี้ เราจะถอดรหัสสัญญาณจริงจากตลาด ไม่ใช่แค่พาดหัวข่าว ตั้งแต่ผลกระทบของภาษีนำเข้าต่อเงินเฟ้อ การเปลี่ยนแปลงของความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ ไปจนถึงความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการว่างงาน  และนี่คือสิ่งที่นักลงทุนและเทรดเดอร์ควรจับตาต่อจากนี้  ผลกระทบของภาษีนำเข้าต่อเงินเฟ้อ  สัญญาณชัดเจนจาก 100 วันแรกของทรัมป์คืออะไร? ความคาดหวังเรื่องเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง  ลองดูกราฟนี้จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน:  หลังจากทรัมป์ประกาศเพิ่มภาษีนำเข้าเมื่อวันที่ 2 เมษายน ความคาดหวังเงินเฟ้อก็พุ่งขึ้นทันที แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ต้นปี 2023 แม้จะมีการประกาศชะลอการขึ้นภาษีบางส่วนในวันที่ 9 เมษายน แต่ระดับความคาดหวังยังคงสูง แสดงให้เห็นว่าเมื่อความกังวลเงินเฟ้อเริ่มฝังรากแล้ว มันไม่ได้หายไปในชั่วข้ามคืน  ประเด็นสำคัญ: แม้การขึ้นภาษีจะเริ่มชะลอลง แต่ความเสียหายต่อความเชื่อมั่นด้านเงินเฟ้อก็เกิดขึ้นแล้ว ทั้งผู้บริโภคและภาคธุรกิจต่างก็เริ่มเตรียมรับมือกับราคาที่สูงขึ้น  ความเชื่อมั่นของผู้นำธุรกิจกำลังลดลง  ไม่ใช่แค่ผู้บริโภคที่เริ่มปรับตัว ซีอีโอก็เริ่มรู้สึกถึงแรงกดดันเช่นกัน  ลองดูดัชนีความเชื่อมั่นของซีอีโอ (CEO Confidence Index) ซึ่งสะท้อนมุมมองของผู้นำธุรกิจต่อเศรษฐกิจในอีกหนึ่งปีข้างหน้า  สังเกตได้ว่าค่าดัชนีล่าสุดร่วงลงแรงจนใกล้ระดับ 5 ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในระดับต่ำสุดของทศวรรษ ประเด็นนี้สำคัญ เพราะซีอีโอเป็นผู้กำหนดทิศทางการจ้างงาน การลงทุน และการขยายธุรกิจ ดังนั้นเมื่อความเชื่อมั่นของพวกเขาลดลง ก็มักจะเป็นสัญญาณล่วงหน้าของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ  ทำไมนักเทรดควรใส่ใจประเด็นนี้? เพราะความเชื่อมั่นของซีอีโอที่ลดลง มักนำไปสู่การคาดการณ์ผลประกอบการที่ระมัดระวังมากขึ้น […]

article-thumbnail

2025-04-25 | วิเคราะห์ตลาดเชิงลึก

แม้หุ้นจะร่วง ทำไม “หุ้น Palantir” ถึงพุ่งแรงในปี 2025? 

ในปี 2025 ตลาดหุ้นดูคล้ายสนามรบ หุ้นเทคโนโลยีและกลุ่มเติบโตหลายตัวร่วงหนัก นักลงทุนต่างรีบเช็กคำสั่ง stop-loss กันรัวๆ แต่ท่ามกลางความปั่นป่วนนี้? “หุ้น Palantir” ไม่เพียงแค่ยืนระยะได้…แต่มันกำลังพุ่งขึ้น  ในขณะที่ตลาดโดยรวมเข้าสู่โหมดปรับฐาน หุ้นของ Palantir Technologies (PLTR) กลับกลายเป็นดาวรุ่งประจำปี ราคาพุ่ง เขียวทั้งกระดาน พาดหัวข่าวเป็นบวก และวอลล์สตรีทก็พูดถึงไม่ขาดสาย  แล้วอะไรคือปัจจัยที่ทำให้ Palantir โดดเด่นสวนกระแสในปีที่หลายบริษัทกลับตกต่ำ?  สัญญารัฐยังไหลเข้าไม่หยุด  หัวใจหลักของธุรกิจ Palantir คือความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับหน่วยงานรัฐบาล และในปี 2025 ความสัมพันธ์นี้ไม่เพียงคงอยู่ แต่ยิ่งแน่นแฟ้นกว่าเดิม  ท่ามกลางความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และการเร่งพัฒนาเทคโนโลยีด้านกลาโหมทั่วโลก หลายประเทศเริ่มเทงบลงทุนกับระบบวิเคราะห์ข้อมูลสนามรบ ข่าวกรองด้วย AI และระบบเฝ้าระวังขั้นสูง ซึ่งเป็นจุดแข็งของ Palantir  ในขณะที่บริษัทเทคโนโลยีฝั่งผู้บริโภคได้รับผลกระทบจากการใช้จ่ายที่ลดลงและงบโฆษณาที่ถูกตัด Palantir กลับมีลูกค้าภาครัฐที่ยิ่งอัดงบเพิ่ม และมันก็สะท้อนชัดในงบการเงินของบริษัท  AI กำลังบูม และ Palantir คือยักษ์เงียบที่คนไม่พูดถึง  ใช่, NVIDIA อาจเป็นหน้าตาของกระแส AI แต่ Palantir […]

article-thumbnail

2025-04-17 | วิเคราะห์ตลาดเชิงลึก

ภาษีทรัมป์ กระทบกับตลาดการเงินทั่วโลกอย่างไรในปี 2025?  

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศใช้นโยบาย “ภาษีศุลกากรตอบโต้” (Reciprocal Tariff) หรือ ภาษีทรัมป์ ฉบับใหม่ ที่มุ่งเป้าไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งถือว่าเกินความคาดหมายของตลาดอย่างมาก การเคลื่อนไหวนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ครั้งใหญ่ของนโยบายการค้าสหรัฐฯ และส่งสัญญาณถึงการปรับโครงสร้างใหม่ของระบบการค้าโลก  การประกาศดังกล่าวสร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่วตลาดการเงินทั่วโลก โดยเกิดแรงตอบรับอย่างฉับพลันและรุนแรงจากทั้งนักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ แล้วภาษีชุดใหม่ของทรัมป์มีรายละเอียดอย่างไร? และจะส่งผลต่อทิศทางของตลาดการเงินในปี 2025 อย่างไร? มาดูในบทความนี้กัน   มีอะไรอยู่ในนโยบายภาษีทรัมป์?  เมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา ทรัมป์ได้เปิดตัวกรอบนโยบายภาษีใหม่ โดยมุ่งเน้นไปที่การจัดการปัญหาการขาดดุลทางการค้าระดับโลก โดยมีมาตรการสำคัญดังต่อไปนี้:  จากงานวิจัยของ Yale University พบว่า มาตรการใหม่นี้ส่งผลให้ อัตราภาษีเฉลี่ยของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็น 22.5% ซึ่งนับว่าเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ปี 1909 และมากกว่าค่าประมาณการณ์เดิมที่อยู่ราว 10% ถึง 2 เท่า  อะไรอยู่เบื้องหลังการผลักดันนโยบายภาษีของทรัมป์?  นโยบายภาษีของทรัมป์มีเป้าหมายหลักอยู่ 3 ข้อสำคัญ:  การตอบรับของตลาดอย่างรุนแรงและตอบกลับแบบทันที  หลังจากมีการประกาศนโยบายภาษีใหม่ ตลาดการเงินตอบสนองอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทั้งในแง่ของ :   ตลาดหุ้นดิ่งแรง  ดอลลาร์อ่อนค่า  ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ผันผวน  […]